วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557

ทาน CLA เพื่อลดน้ำหนักอย่างปลอดภัย ได้ประสิทธิภาพ

CLA หรือ กรดคอนจูเกเตดไลโนเลอิก(Conjugated Linoleic Acid) เป็นไอโซเมอร์กับกรดไขมันไลโนเลอิก(Linoleic Acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวหลายพันธะ(PUFA, Polyunsaturated fatty acid)  โดยไอโซเมอร์ของ CLA ส่วนใหญ่ที่พบคือ c-9, t-11 และ t-10, c-12 ซึ่งมักจะผสมอยู่ด้วยกัน

แหล่งที่พบในอาหารโดยธรรมชาติคือไขมันจากสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น นม เนย และไขมันในเนื้อสัตว์  เนื่องจากสัตว์ประเภทนี้มีจุลลินทรีย์ในระบบลำไส้ที่สามารถเปลี่ยนโครงสร้างของกรดไขมันไลโนเลอิกที่ได้รับจากอาหารสัตว์(หญ้า และเมล็ดธัญพืช) ให้กลายเป็น CLA ได้ 

Photo CR: troyspro.com.au
CLA ที่พบได้ในไขมันวัวโดยปรกติจะมีปริมาณ 1.2-12.5 มก. ต่อไขมัน 1 กรัม  ซึ่งปริมาณการรับประทาน CLA เพื่อผลทางสุขภาพนั้นส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 1.5-3.5 กรัมต่อวัน (Crumb and Vattem, 2011)  ซึ่งหมายความว่าถ้าเราจะได้รับ CLA จากการรับประทานอาหารปรกติเราต้องกินไขมันวัวในปริมาณตั้งแต่ 120 กรัมถึงเกือบ 3 กก.



Photo CR: oilypedia.com

ส่วน CLA ที่มีการนำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นส่วนใหญ่จะไม่ได้ทำมากจากไขมันวัว แต่จะทำมาจากน้ำมันดอกคำฝอย (Safflower Oil) ซึ่งเป็นน้ำมันที่มีกรดไลโนเลอิกมาก โดยนำน้ำมันดอกคำฝอยไปผ่านกระบวนการเปลี่ยนกรดไขมันไลโนเลอิกให้กลายเป็นกรดคอนจูเกเตดไลโนเลอิกหรือ CLA นั้นเอง ทำให้สัดส่วน CLA ในน้ำมันมีปริมาณสูงถึงประมาณ 80% ของน้ำหนักน้ำมัน  จึงทำให้ไม่จำเป็นต้องบริโภคน้ำมันในปริมาณมากก็สามารถได้รับปริมาณ CLA ที่เพียงพอที่จะส่งผลต่อสุขภาพ


ประโยชน์ของ CLA ต่อสุขภาพ

ถึงแม้ว่า CLA จะเป็นที่นิยมในการรับประทานเพื่อลดน้ำหนัก และไขมันส่วนเกิน แต่แท้จริงแล้วประโยชน์ของ CLA ที่พบครั้งแรกนั้นคือความสามารถในการต้านการกลายพันธุ์ (Anti-mutagen) ซึ่งค้นพบในปี 1978 โดยความบังเอิญในเนื้อย่าง โดยที่ตอนนั้นยังไม่ทราบว่าเป็นสารอะไร นักวิจัยจึงทำการศึกษาต่อและต่อมาจึงสามารถระบุชื่อสารนี้ว่า CLA (Pariza, 2004)

มีหลายงานวิจัยที่พบว่า CLA มึคุณสมบัติในการยับยั้งกระบวนการเกิดโรคมะเร็งขั้นต่างๆ ซึ่งได้แก่ มะเร็งเต้านม, มะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งผิวหนัง และมะเร็งต่อมลูกหมาก (Crumb and Vattem, 2011)
CLA ยังมีคุณสมบัติในการควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย  โดยสามารถลดการผลิตสารก่ออักเสบ และสารก่อภูมิแพ้ที่เกิดจากการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน (Crumb and Vattem, 2011)

CLA กับการลดน้ำหนัก

คุณสมบัตินี้ถึงกับเป็น Highlight ของ CLA เพราะเรื่องความอ้วนเนี้ยเป็นอะไรที่เห็นได้จากภายนอก ต่างจากการป่วยเป็นโรคที่ต้องไปตรวจถึงจะพบ ใครๆก็อยากมีรูปร่างที่ดีสมส่วน งั้นมาลองดูงานวิจัยกันว่า CLA ช่วยทำให้เราหุ่นดีขึ้นได้หรือไม่

