วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

กลีบกุหลาบ ไม่ใช่แค่ดอกไม้สวย แต่มีประโยชน์ด้วย

กุหลาบ นอกจากจะเป็นดอกไม้ที่ให้ความสวยงาม และมีกลิ่นหอมแล้วยังสามารถใช้ในทางการแพทย์แผนโบราณ และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์ได้อีก  โดยส่วนที่นิยมใช้คือกลีบดอกโดยสามารถนำมาใช้ได้ทั้งการทาภายนอก หรือรับประทาน
Photo CR: http://www.flickr.com/groups/flowerthemes

คุณสมบัติทางยาของกุหลาบได้แก่ กลิ่นหอมที่ทำให้รู้สึกสงบ บำรุงหัวใจ ต้านอักเสบ ขับเสมหะ(expectorant) บรรเทาอาการไอ บำรุงทางเพศ(aphrodisiac) ขจัดสิ่งสกปรก(depurative) ช่วยระบาย(aperients) ต้านแบคทีเรีย แก้ถ่ายท้อง ฆ่าพยาธิ(ascaricide) ช่วยย่อย ขับลม ลดไข้ ห้ามเลือด สมานแผล และช่วยในการฟื้นฟูและบำรุงร่างกาย(1,2)

ในทางเครื่องสำอางค์สารสกัดจากกลีบกุหลาบจะใช้ในผลิตภัณฑ์เพื่อการบำรุงและให้ความชุ่มชื้นผิว ปกป้องผิวจากการแพ้และการอักเสบต่างๆ(3) นอกจากนี้ยังช่วยปกป้องผิวจากรังสียูวี และอนุมูลอิสระต่างๆที่จะนำไปสู่ความเสื่อมของผิว(4)

กุหลาบจัดเป็นดอกไม้ที่รับประทานได้ และมีการนำมาใช้รับประทานมาเป็นเวลายาวนานนับศตวรรษ  การรับประทานนั้นสามารถนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของอาหาร รับประทานสด หรือนำไปใช้ในอาหารแปรรูปเช่นลูกอม และเครื่องดื่ม(5)

ชากลีบกุหลาบมีคุณสมบัติในการต้านออกซิเดชั่นสูงสามารถเทียบเคียงได้กับชาเขียว และชาดำ นอกจากนี้ยังพบว่ามีกุหลาบบางสายพันธุ์ที่มีคุณสมบัติในการต้านออกซิเดชั่นสูงกว่าชาเขียว(5)

สารสกัดจากกลีบกุหลาบนอกจากจะมีคุณสมบัติในการต้านออกซิเดชั่นที่มีประสิทธิภาพแล้วยังคุณสมบัติอื่นๆที่เป็นประโยชน์ด้วย ได้แก่

  • ต้านภูมิแพ้ โดยจากการศึกษาในหนูทดลองพบว่าสามารถลดอาการคันในหนูที่ถูกกระตุ้นด้วยสารฮิสตามีน(สารก่อภูมิแพ้)ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการต้านผื่นแพ้ที่ผิวหนัง(6)
  • ต้านแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคต่างๆ ซึ่งจะมีประโยชน์ในการนำไปใช้ในการรักษาโรคท้องร่วง โรคติดเชื้อฉวยโอกาส และการติดเชื้อที่ผิวหนัง(7)
  • มีการศึกษาในหนูทดลองพบว่าสารสกัดจากกลีบกุหลาบมีคุณสมบัติในการปกป้องเซลล์ และต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ดี(8)
  • ลดการสังเคราะห์ไตรกลีเซอไรด์ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในการรักษาภาวะเมตาบอลิกที่ผิดปรกติ เนื่องจากมีคุณสมบัติในการยับยั้งเอนไซม์ไดเอซิลกลีเซอรอลเอซิลทรานส์เฟอเรส(diacylglycerol acyltransferase)ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่กระตุ้นการสังเคราห์ไตรกลีเซอร์ไรด์(9)
  • ต้านการกลายพันธุ์(anti-mutagenicity)(10)


