วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Acerola benefits skin and health

อเซโรล่าดีต่อผิว และสุขภาพ

Photo CR:
www.superorganicfoods.com
อเซโรล่า (acerola) เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศบนเกาะแถบทะเลแคริบเบี่ยน เช่นคิวบา จาไมก้า  ปัจจุบันประเทศที่มีการเพาะปลูก และส่งออกอเซโรล่ามากคือประเทศบราซิล อเซโรล่าเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง โดยผลดิบจะมีปริมาณวิตามินซีประมาณ 1317-1570 มก. ต่อ 100 กรัม ส่วนผลสุกประมาณ 800 มก. ต่อ 100 กรัม นอกจากนี้ยังมีสารจำพวกโพลีฟีนอลประมาณ 2200-3000 มก. ต่อ 100 กรัม ซึ่งได้แก่ โปรโตแคทชูอิก(protocatechuic), เฟอรูลิก(ferrulic),อัลลิจิก(ellagic), คัทชีอิน(catchein),  โคลโรจีนิก(chlorogenic), ไซรินจิก(syringic), กัลลิก(gallic), แคฟฟีอิก (caffeic), คูมาริน(coumarine), คาทิชอล(catechol), และ ซินนามิก (cinnamic) (1)

วิตามินซี เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายซึ่งได้รับจากการรับประทานอาหารเท่านั้น  สัตว์ส่วนใหญ่สามารถสังเคราะห์วิตามินซีเองได้ยกเว้นมนุษย์ และสัตว์บางชนิดที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้

หน้าที่ที่สำคัญในร่างกายเราของวิตามินซี(2)ได้แก่
  • เป็นผู้ช่วยร่วมของเอนไซม์(enzyme cofactor) ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์คอลลาเจน, คาร์นีทีน และสารสื่อประสาท
  • ต้านอนุมูลอิสระ
  • มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และต้านภูมิแพ้เนื่องจากมีคุณสมบัติในการลดพิษของฮิสตามีน(anti-histamine)


ในเรื่องผิวพรรณ หน้าที่ของวิตามินซีนอกจากจะเป็นผู้ช่วยที่สำคัญในการสร้างคอลลาเจนแล้ว ยังมีคุณสมบัติในการยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดส(hyaluronidase)(3) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่สลายไฮ-ยาลูโรนาน(hyaluronan)ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในชั้นผิว จึงมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดริ้วรอยได้

การได้รับวิตามินซีที่ได้รับจากการรับประทานมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ วิตามินซีที่ได้จากการสังเคราะห์ และวิตามินซีที่พบอยู่ในแหล่งอาหารตามธรรมชาติ  วิตามินซีรูปแบบไหนจะให้ประโยชน์สูงสุดปัจจุบันยังไม่มีการชี้ชัด  ถ้าพิจารณาโครงสร้างทางเคมีจะพบว่าไม่มีความแตกต่างกันระหว่างวิตามินซีที่ได้จากการสังเคราะห์ และจากแหล่งอาหารธรรมชาติ  แต่เมื่อพิจารณาในเรื่องของประโยชน์การนำไปใช้ซึ่งจากการศึกษาในสัตว์ทดลองหลายๆการศึกษา  วิตามินซีที่ได้รับจากแหล่งอาหารธรรมชาติจะค่อนข้างให้ผลดีกว่าวิตามินซีที่ได้จากการสังเคราะห์  แต่สำหรับการศึกษาในมนุษย์นั้นกับไม่ค่อยพบความแตกต่างซึ่งอาจพบบ้างแต่ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบการศึกษา  อย่างไรก็ดีวิตามินซีที่ได้จากแหล่งอาหารธรรมชาติค่อนข้างมีความเชื่อว่าได้ประโยชน์กว่าแหล่งสังเคราะห์ เนื่องจากสารประกอบอื่นๆที่มีอยู่ด้วยในอาหาร(4)

