วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สารสกัดจากสาหร่าย "แอสต้าแซนทิน" super antioxidant


ก่อนจะมารู้จักแอสต้าแซนทิน เรามารู้จักแคโรทีนอยด์กันก่อน


แคโรทีนอยด์เป็นรงค์วัตถุที่ผลิตโดยพืช และจุลชีพ(microorganisms) โครงสร้างโมเลกุลประกอบไปด้วยหน่วยไอโซพรีน (isoprene unit) จำนวน 8 หน่วยที่เกิดพันธะโควาเลนต์ (covalent bond) กัน และมีลักษณะเป็นพันธะคู่สลับกับพันธะเดี่ยวเป็นสายยาว ซึ่งเรียกว่า conjugated bond (รูปที่ 1)  โดยอิเล็กตรอนสามารถเคลื่อนที่ได้อิสระ ซึ่งเรียกว่าปรากฏการ resonance ทำให้พันธะคู่สามารถเคลื่อนที่ไปมาได้ (รูปที่ 2) ด้วยคุณสมบัตินี้ทำให้แคโรทีนอยด์มีความสามารถในการดูดกลืนแสงและมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระได้
รูปที่ 1 Conjugated Bond
รูปที่ 2 การเกิด Resonance






แคโรทีนอยด์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ

Hydrogenated carotenoid หรือ กลุ่ม carotene
เป็นแคโรทีนอยด์ที่มีสายไฮโดรคาร-บอนทำให้เป็นสารที่ไม่มีขั้ว และละลายได้ในน้ำมัน เช่น ไลโคพีน (lycopene) เบต้าแคโรทีน (Beta carotene) และ เอลฟา แคโรทีน เป็นต้น



Oxygenated carotenoid
หรือ กลุ่ม xanthophylls
 เป็นแคโรทีนอยด์ที่มีอะตอมของออกซิเจนในโมเลกุลจึงเป็นสารที่มีขั้วมากกว่ากลุ่มแรกและละลายในน้ำมันได้น้อยกว่า เช่น ลูทีน (lutein) ซีแซนทีน (Zeaxanthin) และ แอสตาแซนทีน(astaxanthin)







แอสต้าแซนทิน(Astaxanthin)คือ?

รงค์วัตถุสีแดงเข้มที่อยู่ในกลุ่มของแคโรทีนอยด์(Carotenoid)ที่มีอะตอมออกซิเจน(Oxygenated carotenoid) หรือกลุ่มแซนโทฟิล(Xanthophyll)

แหล่งของแอสต้าแซนทินที่พบในอาหารของเราจะพบในสัตว์ทะเลที่มีรงควัตถุสีส้มแดง เช่น ปลาแซลมอน, ปู และกุ้งเป็นต้น ซึ่งแตกต่างจากแคโรทีนอยด์อื่นๆที่พบในผัก และผลไม้ สัตว์เหล่านี้ไม่ได้ผลิตแอสต้าแซนทินเอง แต่ได้มาจากอาหารที่กินคือสาหร่าย และแพลงตอนที่ผลิตแอสต้าแซนทินได้ เช่นเดียวกับนกฟลามิงโก้สีชมพูของมันคือแอสต้าแซนทินที่มาจากอาหารของมันคืออาร์ทีเมีย หรือ ไรน้ำเค็ม และสาหร่าย

ปริืมาณแอสต้าแซนทินในแหล่งต่างๆในธรรมชาติ(1)

Haematococcus pluvialis สาหร่ายสีเขียวซึ่งถือว่าเป็นแหล่งแอสต้าแซนทินในปริมาณมากที่สุดที่พบในธรรมชาติ โดยสาหร่ายชนิดนี้จะผลิตแอสต้าแซนทินเมื่อมีสิ่งแวดล้อมที่กดดันมากระตุ้น เช่น การขาดอาหาร, ระดับความเค็มในน้ำมากเกินไป, อุณหภูมิอากาศที่ร้อนจัด และการได้รับรังสียูวีจากแสงอาทิตย์(2)


สาหร่ายผลิตสารแอสต้าแซนทินออกมาเพื่อต้านความกดดันต่างๆจากสิ่งแวดล้อม และทำให้มันสามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ในภาวะสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของประโยชน์ของแอสต้าแซนทินซึ่งประโยชน์ที่เด่นชัดมากคือ การต้านออกซิเดชั่น

