วันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Flax Seed Food for Woman

เมล็ดแฟลกซ์ยอดอาหารของผู้หญิง


แฟลกซ์ เป็นพืชที่มีการเพาะปลูกเพื่อนำไปสกัดน้ำมัน หรือ เยื้อใย(ทำผ้าลินิน) แคนาดาเป็นประเทศที่มีการปลูกแฟลกซ์มากที่สุด  สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพเมล็ดแฟลกซ์จะเป็นที่รู้จักในการเป็นแหล่งของกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ชื่อว่ากรดอัลฟาไลโนเลนิก (Alpha Linolenic Acid, ALA) และพฤษเคมีที่ชื่อว่า ลิกแนน (Lignan) ซึ่งคุณสมบัติเป็นไฟโตเอสโตรเจน


ลิกแนนที่พบมากในเมล็ดแฟลกซ์คือ ซีโคไอโซลาริซิเรซินอล ไดไกลโคไซด์ (Secoisolariciresinol diglycoside, SDG) ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็น เอนเทอโรไดออล (Enterodiol) และ เอนเทอโรแลกโตน (Enterolactone) โดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ของมนุษย์  ซึ่งสารทั้งสองนี้มีคุณสมบัติเป็น “ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen)


ทั้งเอนเทอโรไดออล และ เอนเทอรโรแลกโตนจะมีฤทธิ์อ่อนๆของเอสโตรเจน และก็มีฤทธิ์อ่อนๆในการต้านการทำงานของเอสโตรเจนด้วย  ซึ่งคุณสมบัติในการต้านฤทธิ์ของเอสโตรเจนนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันการเกิดมะเร็งหรือเนื้องอกที่มีสาเหตุจากฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งได้แก่ มะเร็งเต้านมในผู้หญิง และ มะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย

แฟลกซ์ลิกแนนดียังไง

ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรค

ลิกแนนที่พบในเมล็ดแฟลกซ์ รวมถึงอนุพันธ์ต่างๆ และเมตาบอไลท์ของมันเมื่อเรารับประทานเข้าไปแล้ว  มีคุณสบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีความข้องเกี่ยวกับการลดระดับคลอเลสเตอรอลในเลือด ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ และเบาหวาน

ป้องกัน และต้านมะเร็งมะเร็งเต้านม

สาเหตุหนึ่งของมะเร็งเต้านมจะเกิดจากการที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป หรือเซลล์ในเนื้อเยื้อเต้านมมีความไวต่อฮอร์โมนมากไป ทำให้เนื้อเยื้อเต้านมที่มีความไวต่อฮอร์โมนนี้เกิดการแบ่งตัว และเพิ่มจำนวนผิดปรกติจนกลายเป็นเนื้องอก และก่อให้เกิดมะเร็ง


ลิกแนนจากแฟลกซ์เป็นไฟโตเอสโตรเจนจึงมีคุณสมบัติทั้ง “เสริม” และ “ต้าน” การทำงานของเอสโตรเจน  หลายคนอาจจะงง?ว่าถ้ามันเสริมแล้วยิ่งไม่ไปเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งหรือ  ในเมื่อเอสโตรเจนถือว่าเป็นสาเหตุหนึ่งของมะเร็งเต้านม  และยังมีบางการศึกษาที่พบว่าไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลืองซึ่งก็เป็นไฟโตเอสโตรเจนเช่นกันสามารถแสดงคุณสมบัติในการเสริมการทำงานของเอสโตรเจนในผู้เป็นมะเร็งเต้านมได้

มีการศึกษาที่พบว่าเมล็ดแฟลก, เอนเทอโรไดออล และเอนเทอโรแลกโตน  จะไม่แสดงคุณสมบัติของเอสโตรเจนในผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านม แต่จะแสดงคุณสมบัติในการต้านฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งจะไปลดการเพิ่มจำนวนของเซลล์เนื้องอก และเพิ่มการตายของเซลล์มะเร็ง  โดยพบว่าผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมที่รับประทานเมล็กแฟลกซ์เสริมจะมีการโตของเนื้องอกน้อยลง และมีการตายของเซลล์มะเร็งเพิ่มขึ้น

อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นเมล็ดแฟลกซ์มีการปลูกกันมากในประเทศแคนาดา  จึงได้มีการศึกษาในแคนาดาแล้วพบว่าการบริโภคเมล็ดแฟลกซ์สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมได้ซึ่งผลจากการศึกษานี้ทำให้เห็นแนวทางในการป้องกันอุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งเต้านม

ปรับสมดุลฮอร์โมนเพศ

ฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนที่มีประโยชน์ต่อกระบวนการสร้างกระดูก ระบบการทำงานของหัวใจและสมอง  สุขภาพผิว  และมะเร็งบางชนิด เช่นมะเร็งลำไส้ใหญ่  แต่ก็ก่อให้เกิดโทษในเนื้อเยื้อเต้านม และเยื้อบุมดลูก(endometrium) ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม และมะเร็งเยื้อบุโพรงมดลูก

