วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Acerola benefits skin and health

อเซโรล่าดีต่อผิว และสุขภาพ

Photo CR:
www.superorganicfoods.com
อเซโรล่า (acerola) เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศบนเกาะแถบทะเลแคริบเบี่ยน เช่นคิวบา จาไมก้า  ปัจจุบันประเทศที่มีการเพาะปลูก และส่งออกอเซโรล่ามากคือประเทศบราซิล อเซโรล่าเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง โดยผลดิบจะมีปริมาณวิตามินซีประมาณ 1317-1570 มก. ต่อ 100 กรัม ส่วนผลสุกประมาณ 800 มก. ต่อ 100 กรัม นอกจากนี้ยังมีสารจำพวกโพลีฟีนอลประมาณ 2200-3000 มก. ต่อ 100 กรัม ซึ่งได้แก่ โปรโตแคทชูอิก(protocatechuic), เฟอรูลิก(ferrulic),อัลลิจิก(ellagic), คัทชีอิน(catchein),  โคลโรจีนิก(chlorogenic), ไซรินจิก(syringic), กัลลิก(gallic), แคฟฟีอิก (caffeic), คูมาริน(coumarine), คาทิชอล(catechol), และ ซินนามิก (cinnamic) (1)

วิตามินซี เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายซึ่งได้รับจากการรับประทานอาหารเท่านั้น  สัตว์ส่วนใหญ่สามารถสังเคราะห์วิตามินซีเองได้ยกเว้นมนุษย์ และสัตว์บางชนิดที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้

หน้าที่ที่สำคัญในร่างกายเราของวิตามินซี(2)ได้แก่
  • เป็นผู้ช่วยร่วมของเอนไซม์(enzyme cofactor) ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์คอลลาเจน, คาร์นีทีน และสารสื่อประสาท
  • ต้านอนุมูลอิสระ
  • มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และต้านภูมิแพ้เนื่องจากมีคุณสมบัติในการลดพิษของฮิสตามีน(anti-histamine)


ในเรื่องผิวพรรณ หน้าที่ของวิตามินซีนอกจากจะเป็นผู้ช่วยที่สำคัญในการสร้างคอลลาเจนแล้ว ยังมีคุณสมบัติในการยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดส(hyaluronidase)(3) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่สลายไฮ-ยาลูโรนาน(hyaluronan)ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในชั้นผิว จึงมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดริ้วรอยได้

การได้รับวิตามินซีที่ได้รับจากการรับประทานมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ วิตามินซีที่ได้จากการสังเคราะห์ และวิตามินซีที่พบอยู่ในแหล่งอาหารตามธรรมชาติ  วิตามินซีรูปแบบไหนจะให้ประโยชน์สูงสุดปัจจุบันยังไม่มีการชี้ชัด  ถ้าพิจารณาโครงสร้างทางเคมีจะพบว่าไม่มีความแตกต่างกันระหว่างวิตามินซีที่ได้จากการสังเคราะห์ และจากแหล่งอาหารธรรมชาติ  แต่เมื่อพิจารณาในเรื่องของประโยชน์การนำไปใช้ซึ่งจากการศึกษาในสัตว์ทดลองหลายๆการศึกษา  วิตามินซีที่ได้รับจากแหล่งอาหารธรรมชาติจะค่อนข้างให้ผลดีกว่าวิตามินซีที่ได้จากการสังเคราะห์  แต่สำหรับการศึกษาในมนุษย์นั้นกับไม่ค่อยพบความแตกต่างซึ่งอาจพบบ้างแต่ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบการศึกษา  อย่างไรก็ดีวิตามินซีที่ได้จากแหล่งอาหารธรรมชาติค่อนข้างมีความเชื่อว่าได้ประโยชน์กว่าแหล่งสังเคราะห์ เนื่องจากสารประกอบอื่นๆที่มีอยู่ด้วยในอาหาร(4)

สำหรับวิตามินซีในอเซโรล่า มีการศึกษาในชายสุขภาพดีชาวญี่ปุ่นที่ได้รับวิตามินซีในปริมาณที่เท่ากันเปรียบเทียบระหว่างการได้รับจากสารละลายวิตามินซีในรูปสังเคราะห์ และน้ำอเซโรล่า  พบว่าการได้รับวิตามินซีจากน้ำอเซโรล่าร่างกายจะมีการดูดซึมที่ดีกว่าและมีการขับออกที่น้อยกว่าการได้รับจากสารละลายวิตามินซี(5)

เราพอจะทราบแล้วว่าวิตามินซีมีประโยชน์อย่างไรต่อร่างกาย งั้นมาลองพิจารณาโพลีฟีนอลในอเซ-โรล่ากันดูว่ามีคุณสมบัติ และประโยชน์อย่างไรบ้าง