สารสกัดจากกลีบกุหลาบกับสุขภาพผิว

ในสารสกัดจากกลีบกุหลายจะมีสารที่ชื่อว่า ยูเจนิอิน(eugeniin)(11) ซึ่งมีคุณสมบัติในการกระตุ้นการสังเคราะห์คอลลาเจน(12)

ป้องกันผิว และการเกิดริ้วรอยจากการทำลายจากยูวีในแสงแดดโดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อีลาสเทส(elastase)ที่ถูกกระตุ้นด้วยแสงแดด(13)

ด้วยคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ(5) ช่วยปกป้องผิวจากอนุมูลอิสระต่างๆที่จะมาทำลายผิวได้

ปกป้องผิวจากการเกิดผื่นแพ้ (6) ลดการเกาและอาการคันที่ผิวซึ่งจะก่อให้เกิดริ้วรอยที่ผิวได้



หมายเหตุ
ถ้าจะนำกลีบกุหลาบมาใช้ในการประกอบอาหารต้องมั่นใจว่ากุหลาบนั้นไม่มีสารเคมีตกค้าง เนื่องจากผู้ปลูกกุหลาบปลูกเพื่อวัตถุประสงค์เป็นดอกไม้ประดับความใส่ใจในการใช้สารเคมีต่างๆจะต่างจากการปลูกผักและผลไม้


ที่มาของข้อมูล
  1. Jitendra, J., Vineeta, T., Ashok, K., Brijesh, K., & Singh, P. (2012). ROSA CENTIFOLIA: PLANT REVIEW. IJRPC, 2(3), 794-796. Available: www.ijrpc.com
  2. James A. Duke. (2002) Handbook of Medicinal Herbs, Second edition. CRC Press.
  3. Datta, H. S., & Paramesh, R. (2010). Trends in aging and skin care: Ayurvedic concepts. Journal of Ayurveda and integrative medicine, 1(2), 110.
  4. Dawson, S., EATON, C., JOSEPH, L. B., & BERTRAM, C. (2006). Antiaging benefits of French rose petal extract. Cosmetics and toiletries, 121(2).
  5. Vinokur, Y., Rodov, V., Reznick, N., Goldman, G., Horev, B., Umiel, N., & Friedman, H. (2006). Rose Petal Tea as an Antioxidantrich Beverage: Cultivar Effects. Journal of food science, 71(1), S42-S47.
  6. Jeon, J. H., Kwon, S. C., Park, D., Shin, S., Jeong, J. H., Park, S. Y., ... & Joo, S. S. (2009). Anti-allergic effects of white rose petal extract and anti-atopic properties of its hexane fraction. Archives of pharmacal research, 32(6), 823-830.
  7. Hirulkar, N. B. (2011). Antimicrobial activity of rose petals extract against some pathogenic bacteria. International Journal of Pharmaceutical & Biological Archive, 1(05).
  8. Chandragopal, S., Kumar, S., & Archana, B. (2012). Evaluation of Anti-ulcer activity of Rosa Centifolia (Linn.) flowers in experimental rats. Journal of Natural Remedies, 12(1), 20-29.
  9. Kondo, H., Hashizume, K., Shibuya, Y., Hase, T., & Murase, T. (2011). Identification of diacylglycerol acyltransferase inhibitors from Rosa centifolia petals. Lipids, 46(8), 691-700.
  10. Kumar, S., Gautam, S., & Sharma, A. (2013). Identification of Antimutagenic Properties of Anthocyanins and Other Polyphenols from Rose (Rosa centifolia) Petals and Tea. Journal of food science.
  11. Nayeshiro, K., & Eugster, C. H. (1989). Notiz über Ellagitannine und Flavonolglycoside aus Rosenblüten. Helvetica Chimica Acta, 72(5), 985-992.
  12. Tsukiyama, M., Sugita, T., Kikuchi, H., Yasuda, Y., Arashima, M., Okumura, H., ... & Shoyama, Y. (2010). Effect of Duabanga grandiflora for human skin cells. The American Journal of Chinese Medicine, 38(02), 387-399.
  13. Tsukahara, K., Nakagawa, H., Moriwaki, S., Takema, Y., Fujimura, T., & Imokawa, G. (2006). Inhibition of ultravioletBinduced wrinkle formation by an elastaseinhibiting herbal extract: implication for the mechanism underlying elastaseassociated wrinkles. International journal of dermatology, 45(4), 460-468.


วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

glutathione and skin whitening

ผิวขาว กับการรับประทานกูลต้าไธโอน


กลูต้าไธโอน คือ เปปไทด์ ที่ประกอบไปด้วยกรดอะมิโน 3 ตัว ได้แก่ กลูตาเมท, ซิสเตอีน และไกลซีน (glu-cys-gly)  ร่างกายเราสามารถสังเคราะห์กลูต้าไธโอนได้เองจากกรดอะมิโนที่เป็นสารตั้งต้นทั้ง 3 ตัว ซึ่งการสังเคราะห์จะเกิดขึ้นภายในบริเวณน้ำที่อยู่ในเซลล์(cytosol)

กลูต้าไธโอนมีบทบาทสำคัญภายในร่างกายเราได้แก่(1,2)
  • กำจัดอนุมูลอิสระทั้งทางตรงโดยการเข้าไปกำจัดโดยตรง หรือ ทางอ้อมโดยเป็นผู้ช่วยเอนไซม์ที่ทำหน้าที่กำจัดอนุมูลอิสระ เช่นกลูต้าไธโอนเปอร์ออกซิเดส(glutathione peroxidase, GPX)
  • เข้าทำกับเมตาบอไลท์ต่างๆของร่างกายซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับ
    • การกำจัดสารพิษ โดยกำจัดเมตาบอไลท์ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น เมตาบอไลท์จากยา, สารเคมี, ฮอร์โมนเอสโตรเจน(เมตาบอไลท์จากเอสโตรเจนมีคุณสมบัติเป็นสารก่อมะเร็ง), พรอสตาแกลนดิน(prostaglandins) และลิวโคไตรอีน(leukotrienes) (เมตาบอไลท์ของพรอสตาแกลนดิน และ ลิวโคไตรอีนจะเกี่ยวข้องกับการอักเสบ) ซึ่งในการกำจัดจะร่วมกับเอนไซม์กลูต้าไธโอนเอสทรานเฟอเรส(glutathione s transferase)
    • การผลิตเมลานินในชั้นผิว
  • ควบคุมปริมาณไนตริกออกไซด์ซึ่งถ้ามีมากไปจะเป็นพิษต่อเซลล์โดยเฉพาะเซลล์ประสาท โดยกลูต้าไธโอนจะเข้าจับกับไนตริกออกไซด์แล้วกลายเป็นเอสไนโตรโซกลูต้าไธโอน(s-nitrosoglutathione, GSNO) รอการสลายออกเป็นกลูต้าไธโอน และไนตริกออกไซด์ตามสภาพความต้องการของร่างกาย
  • ลดความเป็นพิษของฟอร์มัลดีไฮด์ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากกระบวนการเมตาบอลิซึมภายในร่างกาย
  • รักษาสมดุลของปริมาณซัลไฟดริล(sulphydryl) หรือกลุ่มไทออล(thyol)ของเซลล์  ทำให้เกิดสมดุลของปฏิกิริยาออกซิเดชั่นรีดักชั่น ส่งผลให้เซลล์มีการทำงานปรกติ
  • ควบคุมการทำงานต่างๆในร่างกายได้แก่ การแสดงออกของยีน, การสังเคราะห์ดีเอ็นเอ และโปรตีน, การแบ่งตัว และการตายของเซลล์, การผลิตสารก่ออักเสบ และการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกัน, กระบวนการนำส่งสัญญาณต่างๆ, การทำงานของไมโตคอนเดรีย และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโปรตีน(protein glutathionylation)