ระดับการผลิตฮอร์โมนเพศในผู้หญิงนั้นแต่ละคน แต่ละวัยจะมีความแตกต่างกัน บ้างมาก บ้างน้อย ทำให้บางช่วงเกิดความไม่สมดุล และส่งผลต่อทั้งสุขภาพร่างกาย และจิตใจ ปัจจัยที่ผลต่อระดับการผลิตฮอร์โมนเพศได้แก่ อายุ ความเจ็บป่วย ความเครียด ปัจจัยแวดล้อม และพันธุกรรม

ลิกแนนจากแฟลกซ์มีคุณสมบัติเป็นไฟโตเอสโตรเจน ซึ่งสามารถแสดงคุณสมบัติทั้งเสริม และต้านฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ตามสภาพความเหมะสมของร่างกาย

มีส่วนช่วยป้องกันการอ้วน

ลิกแนนจากแฟลกมีผลต่อการแสดงออกของยีนที่จะไปลดการสะสมไขมันในเนื้อเยื้อในหนูทดลองที่ให้กินอาหารที่มี
ปริมาณไขมันสูง  และยังมีการศึกษาในแคนาดาที่พบว่าผู้หญิงที่มีระดับเอนเทอโรแลกโตนสูงจากการบริโภคลิกแนน  จะมีดัชนีมวลร่างกาย(BMI) และมวลไขมันต่ำกว่าผู้หญิงที่มีระดับต่ำ  และยังมีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดอีกด้วย


บรรเทาอาการวัยทอง
มีการศึกษาในผู้หญิงวัยทองที่เป็นโรคเบาหวานเพื่อจะดูถึงประสิทธิภาพในการลดดัชนีมวลกาย และระดับน้ำตาลในเลือดของการรับประทานเมล็ดแฟลกซ์  ซึ่งผลปรากฏว่านอกจากดัชนีมวลกาย และระดับน้ำตาลจะลดลงแล้ว  อาการวัยทองซึ่งได้แก่ ร้อนวูบวาบ ภาวะซึมเศร้า นอนไม่หลับ เหงื่อออกตอนกลางคืน และความรู้สึกปวดแสบปวดร้อน ก็บรรเทาลงด้วย

ดีต่อกระดูก
มีการศึกษาในหนูทดลองพบว่าลิกแนนจากแฟลกซ์สามารถป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกเนื่องจากภาวะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนได้

ลดการเกิดสิว
ถึงแม้ว่าสาเหตุในการเกิดสิวยังไม่เป็นที่สรุปชัดเจน  แต่ก็พอจะกล่าวได้ว่า “สมดุลของฮอร์โมน” และ “เชื้อแบคทีเรีย” ค่อนข้างมีความข้องเกี่ยวกับการเกิดสิว  โดยฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญคือ ฮอร์โมนเอนโดรเจน(ฮอร์โมนเพศชาย) เนื่องจากฮอร์โมนนี้จะกระตุ้นให้มีการเพิ่มการผลิตซีบั่ม(Sebum)ในชั้นผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณหน้า หน้าอก และหลัง

ไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (Dihydrotestosterone, DHT) เป็น ฮอร์โมนเอนโดรเจนชนิดหนึ่ง และมีความเกี่ยวข้องกับเกิดสิว  การได้รับลิกแนนจากแฟลกซ์สามารถลดการผลิต DHT จึงอาจช่วยในการลดการเกิดสิวได้

และด้วยคุณสมบัตินี้จึงเป็นประโยชน์ต่อท่านชายที่มีฮอร์โมนเพศชายมากเกินไปจนมีความเสี่ยงในการเป็นต่อมลูกหมากโต หรือ มะเร็งต่อมลูกหมาก รวมถึงผมร่วงเนื่องจากภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล  ซึ่งลิกแนนจากแฟลกจะสามารถปรับระดับฮอร์โมนเพศชายให้สมดุลจึงบรรเทาปัญหาเหล่านี้ได้

ที่มา

Touré, A., & Xueming, X. (2010). Flaxseed Lignans: Source, Biosynthesis, Metabolism, Antioxidant Activity, BioActive Components, and Health Benefits.Comprehensive reviews in food science and food safety, 9(3), 261-269.
Wang, L. Q. (2002). Mammalian phytoestrogens: enterodiol and enterolactone.Journal of Chromatography B, 777(1), 289-309.
Jungeström, M. B., Thompson, L. U., & Dabrosin, C. (2007). Flaxseed and its lignans inhibit estradiol-induced growth, angiogenesis, and secretion of vascular endothelial growth factor in human breast cancer xenografts in vivo. Clinical Cancer Research, 13(3), 1061-1067.
Lowcock, E. C., Cotterchio, M., & Boucher, B. A. (2013). Consumption of flaxseed, a rich source of lignans, is associated with reduced breast cancer risk. Cancer Causes & Control, 24(4), 813-816.
Gruber, C. J., Tschugguel, W., Schneeberger, C., & Huber, J. C. (2002). Production and actions of estrogens. New England Journal of Medicine, 346(5), 340-352.
Fukumitsu, S., Aida, K., Ueno, N., Ozawa, S., Takahashi, Y., & Kobori, M. (2008). Flaxseed lignan attenuates high-fat diet-induced fat accumulation and induces adiponectin expression in mice. British journal of nutrition, 100(03), 669-676.
Morisset, A. S., Lemieux, S., Veilleux, A., Bergeron, J., John Weisnagel, S., & Tchernof, A. (2009). Impact of a lignan-rich diet on adiposity and insulin sensitivity in post-menopausal women. British journal of nutrition, 102(02), 195-200.