แอสต้าแซนทินมีความสามารถในการต้านออกซิเดชั่นสูงมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งการต้านออกซิเดชั่นที่เกิดจากรังสี เช่นรังสียูวี เมื่อออกซิเจนในอากาศถูกกระตุ้นด้วยรังสียูวีในแสงแดดจะทำให้ออกซิเจนกลายเป็นออกซิเจนอะตอมอิเล็กตรอนเดี่ยว(Singlet Oxygen) ซึ่งไม่สเถียรพร้อมที่จะทำปฏิกิริยาตลอดเวลาสามารถทำปฏิกิริยากับสารตั้งต้นต่างๆและเกิดอนุมูลอิสระได้ นอกจากนั้นตัวมันเองยังมีความสามารถในการทำลาย DNA ทำให้เกิดภาวะบกพร่องต่างๆในร่างกายได้ แอสต้าแซนทินมีประสิทธิภาพในการต้าน singlet oxygen ทั้งในสารละลายน้ำมันและน้ำโดยมากกว่าสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นๆหลายตัวได้แก่ วิตามินอี เบต้าแคโรทีน แคโรทีนอยด์อื่นๆ โพลีฟีนอล วิตามินซี โคเอ็นไซม์คิวเท็น และอัลฟาไลโปอิกเป็นต้น(3,4)



สามารถกำจัดอนุมูลเปอร์ออกซิล อนุมูลไฮดรอกซิล และกรดไฮโปคลอรัส(เกิดจากการกำจัดสิ่งแปลกปลอมของเม็ดเลือดขาว)ได้ดีกว่าวิตามินอี ลูทีน ไลโคปีน และเบต้าแคโรทีนและสามารถยับยั้งการออกซิเดชั่นของไขมันที่เกิดจากอนุมูลเปอร์ออกซิลได้มากกว่าวิตามินอี 100 เท่า (2,4)


การที่แอสต้าแซนทินเป็นแซนโทฟิลซึ่งมีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบทำให้มีโครงสร้างทั้งในส่วนที่ละลายน้ำและน้ำมันจึงสามารถปกป้องเซลล์ตั้งแต่เยื้อหุ้มเซลล์ชั้นนอก(น้ำ) จนไปถึงเยื้อหุ้มเซลล์ชั้นใน(ไขมัน) และยังมีส่วนช่วยให้ร่างกายดูดซึมได้ดีกว่ากลุ่มแคโรทีนซึ่งมีแต่ส่วนละลายน้ำมันอย่างเดียว เช่นเบต้าแคโรทีน และไลโคปีน(2,4)
รูปแสดงโครงสร้างแอสต้าแซนทินซึ่งประกอบไปด้วยส่วนมีขั้ว ไม่มีขั้ว และมีขั้ว(2)

รูปแสดงความสามารถในการยึดเกาะเยื้อหุ้มเซลล์จากภายนอกถึงภายใน(4)

แอสต้าแซนทินเป็นสารต้านออกซิเดชั่นที่ไม่มีคุณสมบัติเป็นโปรออกซิเดนท์(Pro oxidant)(4) ซึ่งโปรออกซิเดนท์คือ สารที่เมื่อไปยับยั้งการเกิดออกซิเดชั่นแล้วตัวเองกลายเป็นตัวออกซิไดซ์หรืออนุมูลอิสระซะเองและทำให้เกิดภาวะเครียดออกซิเดชั่นภายในร่างกาย ตัวอย่างสารต้านอนุมูลอิสระที่มีคุณสมบัติเป็นโปรออกซิเดนท์ได้แก่ วิตามินซี, วิตามินอี และเบต้าแคโรทีน เป็นต้น ซึ่งการได้รับวิตามินซี, วิตามินอี และเบต้าแคโรทีนมากเกินความสมดุลของร่างกายแทนที่จะเกิดผลดีแต่กลายเป็นผลเสียได้

นอกจากตัวแอสต้าแซนทินเองจะเป็นตัวกำจัดอนุมูลอิสระแล้วยังเพิ่มความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระภายในร่างกาย(Endogenous antioxidant defense)โดยกระตุ้นการแสดงออกของเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ต้านออกซิเดชั่น(2)