Photo CR: http://benefitsofglutathione.com

เมลานิน

คือสารสีที่พบในผิว ผม และม่านตา ที่สร้างขึ้นจากเซลล์ที่ชื่อว่าเมลาโนซัยท์(melanocyte) ที่อยู่บนชั้นผิวหนังกำพร้า(epidermis)  สีที่ปรากฏจะแตกต่างไปตามชนิดของเมลานิน ซึ่งอาจแบ่งเมลานินที่ผิวหนังเป็น 2 ชนิดใหญ่คือ ยูเมลานิน(eumelanin) ซึ่งมีสีน้ำตาลดำ และฟีโอเมลานิน(pheomelanin) ซึ่งมีสีเหลืองแดง(3)  โดยปรกติผิวของเราจะมีการผสมเมลานินทั้ง 2 ตัวนี้ ดังนั้นการที่คนเรามีสีผิวต่างกันเนื่องจากปริมาณ และอัตราส่วนการผสมที่แตกต่างกันซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากพันธุกรรม

Photo CR: http://www.answersingenesis.org

ปรกติแล้วเมลานินมีหน้าที่ในการปกป้องผิวจากการไหม้และโอกาสเกิดมะเร็งผิวหนังจากแสงแดด โดยการดูดกลืนรังสียูวีที่เป็นอันตรายต่อผิวในแสงแดด ซึ่งจะสังเกตุได้ว่าโดยธรรมชาติประชากรที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคที่มีแสงแดดแรงจะมีสีผิวที่คล้ำกว่าเนื่องจากมีปริมาณเมลานินในปริมาณมากกว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในที่แสงแดดอ่อน(4)

เมื่อผิวเราโดนแสงแดด  รังสียูวีในแสงแดดจะกระตุ้นให้เซลล์เมลาโนซัยท์สร้างเมลานินออกมาและส่งออกมาที่ชั้นผิว  คนเอเชียเมื่อถูกกระตุ้นด้วยรังสียูวีจะมีการสร้างเมลานินมากกว่าคนยุโรป(เหนือ)(5)


การสังเคราะห์เมลานิน(melanogenesis)ในชั้นผิว(4,6)

เริ่มจากสารตั้งต้นไทโรซีน(tyrosine) ผ่านกระบวนการเติมหมู่ไฮดรอกซิล(hydroxylation) จนกลายเป็นแอลไดไฮดรอกซีฟีนิลอะลานีน หรือแอลโดพา(L-dihydroxyphenylalanine, L-dopa)  จากนั้นจะถูกออกซิเดชั่นกลายเป็นแอลโดพาคิวโนน(L-dopaquinone) ซึ่งจะกลายเป็นยูเมลานิน(eumalanin) หรือฟีโอเมลานิน(phemalanin) ก็ขึ้นอยู่กับขั้นตอนถัดไป โดยในสภาวะที่ขาดหมู่ไทออลจากกรดอะมิโนซิสเตอีน หรือ กลูต้าไธโอน แอลโดพาคิวโนนจะถูกเปลี่ยนเป็น ยูเมลานิน  แต่ในสภาวะที่มีความเข้มข้นของกรดอะมิโนซิสเตอีน หรือ กลูต้าไธโอนเพียงพอแอลโดพาคิวโนนจะถูกเปลี่ยนเป็น ฟีโอเมลานิน

เอนไซม์ที่มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์เมลานินคือไทโรซิเนส(tyrosinase)



กลูต้าไธโอนเกี่ยวข้องยังไงกับผิวขาว

เอนไซม์ไทโรซิเนสเป็นเอนไซม์ที่บทบาทสำคัญในการสังเคราะห์เมลานินในชั้นผิว ดังนั้นการยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์ไทโรซิเนสจึงเป็นประเด็นสำคัญในการทำให้เมลานินในชั้นผิวมีปริมาณลดลงและส่งผลให้สีผิวขาวกระจ่างขึ้น

Villarama และ Maibach (2005) ได้รวบรวมการศึกษาทั้งในหลอดทดลอง และในสิ่งมีชีวิตถึงความสามารถในการยับยั้งการสร้างเมลานินของกลูต้าไธโอน(7)ซึ่งได้แก่
  • สามารถยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์ไทโรซิเนสโดยตรงด้วยการเข้าไปจับกับตำแหน่งที่ใช้ในการทำงานของเอนไซม์(active site)
  • ทำให้เกิดการสังเคราะห์เมลานินชนิดฟีโอเมลานินซึ่งมีสีอ่อนกว่าเมลานินชนิดยูเมลานิน
  • มีความสามารถในการจับอนุมูลอิสระ และเพอร์ออกไซด์ ซึ่งจะส่งผลต่อกิจกรรมของเอนไซม์ไธโรซิเนสในการสังเคราะห์เมลานิน เนื่องจากในการสังเคระห์เมลานินที่ถูกกระตุ้นเอนไซม์ไธโรซิเนสในบางขั้นตอนมีการใช้อนุมูลออกซิเจน(8)
  • ควบคุมการเข้าไปทำลายเม็ดสีของสารที่เป็นพิษต่อเมลาโนซัยท์(melanocytotoxic agent) จึงช่วยป้องกันการเกิดรอยด่าง หรือสีผิวที่ไม่สม่ำเสมอ