มีงานวิจัยจำนวนมากที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการลดน้ำหนัก และมวลไขมัน (Body Fat Mass) ในหนูทดลอง(พันธ์ต่างๆ) นักวิจัยจึงได้ทำการวิจัยในมนุษย์ซึ่งผลที่ได้พบว่าประสิทธิภาพของ CLA ในการลดน้ำหนักนั้นไม่เด่นชัดเท่าที่พบในหนูทดลอง โดยส่วนใหญ่ประสิทธิภาพของ CLA ที่เห็นผลคือการลดมวลไขมัน(Body Fat Mass) ซึ่งมีพบการลดลงของน้ำหนักตัวบ้างแต่น้อยมากส่วนใหญ่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง

ตัวอย่างงานวิจัยที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการลดมวลไขมัน และการลดน้ำหนักของการรับประทาน CLA


Blankson และคณะ (2000) ได้ทำการศึกษาในอาสาสมัครที่มีน้ำหนักเกิน และเป็นคนอ้วน(BMI 25-35 kg/m2) โดยให้รับประทาน CLA ในปริมาณต่างๆกัน เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าปริมาณที่เห็นผลคือ 3.4 และ 6.8 กรัมต่อวัน โดยพบว่าเฉพาะมวลไขมันที่ลดลง แต่มวลกายไร้ไขมัน (Lean Body Mass) และดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ
Photo CR: www.weighttraining.com

Thom และ Gudmundsen (2001) ได้ศึกษาประสิทธิภาพของ CLA ในผู้ที่มีน้ำหนักตัวปรกติ(BMI < 25 kg/m2) และออกกำลังกายประจำ โดยให้รับประทานในปริมาณ 1.8 กรัมต่อวัน(ครั้งละ 600 มก. วันละ 3 ครั้ง) เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่รับประทานมีมวลไขมันลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับประทาน แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว 

มีการศึกษาในปริมาณการรับประทานที่ต่ำลงไปอีกคือที่ 0.7-1.4 กรัมต่อวันโดย Mougios และคณะ(2001) ซึ่งให้รับประทานเป็นเวลาทั้งหมด 8 สัปดาห์โดยแบ่งเป็น 2 ช่วงคือ 4 สัปดาห์แรกให้รับประทานในปริมาณ 0.7 กรัมและ 4 สัปดาห์ต่อมาให้รับประทานในปริมาณ 1.4 กรัม พบว่ามวลไขมันลดลงในระหว่างช่วงที่สองหรือ 4 สัปดาห์หลัง ซึ่งจากการศึกษานี้สรุปได้ว่าการรับประทาน CLA ในปริมาณ 0.7-1.4 กรัมต่อวันเป็นเวลา 4-8 สัปดาห์อาจลดมวลไขมันของร่างกายได้

เนื่องจาก CLA ส่วนใหญ่จะมีไอโซเมอร์ c-9, t-11 และ t-10, c-12 ผสมกันจึงได้มีการศึกษาของ Belury และคณะ (2003) ถึงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณไอโซเมอร์ของ CLA ที่พบในเลือดจากการรับประทาน CLA กับการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว และระดับฮอร์โมนเลปตินในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน(ผู้ป่วยเบาหวานมักมีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น และมีระดับฮอร์โมนเลปตินสูงซึ่งทำให้มีความอยากอาหารสูง) โดยพบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับ CLA ในเลือดเพิ่มขึ้นจะมีน้ำหนักตัว และระดับฮอร์โมนเลปตินในเลือดลดลง โดยไอโซเมอร์ที่เห็นผลคือ t-10, c-12 

มีการศึกษาผลของ CLA ในการควบคุมน้ำหนักภายหลังการลดน้ำหนัก พบว่าการได้รับ CLA ในปริมาณ 1.8 หรือ 3.6 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 13 สัปดาห์ ในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน(BMI 27.8 ± 1.5 kg/m2) ที่ผ่านการลดน้ำหนักด้วยการรับประทานอาหารพลังงานต่ำมาเป็นเวลา 3 สัปดาห์ สามารถเพิ่มอัตราการใช้พลังงานระหว่างพัก(Resting metabolic rate) และช่วยในการเพิ่มมวลกายไร้ไขมัน (Fat-free mass) แต่อย่างไรก็ไม่ได้แสดงถึงความสามารถในการควบคุมน้ำหนักภายหลังการลดน้ำหนักของ CLA (Kamphuis, et al., 2003)