การศึกษาความสามารถในการต้านออกซิเดชั่นในมนุษย์
ผู้ที่ถูกศึกษา
ปริมาณ
แอสต้าแซนทิน
ระยะเวลา
ผล
ชายสุขภาพดี
4 มก.
3 เดือน
การเกิดออกซิเดชั่นของไขมันลดลง
ชายสุขภาพดีแต่สูบบุหรี่
5, 20, 40 มก.
3 สัปดาห์
การเกิดออกซิเดชั่นของไขมันลดลง และประสิทธิภาพการต้านอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น
คนอ้วน
5, 20 มก.
3 สัปดาห์
การเกิดออกซิเดชั่นของไขมันลดลง และประสิทธิภาพการต้านอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น
ข้อมูลรวบรวมจาก(2)

การป้องกันโรคทางเมตาบอลิซึม(Metabolic Disease)

โรคทางเมตาบอลิซึม คือโรคที่ร่างกายเรามีกระบวนการเมตาบอลิซึมที่ผิดไป ร่างกายผลิตอนุมูลอิสระมากผิดปรกติ มีการอักเสบเพิ่มมากขึ้น เกิดภาวะดื้ออินซูลินทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปรกติ และมีการสะสมของไขมันตามส่วนต่างๆ เช่นหลอดเลือด ตับ ซึ่งจะก่อให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคไขมันพอกตับ และโรคเบาหวานเป็นต้น

โรคทางเมตาบอลิซึมบ้านเราอาจเรียกว่าโรคอ้วนลงพุง เนื่องจากผู้ที่มีภาวะของโรคนี้มักมีการสะสมไขมันบริเวณหน้าท้องเยอะทำให้อ้วนบริเวณพุงมากกว่าบริเวณอื่นๆ


ภาวะเครียดออกซิเดชั่นเป็นรากฐานสาเหตุของการเกิดโรคทางเมตาบอลิซึม เนื่องจากแอสต้าแซนทินเป็นสารที่มีความสามารถในการต้านออกซิเดชั่นสูงจึงอาจมีส่วนช่วยในการป้องกัน หรือบรรเทาโรคนี้ได้
ที่มาของข้อมูลประกอบรุปภาพ(2)

ที่มาของข้อมูล
  1. Wikipedia.(2013). Astaxanthin(online). Available:  http://en.wikipedia.org/wiki/Astaxanthin[October 28, 2013]
  2. Yang, Y., Kim, B., & Lee, J. Y. (2013). Astaxanthin Structure, Metabolism, and Health Benefits.
  3. Guerin, M., Huntley, M. E., & Olaizola, M. (2003). < i> Haematococcus</i> astaxanthin: applications for human health and nutrition. TRENDS in Biotechnology, 21(5), 210-216.
  4. Yamashita, E. Astaxanthin as a Medical Food. Functional Foods in Health and Disease 2013; 3(7):254-258

วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Chlorophyll green for Health

คลอโรฟิลล์

คลอโรฟิลล์ คือ รงค์วัตถุสีเขียวที่สังเคราะห์โดยพืชเท่านั้น โดยจะพบในสาหร่าย พืชใบเขียวชนิดต่างๆ และ น้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้น(1)

คลอโรฟิลลิ์ที่พบในธรรมชาติจะอยู่ในรูป คลอโรฟิลล์เอ บี ซี และดี โดยรูปเอ และบีจะพบมากที่สุด


โครงสร้างของคลอโรฟิลล์จะคล้ายโครงสร้างของฮีม(heme)ในเม็ดเลือดแดง โดยที่ใจกลางของคลอโรฟิลล์จะเป็นธาตุแมกนีเซียม(Mg) แต่ใจกลางของฮีมในเม็ดเลือดแดงจะเป็นธาตุเหล็ก(Fe)
รูปแสดงโครงสร้างคลอโรฟิลล์
คลอโรฟิลล์เอ และบี แตกต่างกันตรงหมู่ที่มาต่อที่ตำแหน่ง R1 และ R2 ส่วนคลอโรฟิลล์ซี และดีต่างกันตรงที่หมู่ที่มาต่อตรงตำแหน่ง R3(1)