นอกจากนี้ Matsuki และคณะ (2008) ยังพบว่ากลูต้าไธโอนสามารถยับยั้งการสังเคราะห์เมลานินโดยเข้าไปขัดขวางการทำงานของแอลโดพา(L-dopa)(9)

ในปี 2012 ได้มีการศึกษาทางคลีนิกในกลุ่มนักศึกษาแพทย์ชายหญิงอายุ 19-22 ปี  โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ได้รับยาหลอก และกลุ่มที่ได้รับกลูต้าไธโอนในปริมาณ 500 มก ต่อวัน(ครั้งละ 250 มก.วันละ 2 ครั้ง) เป็นเวลา 4 สัปดาห์  พบว่ากลุ่มที่ได้รับกลูต้าไธโอนมีปริมาณเมลานินที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ  นอกจากนี้ยังพบว่าผิวมีความเรียบเนียนและรูขุมขนกระชับขึ้นแต่ไม่ถึงระดับนัยสำคัญ(10)


ผิวขาวกระจ่างใส ถือเป็นผลพลอยได้จากการรับประทานกลูต้าไธโอน แต่แท้จริงแล้วกลูต้าไธโอนมีดีมากกว่านั้นเนื่องจากกลูต้าไธโอนเป็นสารที่สำคัญและจำเป็นอย่างมากในร่างกายเรา โดยปรกติร่างกายเราสามารถผลิตกูลต้าไธโอนเองได้จากกรดอะมิโน(กลูตาเมท, ซิสเตอีน และไกลซีน)ที่ได้รับจากอาหารประเภทโปรตีน แต่การผลิตกลูต้าไธโอนจะลดลงเมื่อเราอายุมากขึ้น สภาพร่างกายไม่สมบรูณ์หรือเป็นโรคบางโรค ถ้าในร่างกายเรามีปริมาณกลูต้าไธโอนไม่เพียงพอจะทำให้ระบบการทำงานของร่างกายเราผิดเพี้ยนไปและเป็นสาเหตุของการเสื่อมโทรม และโรคต่างๆได้


 ที่มาของข้อมูล
  1. Wu, G., Fang, Y. Z., Yang, S., Lupton, J. R., & Turner, N. D. (2004). Glutathione metabolism and its implications for health. The Journal of nutrition,134(3), 489-492.
  2. Wang, W., & Ballatori, N. (1998). Endogenous glutathione conjugates: occurrence and biological functions. Pharmacological Reviews, 50(3), 335-356.
  3. Thody, A. J., Higgins, E. M., Wakamatsu, K., Ito, S., Burchill, S. A., & Marks, J. M. (1991). Pheomelanin as well as eumelanin is present in human epidermis.Journal of Investigative Dermatology, 97(2), 340-344.
  4. Slominski, A., Tobin, D. J., Shibahara, S., & Wortsman, J. (2004). Melanin pigmentation in mammalian skin and its hormonal regulation. Physiological reviews, 84(4), 1155-1228.
  5. Hennessy, A., Oh, C., Diffey, B., Wakamatsu, K., Ito, S., & Rees, J. (2005). Eumelanin and pheomelanin concentrations in human epidermis before and after UVB irradiation. Pigment cell research, 18(3), 220-223.
  6. Gillbro, J. M., & Olsson, M. J. (2011). The melanogenesis and mechanisms of skinlightening agents–existing and new approaches. International journal of cosmetic science, 33(3), 210-221.
  7. Villarama, C. D., & Maibach, H. I. (2005). Glutathione as a depigmenting agent: an overview. International journal of cosmetic science, 27(3), 147.
  8. Valverde, P., Manning, P., McNEIL, C. J., & Thody, A. J. (1996). Activation of tyrosinase reduces the cytotoxic effects of the superoxide anion in B16 mouse melanoma cells. Pigment cell research, 9(2), 77-81.
  9. Matsuki, M., Watanabe, T., Ogasawara, A., Mikami, T., & Matsumoto, T. (2008). Inhibitory mechanism of melanin synthesis by glutathione]. Yakugaku zasshi: Journal of the Pharmaceutical Society of Japan, 128(8), 1203.
  10. Arjinpathana, N., & Asawanonda, P. (2012). Glutathione as an oral whitening agent: A randomized, double-blind, placebo-controlled study. Journal of Dermatological Treatment, 23(2), 97-102.