Kapoor, S., Sachdeva, R., & Kochhar, A. (2011). Effect of Flaxseed Supplementation on body mass Index and Blood Glucose Levels of Menopausal Diabetic Females. Journal of Research, 48(1and2), 77-83.
Nahla, E., Thabet, H. A., & Ahmed, H. (2013). The effect of supplementation with flaxseed and its extract on bone health. Nature & Science, 11(5).
Cappel, M., Mauger, D., & Thiboutot, D. (2005). Correlation between serum levels of insulin-like growth factor 1, dehydroepiandrosterone sulfate, and dihydrotestosterone and acne lesion counts in adult women. Archives of dermatology, 141(3), 333-338.
Evans, B. A. J., Griffiths, K., & Morton, M. S. (1995). Inhibition of 5α-reductase in genital skin fibroblasts and prostate tissue by dietary lignans and isoflavonoids. Journal of Endocrinology, 147(2), 295-302.
Bisson, J. F., Hidalgo, S., Simons, R., & Verbruggen, M. (2014). Preventive Effects of Lignan Extract from Flax Hulls on Experimentally Induced Benign Prostate Hyperplasia. Journal of medicinal food.

วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ชาเขียว กับ การกำจัดสารพิษ


ชาเป็นเครื่องดื่มที่มีการบริโภคมากเป็นอันดับสองรองจากน้ำเปล่า  ชาเชียวคือชาที่ไม่ผ่านกระบวนการหมักทำให้ใบชายังคงมีสีเขียวอยู่ และยังคงมีปริมาณคาทิชินชนิดอีจีซีจี (EGCG) อยู่สูงซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติในการต้านออกซิเดชั่น  ชาวจีนโบราณได้ทราบถึงประโยชน์ของการรับประทานชาเขียวและได้มีการนำชาเขียวมาใช้ในการแพทย์แผนโบราณสำหรับอาการปวด ระบบย่อยอาหาร อาการซึมเศร้า การขจัดสารพิษ ฟื้นฟูกำลัง และดูแลสุขภาพทั่วไปเพื่ออายุที่ยืนยาว(1)

ปัจจุบันคุณประโยชน์ของชาเขียว หรือสารสกัดของชาเขียวได้เป็นที่สนใจมากขึ้นเนื่องจากมีการศึกษาวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง และโรคหัวใจ รวมทั้งคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ, ต้านอักเสบ, ต้านแบคทีเรีย, ต้านไวรัส, ปกป้องสมอง, เพิ่มการเผาผลาญพลังงาน และอื่นๆ(2)

คุณสมบัติเด่นของชาเขียวคือการต้านออกซิเดชั่น และอนุมูลอิสระ ซึ่งคุณสมบัตินี้สามารถช่วยร่างกายกำจัดสิ่งที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และยังช่วยปกป้องให้การทำงานต่างๆของร่างกายให้เป็นไปอย่างปรกติ  การกำจัดสารพิษก็เป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่ถูกออกแบบมาเพื่อกำจัดอันตรายต่อร่างกายซึ่งแน่นอนว่าด้วยคุณสมบัติของชาเขียวนั้นสามารถทำให้มันมีส่วนช่วยในระบบกำจัดสารพิษของเราได้
Photo CR: http://www.myhealthtips.in/2013/06/
amazing-health-benefits-of-green-tea.html

ชาเขียวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดสารพิษของตับ

เพิ่มประสิทธิภาพของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการต้านอนุมูลอิสระ(เช่น กลูต้าไธโอนเปอร์ออกซิเดส) และการกำจัดพิษขั้นที่ 2 (เช่น กูลต้าไธโอน เอส ทรานเฟอเรส)ได้(3,4)  นอกจากนี้เคยมีการศึกษาในอาสาสมัครสุขภาพดีที่ให้รับประทานคาทิชินจากชาเขียวเทียบเท่ากับปริมาณการดื่มชาเขียว 8-16 ถ้วยเป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าหลังจากการได้รับสารสกัดแล้วอาสาสมัครมีปริมาณเอนไซม์กูลต้าไธโอนเอสทรานเฟอเรส หรือ GST สูงกว่าก่อนได้รับสารสกัด รวมถึงกิจกรรมการทำงานของเอนไซม์ที่เพิ่มขึ้นด้วย(5)