รูปแสดงโครงสร้างฮีมในเม็ดเลือดแดง

เคยสงสัยไหมว่าทำไมเวลานำผักใบเขียวเมื่อนำไปผัดหรือต้มแล้วสีผักต้องเปลี่ยนจากเขียวสดเป็น เขียวอมเหลือง หรือเหลืองน้ำตาลถ้าโดนความร้อนนานๆ ทั้งนี้เนื่องจากความร้อนทำให้กรดในเซลล์ของผักหลุดออกมาทำให้มีสภาพเป็นกรด ส่งผลให้แมกนีเซียมอะตอมหลุดออกจากโครงสร้างคลอโรฟิลล์กลายเป็นฟีโอไฟติน(Phaeophytin) และ ฟีโอฟอร์ไบรด์(Phaeophorbride)ในที่สุด ซึ่งทั้งฟีโอไฟตินจะมีสีเขียวอมเหลืองคล้ายผลมะกอก และ ฟีโอฟอร์ไบรด์เป็นรงควัตถุที่มีสีเหลืองน้ำตาล การเปลี่ยนแปลงของสีนี้ทำให้ผักมีสีดูไม่น่ารับประทาน แต่ถ้าใครเคยทำกับข้าวอาจพอจะทราบเคล็ดลับอยู่บ้างว่าให้ลวกผักด้วยน้ำที่ใส่เกลือก่อนนำไปประกอบอาหารจะทำให้ผักสีเขียวสดดูน่ารับประทาน ทั้งนี้เนื่องจากโซเดียมจากเกลือจะเข้าไปแทนที่ธาตุแมกนีเซียมที่หลุดออกไปทำให้คลอโรฟิลล์กลายเป็นคลอโรฟิลลิน(Chlorophyllin)ซึ่งทำให้ผักมีสีเขียวสดใสกว่าผักที่ยังไม่ได้ลวกเสียอีก

ภาพแสดงการเปลี่ยนสีของคลอโรฟิลล์ที่สภาวะต่างๆ
โดยปรกติคลอโรฟิลล์เป็นรงควัตถุที่ละลายในน้ำมัน และสลายตัวได้ง่ายเนื่องจากความเป็นกรด ความร้อน แสง และออกซิเจน (2) จึงได้มีการปรับปรุงคลอโรฟิลล์โดยไปทำปฏิกิริยากับเกลือจนได้คลอโรฟิลลินซึ่งมีคุณสมบัติที่ละลายในน้ำได้ และมีความคงตัวมากกว่าคลอโรฟิลล์

ประโยชน์ของคลอโรฟิลล์ รวมถึงอนุพันธ์ของคลอโรฟิลล์ต่อร่างกาย


ต้านอนุมูลอิสระ
  • จับอนุมูลอิสระไฮดรอกซิลได้ดีมาก(3)จึงสามารถปกป้องไมโตคอนเดรียจากอนุมูลอิสระได้เนื่องจากโดยปรกติในกระบวนการเมตาบอลิซึมไมโตคอนเดรียจะผลิตอนุมูลอิสระซุปเปอร์ออกไซด์อิออนลบ(superoxide anion radical (O2*-)) ซึ่งจะกลายเป็นอนุมูลอิสระไฮดรอกซิลในที่สุด
  • จับออกซิเจนอะตอมเดี่ยว(Singlet Oxygen)(3) ซึ่งเป็นอนุมูลอิสระที่เกิดจากแสง และรังสี เช่นรังสียูวี
  • จับอิออนเหล็ก(Fe2+)(4) ซึ่งเป็นอิออนอิสระที่เป็นสาเหตุของการเกิดออกซิเดชั่นไขมันในร่างกาย
  • ป้องกันไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์(H2O2)ทำลายดีเอ็นเอ(4) ซึ่งไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เป็นผลพลอยได้ที่เกิดจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกาย

ต้านมะเร็ง
  • จับสารก่อมะเร็งที่ร่างกายได้รับจากอาหาร หรือ มลพิษต่างๆ ให้เป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่ร่างกายดูดซึมได้ยากจึงไม่เกิดการสะสมของสารก่อมะเร็งในร่างกาย ตัวอย่างสารก่อมะเร็งที่คอลโรฟิลล์สามารถเข้าจับได้ดี(1)เช่น
    • อัลฟาท๊อกซิน(Aflatoxin-B1)จากเชื้อรา ซึ่งมักพบในเครื่องเทศ และอาหารแห้งต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเขตร้อนชื้นจะมีโอกาสปนเปื้อนในอาหารมาก โดยมีการศึกษาพบว่าคลอโรฟิลล์ และ คลอโรฟิลลินสามารถลดการดูมซึมสารอัลฟาท๊อกซินในร่างกายได้(5)
    • เฮเทอโรไซคลิกเอมีน(HCA)(6)จากเนื้อสัตว์ปรุงสุกด้วยความร้อนสูง
    • โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน(PAH)(7-8) จากมลภาวะ เขม่า ควัน โดยเฉพาะ ควันบุหรี่
  • ยับยั้งการเจริญ และกระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็ง เช่นมะเร็งเต้านม(9)
  • ลดความเสียงในการเป็นมะเร็งตับ(10) และมะเร็งลำใส้ใหญ่(11) เนื่องจากความสามารถในการจับกับสารก่อมะเร็งต่างๆ


กำจัดสารพิษ
  • จับสารพิษต่างๆที่ร่างกายได้รับทำให้ร่างกายดูดซึมได้น้อยลง(1) และขับออก เช่น
    • สารก่อมะเร็ง(ดังที่กล่าวในข้างต้น)
    •   โลหะหนัก เนื่องจากคลอโรฟิลล์มีวงแหวนพอร์ไฟริน(Porphyrin) ซึ่งมีความสามารถในการจับกับโลหะที่มีประจุได้ เช่น ปรอท(12), แคดเมียม, ตะกั่ว และสารหนู(13)
    • ไดออกซิน(14) ซึ่งเกิดจากขั้นตอนในกระบวนการทางอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่มีการใช้คลอรีน เช่น การเผาขยะ โรงงานเคมี และย่าฆ่าแมลง การฟอกขาว โรงงานผลิตพลาสติกเป็นต้น
  • กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ NAD(P)H: quinone oxidoreductase 1(NQO1)ซึ่งเกี่ยวข้องกับการกำจัดสารพิษในขั้นที่2 ของร่างกาย (Phase II detoxify enzyme)(15)
  • ช่วยตับกำจัดสารพิษโดยเข้าไปเป็นผู้ช่วยจับสารพิษ ลดภาระของเอนไซม์ glutathione transferase ในการกำจัดสารพิษขั้นที่ 2 ของร่างกาย(16)

โลหิตจาง

เนื่องจากคลอโรฟิลล์มีโครงสร้างหลักที่เหมือนฮีมในเม็ดเล็ดแดงจึงมีส่วนช่วยในการสร้างเลือดใหม่บรรเทาภาวะเลือดจางได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ารับประทานร่วมกับธาตุเหล็ก(17)

ลดความเสี่ยงการเกิดนิ่วในไต

ยับยั้งการโตของแคลเซียมออกซาเลต(Calcium oxalate) ซึ่งเป็นสาเหตุของนิ่วในไต(Kidney stone)(1)

ประโยชน์อื่นๆ(1)

  • กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
  • ต้านอักเสบ
  • สมานแผล
  • ระงับกลิ่นปาก ลมหายใจที่มีกลิ่น และกลิ่นตัว
  • รักษาระดับความดันเลือดให้ปรกติ
  • กำจัดเชื้อราในร่างกาย