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

"Collagen" nutrient for Healthy Skin

คอลลาเจ สารอาหารผิว

คอลลาเจนที่เป็นส่วนประกอบของผิวเรานั้นไม่ได้มีปริมาณคงที่ตลอด ปริมาณคอลลาเจนจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสาเหตุปัจจัยต่างๆ เช่น อายุ ฮอร์โมนเพศ โรค สภาวะร่างกาย และสิ่งแวดล้อมต่างๆ

การลดลงของคอลลาเจนในชั้นผิวเป็นสาเหตุของริ้วรอยและการเสื่อมของสภาพผิว การรับประทานคอลลาเจนเสริมก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่อาจจะช่วยชลอการลดลงของคอลลาเจนในชั้นผิวได้
ผิวสุขภาพดีที่อุดมไปด้วยคอลลาเจน

 ผิวสุขภาพไม่ดีที่คอลลาเจนเสื่อมสภาพ
เครดิตภาพ wisdom33.com


การศึกษาผลของการได้รับคอลลาเจนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพผิว


เพิ่มการสร้างคอลลาเจนในชั้นผิว
จากการศึกษาในหนูทดลองให้รับประทานคอลลาเจนไฮโดรไลเซท เปรียบเทียบกับกลุ่มอ้างอิงที่ให้รับประทานเคซีน(โปรตีนจากนม) เป็นเวลา 4 สัปดาห์ และทำการตรวจสอบปริมาณคอลลาเจนชนิดที่ 1 และชนิดที่ 4 กับการทำงานของเอนไซม์MMP2 ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่สลายคอลลาเจน พบว่ากลุ่มที่ได้รับคอลเจนไฮโดรไลเซทมีปริมาณคอลลาเจนชนิดที่ 1 และ 4 เพิ่มขึ้น และมีการทำงานของเอนไซม์ MMP 2 ลดลง(Zague, et al., 2011)

กระตุ้นการเพิ่มจำนวน และการเคลื่อนที่ของเซลล์ไฟโบรบลาสต์
ไฟโบรบาลสต์(fibroblast) เป็นเซลล์ที่มีหน้าที่ในการสังเคราะห์คอลลาเจน และบทบาทในการสมานแผล จากการศึกษาโดยนำไดเปปไทด์ Pro-Hyp ที่พบในกระแสเลือดของมนุษย์ภายหลังจากการย่อยคอลลาเจนเปปไทด์มาใส่ในเซลล์ไฟโบรบาลสต์ของผิวหนังหนูทดลองพบว่า  Pro-Hyp สามารถกระตุ้นการเพิ่มจำนวนของไฟโบรบลาสต์ และเหนี่ยวนำให้ไฟโบรบลาสต์เคลื่อนที่เข้ามาหาเพื่อทำการสังเคราะห์คอลลาเจน(shigemura, et al., 2009)