สำหรับการศึกษาในการรับประทานระยะยาวดังเช่นการศึกษาของ Gaullier และคณะ (2004) ที่ให้ผู้ทดสอบที่มีน้ำหนักตัวเกิน (BMI 25-30 kg/m2) รับประทาน CLA ปริมาณ 3.4 และ 3.6 กรัมต่อวันเป็นเวลา 1 ปี พบว่ามีน้ำหนักลดลง, BMI ลดลง, มวลไขมันลดลง และมีมวลกายไร้ไขมันเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับ CLA และในปีต่อมา Gaullier และคณะ (2005) ก็ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการรับประทาน CLA ในปริมาณเดียวกันต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี(เนื่องจากการศึกษาแรกไม่ได้พิจารณาข้อมูลความปลอดภัย)ซึ่งพบว่ามีความปลอดภัยดีและยังคงให้ผลในเรื่องการลดมวลกาย และมวลไขมันเช่นเดียวกับการศึกษาครั้งก่อน

มีการศึกษาที่น่าสนใจถึงประสิทธิภาพของ CLA ในการป้องกันการเพิ่มน้ำหนักระหว่างช่วงเทศกาลวันหยุดพักผ่อน โดยให้ผู้ทดสอบที่มีน้ำหนักตัวเกิน (BMI 25-30 kg/m2) รับประทาน CLA ปริมาณ 3.2 กรัมต่อวัน เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยเลือกช่วงเดือนที่เป็นหน้าเทศกาลช่วงปลายปีถึงต้นปี (เป็นช่วงเทศกาลของต่างประเทศ) โดยทำการตรวจสอบน้ำหนักช่วงเดือนก่อนเทศกาล (สิงหาคม-ตุลาคม), ช่วงเทศกาล (พฤศจิกายน-ธันวาคม) และช่วงหลังเทศกาล (มกราคม-มีนาคม)  โดยพบว่ากลุ่มที่ได้รับ CLA มีมวลไขมันที่ลดลง และยังสามารถป้องกันการเพิ่มน้ำหนักในช่วงฤดูเทศกาลได้เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับ(Watras, et al., 2007)

โรคอ้วนนั้นไม่ได้พบปัญหาเฉพาะผู้ใหญ่ในเด็กก็พบปัญหาไม่น้อยเช่นกันจึงได้มีการศึกษาผลของ CLA ในเด็กน้ำหนักเกิน และเด็กอ้วนที่มีสุขภาพดีที่มีช่วงอายุ 6-10 ปี โดยให้รับประทาน CLA 2.4 กรัมต่อวัน (หรือ 3 กรัม ของน้ำมันที่มี CLA 80%) เป็นเวลาประมาณ 7 เดือน พบว่ากลุ่มเด็กที่ไดรับ CLA มีมวลไขมันลดลง (Racine, et al., 2010)


ตัวอย่างงานวิจัยที่พบว่าการรับประทาน CLA ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนส่วนประกอบของร่างกาย (Body composition)


Zambell และคณะ (2000) ได้ศึกษาถึงความสามารถในการเพิ่มการนำพลังงานไปใช้ (Energy expenditure) ของการรับประทาน CLA โดยศึกษาในผู้ใหญ่สุขภาพดีเพศหญิง ที่ให้รับประทาน CLA ในปริมาณ 3 กรัมต่อวันเป็นเวลา 64 วัน ผลคือไม่พบการเปลี่ยนแปลงทั้งสัดส่วนส่วนประกอบของร่างกาย และการนำพลังงานไปใช้ 

Petridou และคณะ(2003) ได้ทำการศึกษาในผู้หญิงน้ำหนักตัวปรกติแต่มีลักษณะการดำเนินชีวิตที่ไม่ค่อยได้ใช้พลังงาน(Sedantary behavior) โดยให้รับประทาน CLA วันละ 2.1 กรัม เป็นเวลา 45 วัน ผลคือพบการเพิ่มของระดับไอโซเมอร์ของ CLA ในเลือด2-5 เท่าแต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนส่วนประกอบของร่างกาย

จากการศึกษาผลของชนิดไอโซเมอร์ และปริมาณรับประทาน CLA ในผู้ใหญ่วัยกลางคนที่มีน้ำหนักเกิน (BMI 25-30 kg/m2) โดยให้รับประทาน CLA ไอโซเมอร์ c-9, t-11 และ t-10, c-12 ในปริมาณ 1.5 กรัม และ 3 กรัม เป็นเวลา 18 สัปดาห์ พบว่ามีการลดลงของมวลไขมันของทุกกลุ่มที่รับประทาน CLA ไอโซเมอร์ และปริมาณต่างๆ แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับ CLA (MalpuechBrugère, et al., 2004)