สำหรับวิตามินซีในอเซโรล่า มีการศึกษาในชายสุขภาพดีชาวญี่ปุ่นที่ได้รับวิตามินซีในปริมาณที่เท่ากันเปรียบเทียบระหว่างการได้รับจากสารละลายวิตามินซีในรูปสังเคราะห์ และน้ำอเซโรล่า  พบว่าการได้รับวิตามินซีจากน้ำอเซโรล่าร่างกายจะมีการดูดซึมที่ดีกว่าและมีการขับออกที่น้อยกว่าการได้รับจากสารละลายวิตามินซี(5)

เราพอจะทราบแล้วว่าวิตามินซีมีประโยชน์อย่างไรต่อร่างกาย งั้นมาลองพิจารณาโพลีฟีนอลในอเซ-โรล่ากันดูว่ามีคุณสมบัติ และประโยชน์อย่างไรบ้าง

  • ต้านอนุมูลอิสระ และปกป้องดีเอ็นเอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลที่ยังไม่สุกจะปกป้องได้ดีกว่า(6) สามารถต้านออกซิเดชั่นในหนูที่ให้กินอาหารที่อุดมด้วยน้ำตาล และ ไขมัน(7) ปกป้องตับจากพิษของแอลกอฮอล์ในหนูทดลองเนื่องจากคุณสมบัติในการต้านออกซิเด-ชั่น(8)
  • ยับยั้งการเจริญที่ผิดปรกติของเซลล์เนื้องอก(9)
  • ยับยั้งการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากกระบวนการไกลเคชั่น(Advance Glycation End Products: AGEs)(10) ซึ่ง AGEs เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ผิว และร่างกายเสื่อมโทรม(11)
  • ยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มน้ำตาลในเลือดได้แก่ แอลฟากูลโคซิเดส(α-glucosidase) และแอลฟาอะไมเลส(α-amylase)(12) และลดระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหาร(13)
  • ช่วยทำให้ผิวกระจ่างใส แม้ต้องโดนรังสียูวี เนื่องจากมีคุณสมบัติในการลดการสังเคราะห์ เมลานินด้วยการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส(14)