เพิ่มความแข็งแรงของผิวโดยเพิ่มขนาดและความแน่นของใยคอลลาเจน(collagen fiber) และเซลล์ไฟโบรบลาสต์
จากการศึกษาในหมูให้รับประทานคอลลาเจนเปปไทด์ปริมาณ 0.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กก. เป็นเวลา 62 วัน เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับอาหารหมูปรกติ(15%โปรตีนจากธัญพืช) และกลุ่มอ้างอิงที่ได้รับแลกตัลบลูมิน 0.23 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กก.(เป็นปริมาณที่คำนวณแล้วมีปริมาณไนโตรเจนเท่ากับกลุ่มที่ได้รับคอลลาเจนเปปไทด์) พบว่ากลุ่มหมูที่ได้รับคอลลาเจนเปปไทด์จะมีขนาด และความแน่นของเส้นใยคอลลาเจน และ เซลล์ไฟโบรบลาสต์มากกว่ากลุ่มควบคุม  และกลุ่มอ้างอิง ซึ่งจากการศึกษานี้ได้แนะนำว่าการรับประทานคอลลาเจนเปปไทด์อาจจะช่วยเพิ่มความแข็งแรง และความทนทานของผิวหนังได้(Matsuda, et al., 2006)

(ภาพทางขวามือ บริเวณลูกศรชี้คือเซลล์ไฟโบรบลาสต์ในชั้นผิวหนังโดยพบว่ากลุ่มที่ได้รับคอลลาเจนเปปไทด์ไฟโบรบลาสต์จะมีความหนาแน่นมากที่สุด, ที่มาของภาพ Matsuda, et al., 2006)

ช่วยในการสมานแผล
จากการศึกษาในหนูที่เป็นโรคเบาหวานซึ่งมีปัญหาเรื่องแผลหายช้าพบว่าหนูที่ได้รับประทานเจลาตินจะมีประสิทธิภาพในการสมานแผลดีขึ้นกว่ากลุ่มหนูที่ไม่ได้รับ ซึ่งจากการศึกษานี้จึงได้เสนอว่าการรับประทานคอลลาเจนอาจมีประโยชน์ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาเรื่องแผลหายช้า(Zhang, et al., 2011)
ภาพแสดงผลของการได้รับเจลาตินในการสมานแผลของหนูที่เป็นเบาหวาน(Zhang, et al., 2011)

เพิ่มการแบ่งตัวของเซลล์ผิว และกระตุ้นการสังเคราะห์ไฮยาลูโรนาน หรือ กรดไฮยาลูโรนิก(Hyaluronan, Hyaluronic acid, HA)
จากการศึกษาในเซลล์ไฟโบรบลาสต์ของผิวหนังมนุษย์พบว่า ไดเปปไทด์ Pro-Hyp สามารถเพิ่มการแบ่งตัวของเซลล์ผิวได้ 1.5 เท่า และ เพิ่มการสังเคราะห์ HA ได้ 3.8 เท่า โดยไปกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ HAS2 ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่สังเคราะห์ HA (Ohara, et al., 2010) นอกจากไดเปปไทด์แล้วไตรเปปไทด์ก็สามารถเพิ่มการสังเคราะห์ HA ได้ทั้งการศึกษาในหลอดทดลอง และในหนูทดลอง (Okawa, et al., 2012)

ลดการสูญเสียน้ำของผิว และลดอาการคันผิวเนื่องจากผิวแห้ง
จากการศึกษาในหนูทดลองที่ถูกทำให้ผิวแห้งโดยใช้สารอะซีโตน พบว่าหนูทดลองที่ได้รับคอลลาเจนไตรเปปไทด์จะมีการสูญเสียน้ำของผิวลดลง มีอาการคันที่ผิวลดลง โดยจากการศึกษานี้เชื่อว่าคอลลาเจนเปปไทด์อาจนำมาใช้ในการรักษาอาการคันเนื่องจากผิวหนังแห้งได้(Okawa, et al., 2012)