ชาเขียวช่วยลดความเป็นพิษของสารพิษต่างๆต่อร่างกาย

อะฟลาทอกซิน
อัลฟาทอกซินเป็นสารพิษที่ผลิตจากเชื้อรา Aspergilus flavus และ Aspergilus parasiticus ซึ่งเป็นเชื้อราที่เจริญได้ดีในภูมิอากาศร้อนชื้นอย่างเช่นประเทศเรา  และมักพบปนเปื้อนในอาหารประเภทธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง สมุนไพร และเครื่องเทศเป็นต้น  อัลฟาทอกซินถูกจัดให้เป็นสารก่อมะเร็งต่อมนุษย์ในกลุ่มที่ 1 ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดโรคมะเร็งตับ
มีการศึกษาในพื้นที่ประชากรจีนที่มีอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งตับสูงซึ่งเป็นไปได้ว่าพฤติกรรมความเป็นอยู่และอาหารการกินมีผลต่อการเกิดโรคมะเร็งตับ  โดยจุดประสงค์การศึกษาเพื่อต้องการทราบประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดมะเร็งตับของโพลีฟีอนอลจากชาเขียว (green tea polyphenol)  โดยแบ่งกลุ่มให้มีกลุ่มตัวอย่างหลอก และกลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากชาเขียวในปริมาณต่างๆกัน พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากชาเขียวจะมีปริมาณอนุพันธ์ของอะฟลาทอกซินในเลือด และปัสสาวะต่ำกว่ากลุ่มตัวอย่งหลอก  ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโพลีฟีนอลจากชาเขียวสามารถลดการเมตาบอลิซึมของสารอะฟลาทอกซินได้(6)

สารก่อมะเร็งจากการปรุงอาหาร
เฮเทอโรไซคลิกเอมีน คือสารก่อมะเร็งที่เกิดจากสารประกอบโปรตีนผ่านความร้อนสูง  มีการศึกษาหลายการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าสารโพลีฟีนอลในชาเขียวสามารถลดความเป็นพิษของสารนี้ได้ เช่นคาทิชินในชาเขียวซึงได้แก่ ECG และ EGCG สามารถยับยั้งการกลายพันธุ์ของเซลล์แบคทีเรียที่ถูกกระตุ้นด้วยสารก่อมะเร็งกลุ่ม HCA ที่มีชื่อว่า N-hydroxy-IQ  ด้วยความสามารถในการจับอนุมูลอิสระ และการยับยั้งเอนไซม์ที่เปลี่ยน N-hydroxy-IQ ให้อยู่ในรูปไวต่อปฏิกิริยาได้(7)

สารก่อมะเร็งอื่นๆ
โพลีฟีนอลในชาเขียวสามารถยับยั้งการกระตุ้นของสาร NmethylNnitrosourea ให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่  และลดการเจริญของเนื้องอกที่จะพัฒนาไปเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะที่ถูกกระตุ้นด้วยสารก่อมะเร็งกลุ่มไนโตรซามีน  N-butyl-(-4-hydroxybutyl) nitrosamine (BBN) ได้ในหนูทดลอง(8,9)
ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งจากสารเคมีที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม เช่น PCP (Pentachlorophenol)10

ยาปราบแมลง และยากำจัดศัตรูพืช
ลดความเป็นพิษต่อตับและไตจากยากำจัดแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตที่มีชื่อว่า fenitrothion ซึ่งเป็นยาที่นิยมใช้ในการกำจัดศัตรูข้าว(11)  หรือความเป็นพิษต่อตับของยากำจัดตัวอ่อนหรือหนอนของแมลง เช่น  cyromazine และ chlorpyrifos(12) ได้ในหนูทดลอง

รังสี
รังสีคือพลังงานที่ปล่อยออกมาจากแหล่งกำเนิดต่างๆ เช่น รังสียูวีจากดวงอาทิตย์, รังสีเอกซ์จากหลอดเอ็กซ์เรย์ และรังสีแกมม่าจากธาตุกัมมันตรังสีเป็นต้น  รังสีมีคุณสมบัติในการทะลุทะลวงผ่านเนื้อเยื้อต่างๆได้ดี และกระตุ้นให้เกิดการแตกตัวเป็นอิอนได้ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะทำลายเซลล์ต่างๆภายในร่างกายเราได้
มีการศึกษาพบว่าโพลีฟีนอลในชาเขียวมีคุณสมบัติในการต้านการทำลายเซลล์จากรังสีต่างๆได้ เช่นรังสียูวี(13,14), รังสีแกมม่า(15,16) และ รังสีเอ็กซื(17)  ได้

โลหะหนัก
เมื่อเราได้รับโลหะหนัก มันจะเข้าไปลดหรือยับยั้งการทำงานของเอนไซม์บางเอนไซม์ภายในร่างกายเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการการต้านออกซิเดชั่นดังเช่นการศึกษาในหนูทดลองที่ให้ได้รับโลหะหนักจากตะกั่วแล้วพบว่าเนื้อเยื้อตับมีการทำงานของเอนไซม์ SOD และ GST ลดลง รวมถึงการลดลงของระดับของกูลต้าไธโอน (GSH) ด้วย  ซึ่งการลดลงนี้ส่งผลให้เนื้อเยื้อตับถูกทำลายซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นพิษต่อตับของโลหะหนักตะกั่ว  และเมื่อให้สารสกัดจากชาเขียวพร้อมกับโลหะหนักตะกั่วพบว่าการสะสมของตะกั่วในเนื้อเยื้อตับลดลง, การทำงานของเอนไซม์ SOD และ GST เพิ่มขึ้นกว่าหนูที่ได้รับโลหะหนักตะกั่วเพียงอย่างเดียวทั้งเนื่องจากคุณสมบัติในการต้านออกซิเดชั่นของชาเขียว18