ที่มา
  1. El-Malak, G. A. A., Hamdy, Z. M., & Radwan, H. M. (2010). Utilization of acerola fruit as a source of powerful antioxidant for enrichment of some processed foods. Arab Universities Journal of Agricultural Sciences, 18(1), 155-163.
  2. Wikipedia. (2013). Vitamin C (Online). Available : http://en.wikipedia.org/wiki/Vitamin_C#Enzymatic_cofactor [December 13, 2013]
  3. Okorukwu, O. N., & Vercruysse, K. P. (2003). Effects of ascorbic acid and analogs on the activity of testicular hyaluronidase and hyaluronan lyase on hyaluronan. Journal of enzyme inhibition and medicinal chemistry, 18(4), 377-382.
  4. Carr, A. C., & Vissers, M. (2013). Synthetic or Food-Derived Vitamin C—Are They Equally Bioavailable?. Nutrients, 5(11), 4284-4304.
  5. Uchida, E., Kondo, Y., Amano, A., Aizawa, S., Hanamura, T., Aoki, H., ... & Ishigami, A. (2011). Absorption and excretion of ascorbic acid alone and in acerola (Malpighia emarginata) juice: comparison in healthy Japanese subjects.Biological and Pharmaceutical Bulletin, 34(11), 1744-1747.
  6. da Silva Nunes, R., Kahl, V. F. S., da Silva Sarmento, M., Richter, M. F., Costa-Lotufo, L. V., Rodrigues, F. A. R., ... & da Silva, J. (2011). Antigenotoxicity and antioxidant activity of acerola fruit (Malpighia glabra L.) at two stages of ripeness. Plant foods for human nutrition, 66(2), 129-135.
  7. Leffa, D. D., da Silva, J., Daumann, F., Dajori, A. L. F., Longaretti, L. M., Damiani, A. P., ... & Andrade, V. M. D. (2013). Corrective Effects of Acerola (< i> Malpighia emarginata</i> DC.) Juice Intake on Biochemical and Genotoxical Parameters in Mice Fed on a High-Fat Diet. Mutation Research/Fundamental and Molecular Mechanisms of Mutagenesis.
  8. Gomes Rochette, N. F., Mota, E. F., Nunes-Pinheiro, D. C. S., Bezerra, C. F., Oliveira, M. L. M. D., Silva, A. C. M. D., ... & Fernandes de Melo, D. (2013). Effect of the pretreatment with acerola (< i> Malpighia emarginata</i> DC.) juice on ethanol-induced oxidative stress in mice–Hepatoprotective potential of acerola juice. Free Radicals and Antioxidants.
  9. Nagamine, I., Akiyama, T., Kainuma, M., Kumagai, H., Satoh, H., Yamada, K., ... & Sakurai, H. (2002). Effect of acerola cherry extract on cell proliferation and activation of ras signal pathway at the promotion stage of lung tumorigenesis in mice. Journal of nutritional science and vitaminology, 48(1), 69-72.
  10. Hanamura, T., Hagiwara, T., & Kawagishi, H. (2005). Structural and functional characterization of polyphenols isolated from acerola (Malpighia emarginata DC.) fruit. Bioscience, biotechnology, and biochemistry, 69(2), 280-286.
  11. Ige, S. F., Akhigbe, R. E., & Akinsanya, A. O. (2010). The Role of Hyperglycemia in Skin Wrinkle Formation: Mediation of Advanced Glycation End-Products. Research Journal of Medical Sciences, 4(5), 324-329.
  12. Kawaguchi, M., Tanabe, H., & Nagamine, K. (2007). Isolation and characterization of a novel flavonoid possessing a 4, 2 ″-glycosidic linkage from green mature acerola (Malpighia emarginata DC.) fruit. Bioscience, biotechnology, and biochemistry, (0), 0704090378.
  13. Hanamura, T., Mayama, C., Aoki, H., Hirayama, Y., & Shimizu, M. (2006). Antihyperglycemic effect of polyphenols from Acerola (Malpighia emarginata DC.) fruit. Bioscience, biotechnology, and biochemistry, 70(8), 1813-1820.
  14. Hanamura, T., Uchida, E., & Aoki, H. (2008). Skin-lightening effect of a polyphenol extract from acerola (Malpighia emarginata DC.) fruit on UV-induced pigmentation. Bioscience, biotechnology, and biochemistry, 72(12), 3211-3218.

วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

กลีบกุหลาบ ไม่ใช่แค่ดอกไม้สวย แต่มีประโยชน์ด้วย

กุหลาบ นอกจากจะเป็นดอกไม้ที่ให้ความสวยงาม และมีกลิ่นหอมแล้วยังสามารถใช้ในทางการแพทย์แผนโบราณ และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์ได้อีก  โดยส่วนที่นิยมใช้คือกลีบดอกโดยสามารถนำมาใช้ได้ทั้งการทาภายนอก หรือรับประทาน
Photo CR: http://www.flickr.com/groups/flowerthemes

คุณสมบัติทางยาของกุหลาบได้แก่ กลิ่นหอมที่ทำให้รู้สึกสงบ บำรุงหัวใจ ต้านอักเสบ ขับเสมหะ(expectorant) บรรเทาอาการไอ บำรุงทางเพศ(aphrodisiac) ขจัดสิ่งสกปรก(depurative) ช่วยระบาย(aperients) ต้านแบคทีเรีย แก้ถ่ายท้อง ฆ่าพยาธิ(ascaricide) ช่วยย่อย ขับลม ลดไข้ ห้ามเลือด สมานแผล และช่วยในการฟื้นฟูและบำรุงร่างกาย(1,2)

ในทางเครื่องสำอางค์สารสกัดจากกลีบกุหลาบจะใช้ในผลิตภัณฑ์เพื่อการบำรุงและให้ความชุ่มชื้นผิว ปกป้องผิวจากการแพ้และการอักเสบต่างๆ(3) นอกจากนี้ยังช่วยปกป้องผิวจากรังสียูวี และอนุมูลอิสระต่างๆที่จะนำไปสู่ความเสื่อมของผิว(4)