การศึกษาผลของ CLA ในการป้องกันการเพิ่มน้ำหนักหลังการควบคุมอาหารในคนอ้วน (BMI > 28 kg/m2) โดยให้รับประทาน CLA ในปริมาณ 3.4 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 1 ปี ภายหลังที่มีการควบคุมอาหารมาแล้วเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ซึ่งพบว่ากลุ่มที่ได้รับ CLA มีการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักและมวลไขมันไม่ต่างจากกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับ CLA (Larsen, et al., 2006)

จากการศึกษาในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน (BMI ≥ 25 kg/m2) ที่ให้รับประทาน CLA ในปริมาณ 2.7 และ 2.8 กรัม ต่อวันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวและสัดส่วนส่วนประกอบของร่างกายเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (Joseph, et al., 2011)


สิ่งที่ควรตระหนักในการรับประทาน CLA


การเกิดภาวะดื้ออินซูลิน

มีงานวิจัยที่พบการเกิดภาวะดื้ออินซูลินในหนูทดลองที่ได้รับ CLA จึงได้สนใจประเด็นนี้แล้วได้ทำการศึกษาในมนุษย์แล้วก็พบภาวะนี้เช่นกัน ดังเช่นในการศึกษาของ Risérus และคณะในปี 2002 ที่พบว่ากลุ่มคนที่อ้วนลงพุง (รอบเอวมากกว่า 102 ซม. และ BMI 27-39 kg/m2) ที่ได้รับ CLA ไอโซเมอร์ t-10, c-12 เพียงอย่างเดียว ในปริมาณ 3.4 กรัมต่อวันเป็นเวลา 12 สัปดาห์  จะมีภาวะดื้ออินซูลินเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับ CLA และกลุ่มที่ได้รับ CLA ที่มีไอโซเมอร์ผสม และสอดคล้องกับการศึกษาต่อมาของ Risérus และคณะ(2004) ที่พบว่าไอโซเมอร์ t-10, c-12 มีความข้องเกี่ยวกับความบกพร่องของการตอบสนองอินซูลินของเซลล์ ต่อมา Risérus และคณะ(2004) ก็ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมถึงผลของอีกไอโซเมอร์ของ CLA คือไอโซเมอร์ c-9, t-11 ในกลุ่มคนอ้วนที่อ้วนลงพุงเช่นเดียวกัน (รอบเอวมากกว่า 102 ซม. และ BMI 27-35 kg/m2) โดยให้ได้รับ CLA ไอโซเมอร์ c-9, t-11 เพียงอย่างเดียวในปริมาณ 3 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 3 เดือน  พบว่ากลุ่มที่ได้รับมีความไวต่ออินซูลินลดลง และมีค่าบ่งชี้ของการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ดี CLA ที่ใช้ในการรับประทานเป็นอาหารเสริมนั้นโดยปรกติจะประกอบด้วยไอโซเมอร์ c-9, t-11 และ t-10, c-12 สองชนิดผสมกัน Syvertsen และคณะ(2007) จึงได้ศึกษาผลของการได้รับ CLA ที่มีสองไอโซเมอร์ผสมกันต่อการเกิดภาวะดื้ออินซูลินในกลุ่มคนที่มีน้ำหนักมาก และคนอ้วน(BMI 28-32 kg/m2) ทั้งชายและหญิงโดยให้รับประทานในปริมาณ 3.4 กรัมต่วันเป็นเวลา 6 เดือน พบว่าการได้รับ CLA ที่มีไอโซเมอร์ผสมไม่ส่งผลต่อกระบวนการเมตาบอลิซึมของกูลโคส และภาวะดื้ออินซูลิน