มลภาวะ
มลภาวะทางอากาศภายนอกบ้าน เช่น ไอเสียจากรถยนต์, โรงงานอุตสาหกรรม และการเผาไหม้ต่างๆ จัดเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์19   ด้วยคุณสมบัติในการต้านออกซิเดชั่น และป้องกันมะเร็งของชาเขียวจึงมีส่วนช่วยในการป้องกันความเป็นพิษจากมละภาวะเหล่านี้ได้

ชาเขียวช่วยปกป้องอวัยวะกำจัดสารพิษอื่นๆ

นอกจากตับ แล้วไตก็ถือเป็นอวัยที่สำคัญในการกำจัดสารพิษ  สารสกัดจากชาเชียวมีคุณสมบัติในการลดการเกิดก้อนนิ่วในไตทั้งการศึกษาในหลอดทดลอง และสัตว์ทดลอง20,21 

การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันก็ถือว่าสำคัญในการปกป้องเหล่าจากสิ่งแปลกปลอม หรือสารพิษต่างๆ  สารสกัดจากชาเขียวมีส่วนช่วยให้การทำงานของภูมิคุ้มกันในร่างกายดีขึ้น22

ที่มา

  1. Cabrera, C., Artacho, R., & Giménez, R. (2006). Beneficial effects of green tea—a review. Journal of the American College of Nutrition, 25(2), 79-99.
  2. Chacko, S. M., Thambi, P. T., Kuttan, R., & Nishigaki, I. (2010). Beneficial effects of green tea: a literature review. Chin med, 5(13), 1-9.
  3. Khan, S. G., Katiyar, S. K., Agarwal, R., & Mukhtar, H. (1992). Enhancement of antioxidant and phase II enzymes by oral feeding of green tea polyphenols in drinking water to SKH-1 hairless mice: possible role in cancer chemoprevention.Cancer Research, 52(14), 4050-4052.
  4. Na, H. K., & Surh, Y. J. (2008). Modulation of Nrf2-mediated antioxidant and detoxifying enzyme induction by the green tea polyphenol EGCG. Food and Chemical Toxicology, 46(4), 1271-1278.
  5. Chow, H. H. S., Hakim, I. A., Vining, D. R., Crowell, J. A., Tome, M. E., Ranger-Moore, J., ... & Alberts, D. S. (2007). Modulation of human glutathione s-transferases by polyphenon e intervention. Cancer Epidemiology Biomarkers & Prevention, 16(8), 1662-1666.
  6. Tang, L., Tang, M., Xu, L., Luo, H., Huang, T., Yu, J., ... & Wang, J. S. (2008). Modulation of aflatoxin biomarkers in human blood and urine by green tea polyphenols intervention. Carcinogenesis, 29(2), 411-417.
  7. Hernaez, J., Xu, M., & Dashwood, R. (1997). Effects of tea and chlorophyllin on the mutagenicity of N-hydroxy-IQ: studies of enzyme inhibition, molecular complex formation, and degradation/scavenging of the active metabolites.Environmental and molecular mutagenesis, 30(4), 468.
  8. Narisawa, T., & Fukaura, Y. (1993). A very low dose of green tea polyphenols in drinking water prevents NmethylNnitrosoureainduced colon carcinogenesis in F344 rats. Cancer Science, 84(10), 1007-1009.
  9. Sagara, Y., Miyata, Y., Nomata, K., Hayashi, T., & Kanetake, H. (2010). Green tea polyphenol suppresses tumor invasion and angiogenesis in N-butyl-(-4-hydroxybutyl) nitrosamine-induced bladder cancer. Cancer epidemiology, 34(3), 350-354.
  10. Umemura, T., Kai, S., Hasegawa, R., Kanki, K., Kitamura, Y., Nishikawa, A., & Hirose, M. (2003). Prevention of dual promoting effects of pentachlorophenol, an environmental pollutant, on diethylnitrosamine-induced hepato-and cholangiocarcinogenesis in mice by green tea infusion. Carcinogenesis, 24(6), 1105-1109.
  11. Elhalwagy, M. E., Darwish, N. S., & Zaher, E. M. (2008). Prophylactic effect of green tea polyphenols against liver and kidney injury induced by fenitrothion insecticide. Pesticide biochemistry and physiology, 91(2), 81-89.
  12. HEIKAL, T. M., MOSSA, A. T. H., RASOUL, M. A. A., & MAREI, G. I. K. (2013). The ameliorating effects of green tea extract against cyromazine and chlorpyrifos induced liver toxicity in male rats. changes, 5, 9.
  13. Morley, N., Clifford, T., Salter, L., Campbell, S., Gould, D., & Curnow, A. (2005). The green tea polyphenol (−)epigallocatechin gallate and green tea can protect human cellular DNA from ultraviolet and visible radiationinduced damage. Photodermatology, photoimmunology & photomedicine, 21(1), 15-22.
  14. Heinrich, U., Moore, C. E., De Spirt, S., Tronnier, H., & Stahl, W. (2011). Green tea polyphenols provide photoprotection, increase microcirculation, and modulate skin properties of women. The Journal of nutrition, 141(6), 1202-1208.
  15. Nada, A. S., Amin, N. E., Aziz, M. M., Ain-Shoka, A., & Abdel-Latif, H. A. (2012). Green Tea attenuates some biochemical disorders induced by γ-irradiation in male rats.
  16. Davari, H., Haddad, F., Moghimi, A., Rahimi, M. F., & Ghavamnasiri, M. R. (2012). Study of radioprotective effect of green tea against gamma irradiation using micronucleus assay on binucleated human lymphocytes. Iranian journal of basic medical sciences, 15(5), 1026.
  17. Zhu, W., Xu, J., Ge, Y., Cao, H., Ge, X., Luo, J., ... & Cao, J. (2014). Epigallocatechin-3-gallate (EGCG) protects skin cells from ionizing radiation via heme oxygenase-1 (HO-1) overexpression. Journal of Radiation Research, rru047.
  18. Mehana, E. E., Meki, A. R., & Fazili, K. M. (2012). Ameliorated effects of green tea extract on lead induced liver toxicity in rats. Experimental and toxicologic pathology, 64(4), 291-295.
  19. IARC: outdoor air pollution a leading environmental cause of cancer deaths. IARC, 2013: press release (17-10-2013), (PDF), 78 KB
  20. Itoh, Y., Yasui, T., Okada, A., Tozawa, K., Hayashi, Y., & Kohri, K. (2005). Preventive effects of green tea on renal stone formation and the role of oxidative stress in nephrolithiasis. The Journal of urology, 173(1), 271-275.
  21.  Jeong, B. C., Kim, B. S., Kim, J. I., & Kim, H. H. (2006). Effects of green tea on urinary stone formation: an in vivo and in vitro study. Journal of endourology,20(5), 356-361.
  22. Bukowski, J. F. (2013). Role of Green Tea Polyphenols in Strengthening the Immune System. Green Tea Polyphenols: Nutraceuticals of Modern Life, 223.