กุหลาบจัดเป็นดอกไม้ที่รับประทานได้ และมีการนำมาใช้รับประทานมาเป็นเวลายาวนานนับศตวรรษ  การรับประทานนั้นสามารถนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของอาหาร รับประทานสด หรือนำไปใช้ในอาหารแปรรูปเช่นลูกอม และเครื่องดื่ม(5)

ชากลีบกุหลาบมีคุณสมบัติในการต้านออกซิเดชั่นสูงสามารถเทียบเคียงได้กับชาเขียว และชาดำ นอกจากนี้ยังพบว่ามีกุหลาบบางสายพันธุ์ที่มีคุณสมบัติในการต้านออกซิเดชั่นสูงกว่าชาเขียว(5)

สารสกัดจากกลีบกุหลาบนอกจากจะมีคุณสมบัติในการต้านออกซิเดชั่นที่มีประสิทธิภาพแล้วยังคุณสมบัติอื่นๆที่เป็นประโยชน์ด้วย ได้แก่

  • ต้านภูมิแพ้ โดยจากการศึกษาในหนูทดลองพบว่าสามารถลดอาการคันในหนูที่ถูกกระตุ้นด้วยสารฮิสตามีน(สารก่อภูมิแพ้)ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการต้านผื่นแพ้ที่ผิวหนัง(6)
  • ต้านแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคต่างๆ ซึ่งจะมีประโยชน์ในการนำไปใช้ในการรักษาโรคท้องร่วง โรคติดเชื้อฉวยโอกาส และการติดเชื้อที่ผิวหนัง(7)
  • มีการศึกษาในหนูทดลองพบว่าสารสกัดจากกลีบกุหลาบมีคุณสมบัติในการปกป้องเซลล์ และต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ดี(8)
  • ลดการสังเคราะห์ไตรกลีเซอไรด์ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในการรักษาภาวะเมตาบอลิกที่ผิดปรกติ เนื่องจากมีคุณสมบัติในการยับยั้งเอนไซม์ไดเอซิลกลีเซอรอลเอซิลทรานส์เฟอเรส(diacylglycerol acyltransferase)ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่กระตุ้นการสังเคราห์ไตรกลีเซอร์ไรด์(9)
  • ต้านการกลายพันธุ์(anti-mutagenicity)(10)


สารสกัดจากกลีบกุหลาบกับสุขภาพผิว

ในสารสกัดจากกลีบกุหลายจะมีสารที่ชื่อว่า ยูเจนิอิน(eugeniin)(11) ซึ่งมีคุณสมบัติในการกระตุ้นการสังเคราะห์คอลลาเจน(12)

ป้องกันผิว และการเกิดริ้วรอยจากการทำลายจากยูวีในแสงแดดโดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อีลาสเทส(elastase)ที่ถูกกระตุ้นด้วยแสงแดด(13)

ด้วยคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ(5) ช่วยปกป้องผิวจากอนุมูลอิสระต่างๆที่จะมาทำลายผิวได้

ปกป้องผิวจากการเกิดผื่นแพ้ (6) ลดการเกาและอาการคันที่ผิวซึ่งจะก่อให้เกิดริ้วรอยที่ผิวได้



หมายเหตุ
ถ้าจะนำกลีบกุหลาบมาใช้ในการประกอบอาหารต้องมั่นใจว่ากุหลาบนั้นไม่มีสารเคมีตกค้าง เนื่องจากผู้ปลูกกุหลาบปลูกเพื่อวัตถุประสงค์เป็นดอกไม้ประดับความใส่ใจในการใช้สารเคมีต่างๆจะต่างจากการปลูกผักและผลไม้