การออกซิเดชั่นของไขมัน และการอักเสบ

เนื่องจากกลไกการทำงานของ CLA ในการต้านมะเร็งบางส่วนมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดออกซิเดชั่นไขมันภายในร่างกาย  Basu และคณะ (2000) จึงได้ทำการศึกษาผลของการได้รับ CLA ในผู้ที่มีสุขภาพดีปรกติ โดยได้รับในปริมาณ 4.2 กรัมต่อวันเป็นเวลา 3 เดือนซึ่งพบว่ามีค่าบ่งชี้ของการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น  และนอกจากนี้ Basu และคณะ (2000) ยังได้ทำการศึกษาในคนอ้วนที่อ้วนลงพุงอีกด้วย เนื่องจากคนกลุ่มนี้มักมีการออกซิเดชั่นของไขมันและการอักเสบมากกว่าปรกติซึ่งจากศึกษาผลของการรับประทาน CLA ในคนอ้วนที่อ้วนลงพุง(รอบเอวมากกว่า 94 ซม. และ 27< BMI <39 kg/m2)  โดยให้รับประทาน CLAในปริมาณ 4.5 กรัมต่อวันเป็นระยะเวลา 1 เดือน พบว่ามีระดับของค่าบ่งชี้ที่แสดงถึงการออกซิเดชั่นของไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ CLA และเมื่อหยุดรับประทาน CLA เป็นเวลา 2 สัปดาห์ค่าบ่งชี้การเกิดออกซิเดชั่นเหล่านี้ก็ลดลงมาอยู่ในระดับปรกติ และเช่นเดียวกับการศึกษาในคนที่อ้วนมากผิดปรกติของ Risérus และคณะ(2004) ที่พบการออกซิเดชั่นของไขมันเพิ่มขึ้นในกลุ่มที่ได้รับ CLA ไอโซเมอร์ C-9, t-11

มีการศึกษาผลของการรับประทาน CLA ในรูปไอโซเมอร์ผสมต่อการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันและการอักเสบภายในร่างกายของกลุ่มผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ได้รับ CLA ปริมาณ 4.6 กรัมต่อวันเป็นเวลา 16 สัปดาห์พบว่ามีค่าบ่งชีการอักเสบและการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันภายในร่างกายมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ CLA (Tholstrup, et al., 2008)

ไขมันสะสมที่ตับ และนิ่วในถุงน้ำดี

จากการศึกษาในสัตว์ทดลองที่ได้รับ CLA พบว่ามีการลดลงของมวลไขมันในเนื้อเยื้อแต่กลับพบการสะสมของไขมันในตับเพิ่มขึ้นโดยไอโซเมอร์ที่น่าจะมีผลคือ t-10, c-12  ทั้งนี้อาจเนื่องจากการที่ CLA สลายเซลล์ไขมันทำให้ได้กรดไขมันอิสระออกมาซึ่งส่งผลให้ตับต้องรับกรดไขมันอิสระไปและเกิดการสะสมที่ตับ  แต่อย่างไรก็ดีกลไกในการสะสมไขมันในตับเนื่องจากการได้รับ CLA นั้นยังไม่อาจเป็นที่กระจ่างชัดซึ่งยังคงต้องมีการศึกษาต่อไป (Vvas, et al., 2011; Ferramosca and Zara, 2014)
พบการสะสมของคอลเลสเตอรอลในถุงน้ำดีซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีในหนูทดลอง (Letona, et al., 2011)

รับประทาน CLA อย่างไรให้เห็นผล และปลอดภัย


จากการตัวอย่างการศึกษาในมนุษย์ดังที่กล่าวในข้างต้นจะเห็นได้ว่า สำหรับคนที่มีน้ำหนักเกินและคนอ้วน(BMI ≥ 25 kg/m2 : มาตรฐานยุโรป; BMI ≥ 23 kg/m2 : มาตรฐานเอเชีย) ปริมาณการรับประทานที่เห็นผลคือ มากกว่า 3 กรัมต่อวัน (คิดที่ปริมาณของ CLA ไม่ใช่ปริมาณน้ำมันดอกคำฝอย เช่น 1 แคปซูลมีน้ำมันดอกคำฝอย 1160 มก. ซึ่งประกอบไปด้วย CLA 900 มก. นั้นหมายความว่าต้องรับประทาน 4 แคปซูลซึ่งจะได้ CLA 3.6 กรัม) ส่วนคนที่มีน้ำหนักตัวปรกติและมีการออกกำลังกายร่วมด้วยการรับประทานประมาณ 2 กรัมต่อวันก็อาจจะเพียงพอ  และคนที่มีน้ำหนักตัวปรกติแต่ไม่ค่อยได้ใช้พลังงานอาจต้องรับประทานมากกว่า 2 กรัมต่อวัน  โดยผลที่ได้ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องการลดมวลไขมัน และเพิ่มมวลกายไร้ไขมัน แต่ในเรื่องการลดของน้ำหนักตัวนั้นไม่ค่อยชัดเจน
Photo CR: ilovemyhealth.net