ที่มาของข้อมูล
  1. A.L. Inanç, “Chlorophyll: Structural properties, health benefits and its occurrence in virgin olive oils,” Akademik Gıda (Academic Food Journal), vol. 9, pp. 26–32, 2011.
  2. Erge, H.S. and Karadeniz, F., Koca, N., Soyer, Y. 2008. Effect of heat treatment on chlorophyll degradation and color loss in green peas. Gıda Dergisi, 5: 225-233
  3. Kamat, J. P., Boloor, K. K., & Devasagayam, T. (2000). Chlorophyllin as an effective antioxidant against membrane damage in vitro and ex vivo. Biochimica et Biophysica Acta (BBA)-Molecular and Cell Biology of Lipids, 1487(2), 113-127.
  4. Hsu, C. Y., Chao, P. Y., Hu, S. P., & Yang, C. M. (2013). The Antioxidant and Free Radical Scavenging Activities of Chlorophylls and Pheophytins. Food and Nutrition, 4, 1-8.
  5. Jubert, C., Mata, J., Bench, G., Dashwood, R., Pereira, C., Tracewell, W., ... & Bailey, G. (2009). Effects of chlorophyll and chlorophyllin on low-dose aflatoxin B1 pharmacokinetics in human volunteers. Cancer prevention research, 2(12), 1015-1022.
  6. Mauthe, R. J., Snyderwine, E. G., Ghoshal, A., Freeman, S. P., & Turteltaub, K. W. (1998). Distribution and metabolism of 2-amino-1-methyl-6-phenylimidazo [4, 5-b] pyridine (PhIP) in female rats and their pups at dietary doses.Carcinogenesis, 19(5), 919-924.
  7. Pratt, M. M., Reddy, A. P., Hendricks, J. D., Pereira, C., Kensler, T. W., & Bailey, G. S. (2006). The importance of carcinogen dose in chemoprevention studies: quantitative interrelationships between, dibenzo [a, l] pyrene dose, chlorophyllin dose, target organ DNA adduct biomarkers and final tumor outcome. Carcinogenesis, 28(3), 611-624.
  8. Castro, D. J., Löhr, C. V., Fischer, K. A., Waters, K. M., Webb-Robertson, B. J. M., Dashwood, R. H., ... & Williams, D. E. (2009). Identifying efficacious approaches to chemoprevention with chlorophyllin, purified chlorophylls and freeze-dried spinach in a mouse model of transplacental carcinogenesis.Carcinogenesis, 30(2), 315-320.
  9. Chiu, L. C., Kong, C. K., & Ooi, V. E. (2005). The chlorophyllin-induced cell cycle arrest and apoptosis in human breast cancer MCF-7 cells is associated with ERK deactivation and Cyclin D1 depletion. International journal of molecular medicine, 16(4), 735.
  10. Egner, P. A., Wang, J. B., Zhu, Y. R., Zhang, B. C., Wu, Y., Zhang, Q. N., ... & Kensler, T. W. (2001). Chlorophyllin intervention reduces aflatoxin–DNA adducts in individuals at high risk for liver cancer. Proceedings of the National Academy of Sciences, 98(25), 14601-14606.
  11. Guo, D., Schut, H. A., Davis, C. D., Snyderwine, E. G., Bailey, G. S., & Dashwood, R. H. (1995). Protection by chlorophyllin and indole-3-carbinol against 2-amino-1-methyl-6-phenylimidazo [4, 5-b] pyridine (PhIP)-induced DNA adducts and colonic aberrant crypts in the F344 rat. Carcinogenesis, 16(12), 2931-2937.
  12. Han-Joon Hwang, H. J. H., & Soon-Mi Shim, S. M. S. (2008). Impact of sodium copper chlorophyllin on mercury absorption using an in vitro digestion with human intestinal cell model. Food Science and Biotechnology, 17(3), 564-568.
  13. Shim, S. M. (2012). Chelating effect of leek (Allium tuberosum Rottler ex Sprengel) containing chlorophyll on Cd, Pb, and As. Journal of the Korean Society for Applied Biological Chemistry, 55(2), 311-315.
  14. Morita, K., Ogata, M., & Hasegawa, T. (2001). Chlorophyll derived from Chlorella inhibits dioxin absorption from the gastrointestinal tract and accelerates dioxin excretion in rats. Environmental Health Perspectives, 109(3), 289.
  15. Fahey, J. W., Stephenson, K. K., Dinkova-Kostova, A. T., Egner, P. A., Kensler, T. W., & Talalay, P. (2005). Chlorophyll, chlorophyllin and related tetrapyrroles are significant inducers of mammalian phase 2 cytoprotective genes. Carcinogenesis, 26(7), 1247-1255.
  16. Singh, N., Verma, P., & Pandey, B. R. (2012). Therapeutic Potential of Organic Triticum aestivum Linn.(Wheat Grass) in Prevention and Treatment of Chronic Diseases: An Overview. International Journal of Pharmaceutical Sciences and Drug Research, 4(1), 10-14.
  17. PATEK Jr, A. J. (1936). Chlorophyll and regeneration of the blood: Effect of administration of chlorophyll derivatives to patients with chronic hypochromic anemia. Archives of Internal Medicine, 57(1), 73.