ที่มาของข้อมูล
  1. Jitendra, J., Vineeta, T., Ashok, K., Brijesh, K., & Singh, P. (2012). ROSA CENTIFOLIA: PLANT REVIEW. IJRPC, 2(3), 794-796. Available: www.ijrpc.com
  2. James A. Duke. (2002) Handbook of Medicinal Herbs, Second edition. CRC Press.
  3. Datta, H. S., & Paramesh, R. (2010). Trends in aging and skin care: Ayurvedic concepts. Journal of Ayurveda and integrative medicine, 1(2), 110.
  4. Dawson, S., EATON, C., JOSEPH, L. B., & BERTRAM, C. (2006). Antiaging benefits of French rose petal extract. Cosmetics and toiletries, 121(2).
  5. Vinokur, Y., Rodov, V., Reznick, N., Goldman, G., Horev, B., Umiel, N., & Friedman, H. (2006). Rose Petal Tea as an Antioxidantrich Beverage: Cultivar Effects. Journal of food science, 71(1), S42-S47.
  6. Jeon, J. H., Kwon, S. C., Park, D., Shin, S., Jeong, J. H., Park, S. Y., ... & Joo, S. S. (2009). Anti-allergic effects of white rose petal extract and anti-atopic properties of its hexane fraction. Archives of pharmacal research, 32(6), 823-830.
  7. Hirulkar, N. B. (2011). Antimicrobial activity of rose petals extract against some pathogenic bacteria. International Journal of Pharmaceutical & Biological Archive, 1(05).
  8. Chandragopal, S., Kumar, S., & Archana, B. (2012). Evaluation of Anti-ulcer activity of Rosa Centifolia (Linn.) flowers in experimental rats. Journal of Natural Remedies, 12(1), 20-29.
  9. Kondo, H., Hashizume, K., Shibuya, Y., Hase, T., & Murase, T. (2011). Identification of diacylglycerol acyltransferase inhibitors from Rosa centifolia petals. Lipids, 46(8), 691-700.
  10. Kumar, S., Gautam, S., & Sharma, A. (2013). Identification of Antimutagenic Properties of Anthocyanins and Other Polyphenols from Rose (Rosa centifolia) Petals and Tea. Journal of food science.
  11. Nayeshiro, K., & Eugster, C. H. (1989). Notiz über Ellagitannine und Flavonolglycoside aus Rosenblüten. Helvetica Chimica Acta, 72(5), 985-992.
  12. Tsukiyama, M., Sugita, T., Kikuchi, H., Yasuda, Y., Arashima, M., Okumura, H., ... & Shoyama, Y. (2010). Effect of Duabanga grandiflora for human skin cells. The American Journal of Chinese Medicine, 38(02), 387-399.
  13. Tsukahara, K., Nakagawa, H., Moriwaki, S., Takema, Y., Fujimura, T., & Imokawa, G. (2006). Inhibition of ultravioletBinduced wrinkle formation by an elastaseinhibiting herbal extract: implication for the mechanism underlying elastaseassociated wrinkles. International journal of dermatology, 45(4), 460-468.


วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

glutathione and skin whitening

ผิวขาว กับการรับประทานกูลต้าไธโอน


กลูต้าไธโอน คือ เปปไทด์ ที่ประกอบไปด้วยกรดอะมิโน 3 ตัว ได้แก่ กลูตาเมท, ซิสเตอีน และไกลซีน (glu-cys-gly)  ร่างกายเราสามารถสังเคราะห์กลูต้าไธโอนได้เองจากกรดอะมิโนที่เป็นสารตั้งต้นทั้ง 3 ตัว ซึ่งการสังเคราะห์จะเกิดขึ้นภายในบริเวณน้ำที่อยู่ในเซลล์(cytosol)