สืบเนื่องจากการพบว่ากลไกในการทำงานของ CLA ในการสลายไขมันนั้นอาจเกิดผลเสียต่อร่างกายอันได้แก่ การออกซิเดชั่นของไขมันภายในร่างกาย การอักเสบ และการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งผลเสียนี้ส่วนใหญ่มักจะพบในผู้ที่มีความอ้วนในระดับอ้วนลงพุง และนอกจากนี้ยังพบการสะสมไขมันที่ตับ และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีของสัตว์ทดลอง ดังนั้นควรมีการรับประทานอาหารเสริมอื่นๆ ร่วมด้วยอันได้แก่
  • กรดแกมม่าไลโนเลนิก (GLA) จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า GLA สามารถลดการอักเสบและการสะสมไขมันในตับที่เกิดขึ้นจากการได้รับ CLA ได้ (Nakanishi, et al., 2004) ซึ่งกรดไขมันชนิดนี้มักพบใน น้ำมันโบราจ (Borage oil), น้ำมันเมล็ดแบล็คเคอแรนท์ (Blackcurrant seed oil), น้ำมันดอกอีฟเวนนิ่งพริมโรส (Evening primrose oil) และน้ำมันดอกคำฝอย (Safflower oil) เป็นต้น
  • น้ำมันปลา (Fish oil) จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าการได้รับน้ำมันปลาร่วมกับ CLA  สามารถลดการสะสมไขมันที่ตับ และภาวะดื้ออินซูลินได้ (Ide, 2005; Fedor, et al., 2012; Fedor, et al., 2013) นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในคนโดยให้รับประทาน CLA ปริมาณ 3 กรัมต่อวันร่วมกับน้ำมันปลาปริมาณ 3 กรัมต่อวันเป็นเวลา 12 สัปดาห์พบว่านอกจากจะช่วยในการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อในคนหนุ่มที่อ้วนแล้ว ยังป้องกันผลกระทบต่อความไวอินซูลินเนื่องจาก CLA ได้อีกด้วย (Sneddon, et al., 2008)
  • เรสเวอราทรอล(สารสกัดจากองุ่นแดง) จากการศึกษาในเนื้อเยื้อมนุษย์พบว่าเรสเวอราทรอลสามารถลดการอักเสบ และภาวะดื้ออินซูลินที่เกิดจาก CLA ได้ (Kenedy, et al., 2009)
  • น้ำมันเมล็ดแฟลก (Flax seed oil) ซึ่งเป็นน้ำมันที่มีกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 อยู่สูงเช่นเดียวกับน้ำมันปลา  ซึ่งจากการศึกษาพบว่าสามารถลดการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน และการสะสมไขมันที่ตับเนื่องจาก CLA ได้ (Kelley, et al., 2009)
  • สเตอรอลจากพืช (Phytosterol) จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าคุณสมบัติในการต้านออกซิเดชั่นของสเตอรอลจากพืชสามารถลดการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันได้ (da Silva Marineli, et al., 2012)
  • กรดโอเลอิก (Oleic acid) จากการศึกษาในเนื้อเยื้อมนุษย์พบว่าสามารถลดการอักเสบที่เกิดจาก CLA ได้ (Reardon, et al., 2012) ซึ่งกรดโอเลอิกจะพบมากในน้ำมันมะกอก และน้ำมันคาโนล่าเป็นต้น
อย่างไรก็ดีอาหารเสริมเพียงเป็นผู้ช่วยในการลดน้ำหนักเท่านั้น แต่ที่สำคัญที่สุดคือวินัยของผู้ลดน้ำหนักที่ต้องควบคุมอาหาร และหมั่นออกกำลังกาย