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เวย์โปรตีน แหล่งโปรตีนที่ดีสำหรับการลดน้ำหนัก และผู้ป่วยเบาหวาน


เวย์โปรตีน เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่พบในนม และชีส  ซึ่งเป็นโปรตีนที่รู้จักดีในกลุ่มผู้ที่ต้องการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ  แต่แท้จริงแล้วเวย์โปรตีนจัดเป็นโปรตีนที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่าการเป็นแค่สารอาหารโปรตีนธรรมดา  โดยเฉพาะเมื่อเร็วๆนี้ มีงานวิจัยที่ได้กล่าวถึงคุณสมบัติของเวย์โปรตีนว่าอาจสามารถป้องกันการเกิดโรคเบาหวานในกลุ่มคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเผาผลาญอาหาร(Metabolic Disease) และให้ประโยชน์ในด้านสุขภาพสำหรับคนอ้วนอีกด้วย

โดยปรกติแล้วคนอ้วนมักมีปัญหาด้านสุขภาพ และมีความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ เช่นโรคหัวใจ และโรคเบาหวานได้มากกว่าคนที่มีน้ำหนักในเกณฑ์ปรกติ  ก่อนหน้านี้(ปีค.ศ. 2010)เคยมีงานวิจัยที่กล่าวถึงคุณสมบัติของเวย์โปรตีนว่าสามารถลดระดับไขมันในเลือด และเพิ่มระดับอินซูลินซึ่งมีหน้าที่ในการลดระดับน้ำตาลในเลือดในกลุ่มคนอ้วนได้  

ล่าสุดปีค.ศ. 2014ได้มีการศึกษาในกลุ่มคนอ้วนเช่นกันแล้วพบว่าเวย์โปรตีนมีคุณสมบัติที่ทำให้อาหารอยู่ในกระเพาะนานขึ้น(gastric emptying) และแน่นอนเช่นเดียวกับการศึกษาก่อนหน้านี้ในกลุ่มที่รับประทานเวย์โปรตีนเสริมจะมีระดับกรดไขมันในเลือดภายหลังมื้ออาหารในระดับต่ำแต่ระดับกรดอะมิโนในเลือดที่มีคุณสมบัติในการกระตุ้นการหลั่งอินซูลินจะเพิ่มขึ้น

(Photo CR: www.diabetes.co.uk)



ที่มา


Pal, S., Ellis, V., & Dhaliwal, S. (2010). Effects of whey protein isolate on body composition, lipids, insulin and glucose in overweight and obese individuals.British journal of nutrition, 104(05), 716-723.

Stanstrup, J., Schou, S. S., Holmer-Jensen, J., Hermansen, K., & Dragsted, L. O. (2014). Whey protein delays gastric emptying and suppresses plasma fatty acids and their metabolites compared to casein, gluten and fish protein. Journal of proteome research.

http://www.diabetes.co.uk/news/2014/may/whey-protein-linked-to-lower-diabetes-risk-in-obese-adults-94407038.html