กลูต้าไธโอนมีบทบาทสำคัญภายในร่างกายเราได้แก่(1,2)
  • กำจัดอนุมูลอิสระทั้งทางตรงโดยการเข้าไปกำจัดโดยตรง หรือ ทางอ้อมโดยเป็นผู้ช่วยเอนไซม์ที่ทำหน้าที่กำจัดอนุมูลอิสระ เช่นกลูต้าไธโอนเปอร์ออกซิเดส(glutathione peroxidase, GPX)
  • เข้าทำกับเมตาบอไลท์ต่างๆของร่างกายซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับ
    • การกำจัดสารพิษ โดยกำจัดเมตาบอไลท์ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น เมตาบอไลท์จากยา, สารเคมี, ฮอร์โมนเอสโตรเจน(เมตาบอไลท์จากเอสโตรเจนมีคุณสมบัติเป็นสารก่อมะเร็ง), พรอสตาแกลนดิน(prostaglandins) และลิวโคไตรอีน(leukotrienes) (เมตาบอไลท์ของพรอสตาแกลนดิน และ ลิวโคไตรอีนจะเกี่ยวข้องกับการอักเสบ) ซึ่งในการกำจัดจะร่วมกับเอนไซม์กลูต้าไธโอนเอสทรานเฟอเรส(glutathione s transferase)
    • การผลิตเมลานินในชั้นผิว
  • ควบคุมปริมาณไนตริกออกไซด์ซึ่งถ้ามีมากไปจะเป็นพิษต่อเซลล์โดยเฉพาะเซลล์ประสาท โดยกลูต้าไธโอนจะเข้าจับกับไนตริกออกไซด์แล้วกลายเป็นเอสไนโตรโซกลูต้าไธโอน(s-nitrosoglutathione, GSNO) รอการสลายออกเป็นกลูต้าไธโอน และไนตริกออกไซด์ตามสภาพความต้องการของร่างกาย
  • ลดความเป็นพิษของฟอร์มัลดีไฮด์ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากกระบวนการเมตาบอลิซึมภายในร่างกาย
  • รักษาสมดุลของปริมาณซัลไฟดริล(sulphydryl) หรือกลุ่มไทออล(thyol)ของเซลล์  ทำให้เกิดสมดุลของปฏิกิริยาออกซิเดชั่นรีดักชั่น ส่งผลให้เซลล์มีการทำงานปรกติ
  • ควบคุมการทำงานต่างๆในร่างกายได้แก่ การแสดงออกของยีน, การสังเคราะห์ดีเอ็นเอ และโปรตีน, การแบ่งตัว และการตายของเซลล์, การผลิตสารก่ออักเสบ และการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกัน, กระบวนการนำส่งสัญญาณต่างๆ, การทำงานของไมโตคอนเดรีย และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโปรตีน(protein glutathionylation)

Photo CR: http://benefitsofglutathione.com

เมลานิน

คือสารสีที่พบในผิว ผม และม่านตา ที่สร้างขึ้นจากเซลล์ที่ชื่อว่าเมลาโนซัยท์(melanocyte) ที่อยู่บนชั้นผิวหนังกำพร้า(epidermis)  สีที่ปรากฏจะแตกต่างไปตามชนิดของเมลานิน ซึ่งอาจแบ่งเมลานินที่ผิวหนังเป็น 2 ชนิดใหญ่คือ ยูเมลานิน(eumelanin) ซึ่งมีสีน้ำตาลดำ และฟีโอเมลานิน(pheomelanin) ซึ่งมีสีเหลืองแดง(3)  โดยปรกติผิวของเราจะมีการผสมเมลานินทั้ง 2 ตัวนี้ ดังนั้นการที่คนเรามีสีผิวต่างกันเนื่องจากปริมาณ และอัตราส่วนการผสมที่แตกต่างกันซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากพันธุกรรม

Photo CR: http://www.answersingenesis.org

ปรกติแล้วเมลานินมีหน้าที่ในการปกป้องผิวจากการไหม้และโอกาสเกิดมะเร็งผิวหนังจากแสงแดด โดยการดูดกลืนรังสียูวีที่เป็นอันตรายต่อผิวในแสงแดด ซึ่งจะสังเกตุได้ว่าโดยธรรมชาติประชากรที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคที่มีแสงแดดแรงจะมีสีผิวที่คล้ำกว่าเนื่องจากมีปริมาณเมลานินในปริมาณมากกว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในที่แสงแดดอ่อน(4)