ที่มา
  • Pariza, M. W. (2004). Perspective on the safety and effectiveness of conjugated linoleic acid. The American journal of clinical nutrition, 79(6), 1132S-1136S.
  • Crumb, D. J., & Vattem, D. A. (2011). Conjugated linoleic acid (CLA)-An overview. International Journal of Applied Research in Natural Products, 4(3), 12-15.
  • Blankson, H., Stakkestad, J. A., Fagertun, H., Thom, E., Wadstein, J., & Gudmundsen, O. (2000). Conjugated linoleic acid reduces body fat mass in overweight and obese humans. The Journal of nutrition, 130(12), 2943-2948.
  • Thom, E., Wadstein, J., & Gudmundsen, O. (2001). Conjugated linoleic acid reduces body fat in healthy exercising humans. Journal of International Medical Research, 29(5), 392-396.
  • Mougios, V., Matsakas, A., Petridou, A., Ring, S., Sagredos, A., Melissopoulou, A., ... & Nikolaidis, M. (2001). Effect of supplementation with conjugated linoleic acid on human serum lipids and body fat. The Journal of nutritional biochemistry, 12(10), 585.
  • Belury, M. A., Mahon, A., & Banni, S. (2003). The conjugated linoleic acid (CLA) isomer, t10c12-CLA, is inversely associated with changes in body weight and serum leptin in subjects with type 2 diabetes mellitus. The Journal of nutrition, 133(1), 257S-260S.
  • Risérus, U., Arner, P., Brismar, K., & Vessby, B. (2002). Treatment with dietary trans10cis12 conjugated linoleic acid causes isomer-specific insulin resistance in obese men with the metabolic syndrome. Diabetes care, 25(9), 1516-1521.
  • Risérus, U., Vessby, B., Arner, P., & Zethelius, B. (2004). Supplementation with trans10cis12-conjugated linoleic acid induces hyperproinsulinaemia in obese men: close association with impaired insulin sensitivity. Diabetologia,47(6), 1016-1019.
  • Risérus, U., Vessby, B., Ärnlöv, J., & Basu, S. (2004). Effects of cis-9, trans-11 conjugated linoleic acid supplementation on insulin sensitivity, lipid peroxidation, and proinflammatory markers in obese men. The American journal of clinical nutrition, 80(2), 279-283.
  • Syvertsen, C., Halse, J., Høivik, H. O., Gaullier, J. M., Nurminiemi, M., Kristiansen, K., ... & Gudmundsen, O. (2007). The effect of 6 months supplementation with conjugated linoleic acid on insulin resistance in overweight and obese. International journal of obesity, 31(7), 1148-1154.
  • Kamphuis, M. M., Lejeune, M. P., Saris, W. H., & Westerterp-Plantenga, M. S. (2003). The effect of conjugated linoleic acid supplementation after weight loss on body weight regain, body composition, and resting metabolic rate in overweight subjects. International journal of obesity, 27(7), 840-847.
  • Gaullier, J. M., Halse, J., Høye, K., Kristiansen, K., Fagertun, H., Vik, H., & Gudmundsen, O. (2004). Conjugated linoleic acid supplementation for 1 y reduces body fat mass in healthy overweight humans. The American journal of clinical nutrition, 79(6), 1118-1125.
  • Gaullier, J. M., Halse, J., Høye, K., Kristiansen, K., Fagertun, H., Vik, H., & Gudmundsen, O. (2005). Supplementation with conjugated linoleic acid for 24 months is well tolerated by and reduces body fat mass in healthy, overweight humans. The Journal of nutrition, 135(4), 778-784.
  • Watras, A. C., Buchholz, A. C., Close, R. N., Zhang, Z., & Schoeller, D. A. (2007). The role of conjugated linoleic acid in reducing body fat and preventing holiday weight gain. International journal of obesity, 31(3), 481-487.
  • Racine, N. M., Watras, A. C., Carrel, A. L., Allen, D. B., McVean, J. J., Clark, R. R., ... & Schoeller, D. A. (2010). Effect of conjugated linoleic acid on body fat accretion in overweight or obese children. The American journal of clinical nutrition, 91(5), 1157-1164.
  • Zambell, K. L., Keim, N. L., Van Loan, M. D., Gale, B., Benito, P., Kelley, D. S., & Nelson, G. J. (2000). Conjugated linoleic acid supplementation in humans: effects on body composition and energy expenditure. Lipids, 35(7), 777-782.
  • Petridou, A., Mougios, V., & Sagredos, A. (2003). Supplementation with CLA: isomer incorporation into serum lipids and effect on body fat of women. Lipids,38(8), 805-811.
  • MalpuechBrugère, C., Verboeketvan de Venne, W. P., Mensink, R. P., Arnal, M. A., Morio, B., Brandolini, M., ... & Beaufrère, B. (2004). Effects of two conjugated linoleic acid isomers on body fat mass in overweight humans.Obesity research, 12(4), 591-598.