  • ต้านอนุมูลอิสระ และปกป้องดีเอ็นเอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลที่ยังไม่สุกจะปกป้องได้ดีกว่า(6) สามารถต้านออกซิเดชั่นในหนูที่ให้กินอาหารที่อุดมด้วยน้ำตาล และ ไขมัน(7) ปกป้องตับจากพิษของแอลกอฮอล์ในหนูทดลองเนื่องจากคุณสมบัติในการต้านออกซิเด-ชั่น(8)
  • ยับยั้งการเจริญที่ผิดปรกติของเซลล์เนื้องอก(9)
  • ยับยั้งการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากกระบวนการไกลเคชั่น(Advance Glycation End Products: AGEs)(10) ซึ่ง AGEs เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ผิว และร่างกายเสื่อมโทรม(11)
  • ยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มน้ำตาลในเลือดได้แก่ แอลฟากูลโคซิเดส(α-glucosidase) และแอลฟาอะไมเลส(α-amylase)(12) และลดระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหาร(13)
  • ช่วยทำให้ผิวกระจ่างใส แม้ต้องโดนรังสียูวี เนื่องจากมีคุณสมบัติในการลดการสังเคราะห์ เมลานินด้วยการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส(14)



ที่มา
  1. El-Malak, G. A. A., Hamdy, Z. M., & Radwan, H. M. (2010). Utilization of acerola fruit as a source of powerful antioxidant for enrichment of some processed foods. Arab Universities Journal of Agricultural Sciences, 18(1), 155-163.
  2. Wikipedia. (2013). Vitamin C (Online). Available : http://en.wikipedia.org/wiki/Vitamin_C#Enzymatic_cofactor [December 13, 2013]
  3. Okorukwu, O. N., & Vercruysse, K. P. (2003). Effects of ascorbic acid and analogs on the activity of testicular hyaluronidase and hyaluronan lyase on hyaluronan. Journal of enzyme inhibition and medicinal chemistry, 18(4), 377-382.
  4. Carr, A. C., & Vissers, M. (2013). Synthetic or Food-Derived Vitamin C—Are They Equally Bioavailable?. Nutrients, 5(11), 4284-4304.
  5. Uchida, E., Kondo, Y., Amano, A., Aizawa, S., Hanamura, T., Aoki, H., ... & Ishigami, A. (2011). Absorption and excretion of ascorbic acid alone and in acerola (Malpighia emarginata) juice: comparison in healthy Japanese subjects.Biological and Pharmaceutical Bulletin, 34(11), 1744-1747.
  6. da Silva Nunes, R., Kahl, V. F. S., da Silva Sarmento, M., Richter, M. F., Costa-Lotufo, L. V., Rodrigues, F. A. R., ... & da Silva, J. (2011). Antigenotoxicity and antioxidant activity of acerola fruit (Malpighia glabra L.) at two stages of ripeness. Plant foods for human nutrition, 66(2), 129-135.
  7. Leffa, D. D., da Silva, J., Daumann, F., Dajori, A. L. F., Longaretti, L. M., Damiani, A. P., ... & Andrade, V. M. D. (2013). Corrective Effects of Acerola (< i> Malpighia emarginata</i> DC.) Juice Intake on Biochemical and Genotoxical Parameters in Mice Fed on a High-Fat Diet. Mutation Research/Fundamental and Molecular Mechanisms of Mutagenesis.
  8. Gomes Rochette, N. F., Mota, E. F., Nunes-Pinheiro, D. C. S., Bezerra, C. F., Oliveira, M. L. M. D., Silva, A. C. M. D., ... & Fernandes de Melo, D. (2013). Effect of the pretreatment with acerola (< i> Malpighia emarginata</i> DC.) juice on ethanol-induced oxidative stress in mice–Hepatoprotective potential of acerola juice. Free Radicals and Antioxidants.
  9. Nagamine, I., Akiyama, T., Kainuma, M., Kumagai, H., Satoh, H., Yamada, K., ... & Sakurai, H. (2002). Effect of acerola cherry extract on cell proliferation and activation of ras signal pathway at the promotion stage of lung tumorigenesis in mice. Journal of nutritional science and vitaminology, 48(1), 69-72.
  10. Hanamura, T., Hagiwara, T., & Kawagishi, H. (2005). Structural and functional characterization of polyphenols isolated from acerola (Malpighia emarginata DC.) fruit. Bioscience, biotechnology, and biochemistry, 69(2), 280-286.
  11. Ige, S. F., Akhigbe, R. E., & Akinsanya, A. O. (2010). The Role of Hyperglycemia in Skin Wrinkle Formation: Mediation of Advanced Glycation End-Products. Research Journal of Medical Sciences, 4(5), 324-329.
  12. Kawaguchi, M., Tanabe, H., & Nagamine, K. (2007). Isolation and characterization of a novel flavonoid possessing a 4, 2 ″-glycosidic linkage from green mature acerola (Malpighia emarginata DC.) fruit. Bioscience, biotechnology, and biochemistry, (0), 0704090378.
  13. Hanamura, T., Mayama, C., Aoki, H., Hirayama, Y., & Shimizu, M. (2006). Antihyperglycemic effect of polyphenols from Acerola (Malpighia emarginata DC.) fruit. Bioscience, biotechnology, and biochemistry, 70(8), 1813-1820.
  14. Hanamura, T., Uchida, E., & Aoki, H. (2008). Skin-lightening effect of a polyphenol extract from acerola (Malpighia emarginata DC.) fruit on UV-induced pigmentation. Bioscience, biotechnology, and biochemistry, 72(12), 3211-3218.