เมื่อผิวเราโดนแสงแดด  รังสียูวีในแสงแดดจะกระตุ้นให้เซลล์เมลาโนซัยท์สร้างเมลานินออกมาและส่งออกมาที่ชั้นผิว  คนเอเชียเมื่อถูกกระตุ้นด้วยรังสียูวีจะมีการสร้างเมลานินมากกว่าคนยุโรป(เหนือ)(5)


การสังเคราะห์เมลานิน(melanogenesis)ในชั้นผิว(4,6)

เริ่มจากสารตั้งต้นไทโรซีน(tyrosine) ผ่านกระบวนการเติมหมู่ไฮดรอกซิล(hydroxylation) จนกลายเป็นแอลไดไฮดรอกซีฟีนิลอะลานีน หรือแอลโดพา(L-dihydroxyphenylalanine, L-dopa)  จากนั้นจะถูกออกซิเดชั่นกลายเป็นแอลโดพาคิวโนน(L-dopaquinone) ซึ่งจะกลายเป็นยูเมลานิน(eumalanin) หรือฟีโอเมลานิน(phemalanin) ก็ขึ้นอยู่กับขั้นตอนถัดไป โดยในสภาวะที่ขาดหมู่ไทออลจากกรดอะมิโนซิสเตอีน หรือ กลูต้าไธโอน แอลโดพาคิวโนนจะถูกเปลี่ยนเป็น ยูเมลานิน  แต่ในสภาวะที่มีความเข้มข้นของกรดอะมิโนซิสเตอีน หรือ กลูต้าไธโอนเพียงพอแอลโดพาคิวโนนจะถูกเปลี่ยนเป็น ฟีโอเมลานิน

เอนไซม์ที่มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์เมลานินคือไทโรซิเนส(tyrosinase)



กลูต้าไธโอนเกี่ยวข้องยังไงกับผิวขาว

เอนไซม์ไทโรซิเนสเป็นเอนไซม์ที่บทบาทสำคัญในการสังเคราะห์เมลานินในชั้นผิว ดังนั้นการยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์ไทโรซิเนสจึงเป็นประเด็นสำคัญในการทำให้เมลานินในชั้นผิวมีปริมาณลดลงและส่งผลให้สีผิวขาวกระจ่างขึ้น

Villarama และ Maibach (2005) ได้รวบรวมการศึกษาทั้งในหลอดทดลอง และในสิ่งมีชีวิตถึงความสามารถในการยับยั้งการสร้างเมลานินของกลูต้าไธโอน(7)ซึ่งได้แก่
  • สามารถยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์ไทโรซิเนสโดยตรงด้วยการเข้าไปจับกับตำแหน่งที่ใช้ในการทำงานของเอนไซม์(active site)
  • ทำให้เกิดการสังเคราะห์เมลานินชนิดฟีโอเมลานินซึ่งมีสีอ่อนกว่าเมลานินชนิดยูเมลานิน
  • มีความสามารถในการจับอนุมูลอิสระ และเพอร์ออกไซด์ ซึ่งจะส่งผลต่อกิจกรรมของเอนไซม์ไธโรซิเนสในการสังเคราะห์เมลานิน เนื่องจากในการสังเคระห์เมลานินที่ถูกกระตุ้นเอนไซม์ไธโรซิเนสในบางขั้นตอนมีการใช้อนุมูลออกซิเจน(8)
  • ควบคุมการเข้าไปทำลายเม็ดสีของสารที่เป็นพิษต่อเมลาโนซัยท์(melanocytotoxic agent) จึงช่วยป้องกันการเกิดรอยด่าง หรือสีผิวที่ไม่สม่ำเสมอ

นอกจากนี้ Matsuki และคณะ (2008) ยังพบว่ากลูต้าไธโอนสามารถยับยั้งการสังเคราะห์เมลานินโดยเข้าไปขัดขวางการทำงานของแอลโดพา(L-dopa)(9)