  • Larsen, T. M., Toubro, S., Gudmundsen, O., & Astrup, A. (2006). Conjugated linoleic acid supplementation for 1 y does not prevent weight or body fat regain.The American journal of clinical nutrition, 83(3), 606-612.
  • Joseph, S. V., Jacques, H., Plourde, M., Mitchell, P. L., McLeod, R. S., & Jones, P. J. (2011). Conjugated linoleic acid supplementation for 8 weeks does not affect body composition, lipid profile, or safety biomarkers in overweight, hyperlipidemic men. The Journal of nutrition, 141(7), 1286-1291.
  • Basu, S., Smedman, A., & Vessby, B. (2000). Conjugated linoleic acid induces lipid peroxidation in humans. FEBS letters, 468(1), 33.
  • Basu, S., Risérus, U., Turpeinen, A., & Vessby, B. (2000). Conjugated linoleic acid induces lipid peroxidation in men with abdominal obesity. Clinical science (London, England: 1979), 99(6), 511.
  • Tholstrup, T., Raff, M., Straarup, E. M., Lund, P., Basu, S., & Bruun, J. M. (2008). An oil mixture with trans-10, cis-12 conjugated linoleic acid increases markers of inflammation and in vivo lipid peroxidation compared with cis-9, trans-11 conjugated linoleic acid in postmenopausal women. The Journal of nutrition, 138(8), 1445-1451.
  • Vyas, D., Kadegowda, A. K. G., & Erdman, R. A. (2011). Dietary conjugated linoleic Acid and hepatic steatosis: species-specific effects on liver and adipose lipid metabolism and gene expression. Journal of nutrition and metabolism,2012.
  • Ferramosca, A., & Zara, V. (2014). Modulation of hepatic steatosis by dietary fatty acids. World journal of gastroenterology: WJG, 20(7), 1746.
  • Letona, A. Z., Niot, I., Laugerette, F., Athias, A., Monnot, M. C., Portillo, M. P., ... & Poirier, H. (2011). CLA-enriched diet containing t10, c12-CLA alters bile acid homeostasis and increases the risk of cholelithiasis in mice. The Journal of nutrition, 141(8), 1437-1444.
  • Nakanishi, T., Oikawa, D., Koutoku, T., Hirakawa, H., Kido, Y., Tachibana, T., & Furuse, M. (2004). γ-Linolenic acid prevents conjugated linoleic Acid–Induced fatty liver in mice. Nutrition, 20(4), 390-393.
  • Ide, T. (2005). Interaction of fish oil and conjugated linoleic acid in affecting hepatic activity of lipogenic enzymes and gene expression in liver and adipose tissue. Diabetes, 54(2), 412-423.
  • Fedor, D. M., Adkins, Y., Mackey, B. E., & Kelley, D. S. (2012). Docosahexaenoic Acid Prevents Trans-10, Cis-12–Conjugated Linoleic Acid-Induced Nonalcoholic Fatty Liver Disease in Mice by Altering Expression of Hepatic Genes Regulating Fatty Acid Synthesis and Oxidation. Metabolic syndrome and related disorders, 10(3), 175-180.
  • Fedor, D. M., Adkins, Y., Newman, J. W., Mackey, B. E., & Kelley, D. S. (2013). The Effect of Docosahexaenoic Acid on t 10, c 12-Conjugated Linoleic Acid-Induced Changes in Fatty Acid Composition of Mouse Liver, Adipose, and Muscle. Metabolic syndrome and related disorders, 11(1), 63-70.
  • Kennedy, A., Overman, A., LaPoint, K., Hopkins, R., West, T., Chuang, C. C., ... & McIntosh, M. (2009). Conjugated linoleic acid-mediated inflammation and insulin resistance in human adipocytes are attenuated by resveratrol. Journal of lipid research, 50(2), 225-232.
  • Kelley, D. S., Vemuri, M., Adkins, Y., Gill, S. H. S., Fedor, D., & Mackey, B. E. (2009). Flaxseed oil prevents trans-10, cis-12-conjugated linoleic acid-induced insulin resistance in mice. British Journal of Nutrition, 101, 701-708.
  • da Silva Marineli, R., Furlan, C. P. B., & Maróstica, M. R. (2012). Antioxidant effects of the combination of conjugated linoleic acid and phytosterol supplementation in Sprague–Dawley rats. Food Research International, 49(1), 487-493.
  • Reardon, M., Gobern, S., Martinez, K., Shen, W., Reid, T., & McIntosh, M. (2012). Oleic acid attenuates trans-10, cis-12 conjugated linoleic acid-mediated inflammatory gene expression in human adipocytes. Lipids, 47(11), 1043-1051.
  • Sneddon, A. A., Tsofliou, F., Fyfe, C. L., Matheson, I., Jackson, D. M., Horgan, G., ... & Williams, L. M. (2008). Effect of a Conjugated Linoleic Acid and ω3 Fatty Acid Mixture on Body Composition and Adiponectin. Obesity, 16(5), 1019-1024.
  •