วันอังคารที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2557

แอสต้าแซนทิน รงค์วัตถุสีแดงเพื่อสุขภาพ


แอสต้าแซนทิน(Astaxanthin) 
pic from http://drleonardcoldwell.com/


รงค์วัตถุสีแดงเข้มที่อยู่ในกลุ่มแซนโทฟิล(Xanthophyll) ซึ่งพบในสัตว์ทะเลที่มีรงควัตถุสีส้มแดง เช่น ปลาแซลมอน, ปู และกุ้งเป็นต้น โดยสัตว์เหล่านี้ไม่ได้ผลิตแอสต้าแซนทินเอง แต่ได้มาจากอาหารที่กินคือสาหร่าย และแพลงตอนที่ผลิตแอสต้าแซนทินได้ เช่นเดียวกับนกฟลามิงโกสีชมพูของมันคือแอสต้าแซนทินที่มาจากอาหารของมันคืออาร์ทีเมีย หรือ ไรน้ำเค็ม และสาหร่าย

Haematococcus pluvialis สาหร่ายสีเขียวซึ่งถือว่าเป็นแหล่งแอสต้าแซนทินในปริมาณมากที่สุดที่พบในธรรมชาติ โดยสาหร่ายชนิดนี้จะผลิตแอสต้าแซนทินเมื่อมีสิ่งแวดล้อมที่กดดันมากระตุ้น เช่น การขาดอาหาร, ระดับความเค็มในน้ำมากเกินไป, อุณหภูมิอากาศที่ร้อนจัด และการได้รับรังสียูวีจากแสงอาทิตย์






สาหร่ายผลิตสารแอสต้าแซนทินออกมาเพื่อต้านความกดดันต่างๆจากสิ่งแวดล้อม และทำให้มันสามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ในภาวะสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของประโยชน์ของแอสต้าแซนทินซึ่งประโยชน์ที่เด่นชัดมากคือ การต้านออกซิเดชั่น

ประโยชน์ที่เป็นจุดเด่นของแอสต้าแซนทิน


  • มีความสามารถในการต้านออกซิเดชั่นสูงมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งการต้านออกซิเดชั่นที่เกิดจากรังสียูวีที่ทำให้ออกซิเจนกลายเป็นออกซิเจนอะตอมอิเล็กตรอนเดี่ยว(Singlet Oxygen) โดย แอสต้าแซนทินมีประสิทธิภาพในการต้าน singlet oxygen ทั้งในสารละลายน้ำและน้ำมันได้มากกว่าสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นๆหลายตัวได้แก่ วิตามินอี เบ้ต้าแคโรทีน แคโรทีนอยด์อื่นๆ โพลีฟีนอล วิตามินซี โคเอ็นไซม์คิวเท็น และอัลฟาไลโปอิกเป็นต้น







กำจัดอนุมูลเปอร์ออกซิล อนุมูลไฮดรอกซิล และกรดไฮโปคลอรัส(เกิดจากการกำจัดสิ่งแปลกปลอมของเม็ดเลือดขาว)ได้ดีกว่าวิตามินอี ลูทีน ไลโคปีน และเบต้าแคโรทีนและสามารถยับยั้งการออกซิเดชั่นของไขมันที่เกิดจากอนุมูลเปอร์ออกซิลได้มากกว่าวิตามินอี 100 เท่า

  • มีโครงสร้างทั้งในส่วนที่ละลายน้ำและน้ำมันจึงสามารถปกป้องเซลล์ตั้งแต่เยื้อหุ้มเซลล์ชั้นนอก(น้ำ) จนไปถึงเยื้อหุ้มเซลล์ชั้นใน(ไขมัน) และยังมีส่วนช่วยให้ร่างกายดูดซึมได้ดีกว่ากลุ่มแคโรทีนซึ่งมีแต่ส่วนละลายน้ำมันอย่างเดียว เช่นเบต้าแคโรทีน และไลโคปีน




  • ไม่เป็นโปรออกซิเดนท์(Pro oxidant) ซึ่งโปร-ออกซิเดนท์คือ สารที่เมื่อไปยับยั้งการเกิดออกซิเดชั่นแล้วตัวเองกลายเป็นตัวออกซิไดซ์หรืออนุมูลอิสระซะเองถ้าไม่มีสารอื่นมาทำให้กลับมาเป็นสภาพเดิมจะทำให้เกิดภาวะเครียดออกซิเดชั่นภายในร่างกาย ตัวอย่างสารต้านอนุมูลอิสระที่มีคุณสมบัติเป็นโปรออกซิเดนท์ได้แก่ วิตามินซี, วิตามินอี และเบต้าแคโรทีน เป็นต้น ซึ่งการได้รับวิตามินซี, วิตามินอี และเบต้าแคโรทีนตัวใดตัวหนึ่งในปริมาณมากๆอาจก่อให้เกิดผลเสียในร่างกายได้

  • เพิ่มความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระภายในร่างกาย(Endogenous antioxidant defense)โดยกระตุ้นการแสดงออกของเอนไซม์ภายในร่างกายที่ทำหน้าที่ต้านออกซิเดชั่น

  • ป้องกันโรคเนื่องจากภาวะเมตาบอลิซึม(metabolic syndrome) โรคทางเมตาบอลิซึม คือโรคที่ร่างกายเรามีกระบวนการเมตาบอลิซึมที่ผิดไป (บ้านเราอาจเรียกว่าโรคอ้วนลงพุง) ร่างกายผลิตอนุมูลอิสระมากผิดปรกติ มีการอักเสบเพิ่มมากขึ้น เกิดภาวะดื้ออินซูลินทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปรกติ และมีการสะสมของไขมันตามส่วนต่างๆ เช่นหลอดเลือด ตับ ซึ่งจะก่อให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคไขมันพอกตับ และโรคเบาหวานเป็นต้น   ภาวะเครียดออกซิเดชั่นเป็นรากฐานสาเหตุของการเกิดโรคทางเมตาบอลิซึม เนื่องจากแอสต้าแซนทินเป็นสารที่มีความสามารถในการต้านออกซิเดชั่นสูงจึงอาจมีส่วนช่วยในการป้องกัน หรือบรรเทาโรคนี้ได้