ในปี 2012 ได้มีการศึกษาทางคลีนิกในกลุ่มนักศึกษาแพทย์ชายหญิงอายุ 19-22 ปี  โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ได้รับยาหลอก และกลุ่มที่ได้รับกลูต้าไธโอนในปริมาณ 500 มก ต่อวัน(ครั้งละ 250 มก.วันละ 2 ครั้ง) เป็นเวลา 4 สัปดาห์  พบว่ากลุ่มที่ได้รับกลูต้าไธโอนมีปริมาณเมลานินที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ  นอกจากนี้ยังพบว่าผิวมีความเรียบเนียนและรูขุมขนกระชับขึ้นแต่ไม่ถึงระดับนัยสำคัญ(10)


ผิวขาวกระจ่างใส ถือเป็นผลพลอยได้จากการรับประทานกลูต้าไธโอน แต่แท้จริงแล้วกลูต้าไธโอนมีดีมากกว่านั้นเนื่องจากกลูต้าไธโอนเป็นสารที่สำคัญและจำเป็นอย่างมากในร่างกายเรา โดยปรกติร่างกายเราสามารถผลิตกูลต้าไธโอนเองได้จากกรดอะมิโน(กลูตาเมท, ซิสเตอีน และไกลซีน)ที่ได้รับจากอาหารประเภทโปรตีน แต่การผลิตกลูต้าไธโอนจะลดลงเมื่อเราอายุมากขึ้น สภาพร่างกายไม่สมบรูณ์หรือเป็นโรคบางโรค ถ้าในร่างกายเรามีปริมาณกลูต้าไธโอนไม่เพียงพอจะทำให้ระบบการทำงานของร่างกายเราผิดเพี้ยนไปและเป็นสาเหตุของการเสื่อมโทรม และโรคต่างๆได้


 ที่มาของข้อมูล
  1. Wu, G., Fang, Y. Z., Yang, S., Lupton, J. R., & Turner, N. D. (2004). Glutathione metabolism and its implications for health. The Journal of nutrition,134(3), 489-492.
  2. Wang, W., & Ballatori, N. (1998). Endogenous glutathione conjugates: occurrence and biological functions. Pharmacological Reviews, 50(3), 335-356.
  3. Thody, A. J., Higgins, E. M., Wakamatsu, K., Ito, S., Burchill, S. A., & Marks, J. M. (1991). Pheomelanin as well as eumelanin is present in human epidermis.Journal of Investigative Dermatology, 97(2), 340-344.
  4. Slominski, A., Tobin, D. J., Shibahara, S., & Wortsman, J. (2004). Melanin pigmentation in mammalian skin and its hormonal regulation. Physiological reviews, 84(4), 1155-1228.
  5. Hennessy, A., Oh, C., Diffey, B., Wakamatsu, K., Ito, S., & Rees, J. (2005). Eumelanin and pheomelanin concentrations in human epidermis before and after UVB irradiation. Pigment cell research, 18(3), 220-223.
  6. Gillbro, J. M., & Olsson, M. J. (2011). The melanogenesis and mechanisms of skinlightening agents–existing and new approaches. International journal of cosmetic science, 33(3), 210-221.
  7. Villarama, C. D., & Maibach, H. I. (2005). Glutathione as a depigmenting agent: an overview. International journal of cosmetic science, 27(3), 147.
  8. Valverde, P., Manning, P., McNEIL, C. J., & Thody, A. J. (1996). Activation of tyrosinase reduces the cytotoxic effects of the superoxide anion in B16 mouse melanoma cells. Pigment cell research, 9(2), 77-81.
  9. Matsuki, M., Watanabe, T., Ogasawara, A., Mikami, T., & Matsumoto, T. (2008). Inhibitory mechanism of melanin synthesis by glutathione]. Yakugaku zasshi: Journal of the Pharmaceutical Society of Japan, 128(8), 1203.
  10. Arjinpathana, N., & Asawanonda, P. (2012). Glutathione as an oral whitening agent: A randomized, double-blind, placebo-controlled study. Journal of Dermatological Treatment, 23(2), 97-102.