  • ลดริ้วรอยแห่งวัย ดูแลสุขภาพผิว และปกป้องผิวจากแสงแดด โดยได้มีการศึกษาทางคลีนิคโดยให้ผู้ทดสอบรับประทานแอสต้าแซนทินในปริมาณ 2-6 มก. ต่อวันจะทำให้สุขภาพผิวดีขึ้น และลดริ้วรอยต่างๆได้
    pic from www.bioreal.se

  • ดูแลสุขภาพตา โดยจากการศึกษาพบว่าการรับประทานแอสต้าแซนทิน4-6 มก. ต่อวันสามารถป้องกันอาการล้าของตา (โรค Asthenopia) อาการล้าของตาจะมีอาการปวดรอบดวงตา ปวดศรีษะ มองเห็นภาพซ้อน ซึ่งอาการนี้มักเกิดจากการใช้สายตาจากการอ่านหนังสือ หรือใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน โดยแอสต้าแซนทินจะช่วยให้ตาเราปรับโฟกัส(accommodation) ในการรับภาพได้ดีขึ้นจึงช่วยลดอาการล้าของตา และยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่มาเลี้ยงดวงตา และลดอาการอักเสบที่เกิดขึ้นที่ดวงตาได้
http://herbalalchemyst.wordpress.com/tag/linus-pauling-institute-micronutrient-research-for-optimum-health/

  • ปกป้องสมอง โดยต้าน และกำจัดอนุมูลอิสระที่จะมาทำลายสมองจึงมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับสมองเสื่อม เช่นโรคความจำเสื่อม(dementia) และอัลไซเมอร์
http://www.worldhealth.net/news/astaxanthin-helps-promote-brain-health/

ที่มา


Wikipedia.(2013). Astaxanthin(online). Available : http://en.wikipedia.org/wiki/Astaxanthin[October 28, 2013]

Shimidzu N, Goto M, and Miki W. Carotenoids as singlet oxygen quenchers in marine organisms. Fisheries Science. 1996; 62:134-7.

Bagchi, D. (2001). Oxygen free radical scavenging abilities of vitamins c, e, β-carotene, pycnogenol, grape seed proanthocyanidin extract and astaxanthins in vitro. Pharmacy Sciences Creighton University School of Health Sciences.

Yang, Y., Kim, B., & Lee, J. Y. (2013). Astaxanthin Structure, Metabolism, and Health Benefits.

Guerin, M., Huntley, M. E., & Olaizola, M. (2003). < i> Haematococcus</i> astaxanthin: applications for human health and nutrition. TRENDS in Biotechnology, 21(5), 210-216.

Yamashita, E. Astaxanthin as a Medical Food. Functional Foods in Health and Disease 2013; 3(7):254-258

Yamashita, E., (2002), Cosmetic benefit of the supplement health food combined astaxanthin and tocotrienol on human skin. Food Style 21 6(6):112-117.

Yamashita, E., (2006), The Effects of a Dietary Supplement Containing Astaxanthin on Skin Condition. Carotenoid Science, 10:91-95.

Nagaki Y., et al., (2002). Effects of astaxanthin on accommodation, critical flicker fusions, and pattern evoked potential in visual display terminal workers. J. Trad. Med., 19(5):170-173.

Sawaki, K. et al. (2002) Sports performance benefits from taking natural astaxanthin characterized by visual activity and muscle fatigue improvements in humans. J. Clin. Ther. Med., 18(9):73-88.

Nakamura et al. (2004). Changes in Visual Function Following Peroral Astaxanthin. Japan J. Clin. Opthal., 58(6):1051-1054.

Nitta et al. (2005). Effects of astaxanthin on accommodation and asthenopia – Dose finding study in healthy volunteers. J. Clin. Therap. Med., 21(6):637-650.

Shiratori et al. (2005). Effect of astaxanthin on accommodation and asthenopia – Efficacy identification study in healthy volunteers. J. Clin. Therap. Med., 21(5):543-556.

Nagaki et al., (2006). The supplementation effect of astaxanthin on accommodation and asthenopia. J. Clin. Therap. Med., 22(1):41-54.

Iwasaki & Tawara, (2006). Effects of Astaxanthin on Eyestrain Induced by Accommodative Dysfunction. Journal of Eye (Atarashii Ganka) (6):829-834.

Nakagawa, K., Kiko, T., Miyazawa, T., Carpentero Burdeos, G., Kimura, F., Satoh, A., & Miyazawa, T. (2011). Antioxidant effect of astaxanthin on phospholipid peroxidation in human erythrocytes. British Journal of Nutrition,105(11), 1563-1571.

Capelli, R., & Cysewski, G. R. (2011). The Neuroprotective Effect of Astaxanthin.