เพิ่มความสามารถในการดูดซึมน้ำของผิวหนังกำพร้าชั้นนอก(stratum corneum)
จากการศึกษาในผู้หญิงญี่ปุ่นสุขภาพดีจำนวน 20 คน โดยให้รับประทานคอลลาเจนเปปไทด์วันละ 10 กรัม เป็นเวลา 60 วันพบว่าความสามารถในการดูดซึมน้ำของผิวหนังกำพร้าชั้นนอกเพิ่มขึ้น(Koyama, et al., 2006)  และจากการศึกษาขนาดใหญ่โดยในผู้หญิงจำนวน 214 คน ที่มีอายุเฉลี่ย 34.1 ± 5.9 ปี โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม โดย 3 กลุ่มแรกให้รับประทานคอลลาเจนจากเกล็ดปลาที่ปริมาณ 2.5, 5, และ 10 กรัม กลุ่มที่ 4 เป็นคอลลาเจนจากหนังหมู 10 กรัม และกลุ่มที่ 5 คือกลุ่มหลอก(placebo) เมื่อให้รับประทานครบ 4 สัปดาห์แล้วมาวิเคราะห์ปริมาณน้ำในเนื้อเยื้อผิวหนังกำพร้าชั้นนอกพบว่า ทุกกลุ่มที่ได้รับคอลลาเจนมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นโดยกลุ่มที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มหลอกคือกลุ่มที่รับประทานคอลลาเจนที่ปริมาณ 5-10 กรัม(Ohara, et al., 2009)

เพิ่มความยืดหยุ่น และความชุ่มชื่นให้กับผิว
จากการศึกษาในผู้หญิงสุขภาพดี 48 คน ที่มีอายุในช่วง 22-58 ปี โดยให้รับประทานคอลลาเจนในปริมาณ 5 กรัม พบความยืดหยุ่น(flexibility)ของผิวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ที่ 5 สัปดาห์ภายหลังรับประทาน โดยในกลุ่มผู้ทดสอบช่วงอายุ 20-39 ปีจะเห็นการเปลี่ยนแปลงได้เร็วกว่า(Hayamizu, et al., 2000) และจากการศึกษาในอาสาสมัครสุขภาพดี 32 คนให้รับประทานคอลลาเจนเปปไทด์ 3 กรัม เป็นเวลา 12 สัปดาห์พบว่าความยืดหยุ่นแบบผิวเด้ง(elasticity) และความชุ่มชื้นของผิวดีขึ้น(Choi, et al., 2013)

อีกการศึกษาหนึ่งในผู้หญิงอายุ 35-55 ปี ให้รับประทานคอลลาเจนไฮโดรไลเซทปริมาณ 2.5 และ 5 กรัม เป็นเวลา 8 สัปดาห์โดยมีกลุ่มที่ได้รับยาหลอกเปรียบเทียบ พบว่ากลุ่มที่ได้รับคอลลาเจนไฮโดรไลเซทที่ความยืดหยุ่นแบบผิวเด้งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกลับกลุ่มที่ได้รับยาหลอกโดยจะเห็นได้ชัดในกลุ่มผู้สูงอายุหลังรับประทานเป็นเวลา 4 สัปดาห์แรก ส่วนความชุ่มชื้นของผิวพบว่าดีขึ้นในส่วนหนึ่งของกลุ่มที่ได้รับคอลลาเจนไฮโดรไลเซทแต่ระดับที่ดีขึ้นไม่ถึงระดับนัยสำคัญ(Proksch, et al., 2013)

ปรับปรุงการทำงานของผิวชั้นใน
จากการศึกษาในผู้หญิงวัยกลางคนช่วงอายุ 40-54 ปี แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม 2 กลุ่มให้รับประทานคอลลาเจนเปปไทด์ในปริมาณ 5 และ 10 กรัม ส่วนอีกกลุ่มให้รับประทานยาหลอกที่ไม่ใช้คอลลาเจน(Placebo) ทำการทดสอบที่ระยะเวลา 3 และ 7 สัปดาห์ภายหลังรับประทานพบว่ากลุ่มที่ได้รับคอลลาเจนส่วนหนึ่งของกลุ่มรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงของผิวที่ดีขึ้นดังแสดงในตารางด้านล่าง แต่จากการวัดคุณสมบัติของผิว และปริมาณน้ำในผิวหนังกำพร้าชั้นนอกไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มซึ่งจากการศึกษานี้จึงสรุปว่าการรับประทานคอลลาเจนจะปรับปรุงการทำงานของผิวชั้นในได้ดีกว่าผิวชั้นนอก(Koyama, 2009)
ขนาดรับประทาน
ร้อยละของผู้ทดสอบที่รู้สึกว่าผิวดีขึ้น
3 สัปดาห์
7 สัปดาห์
5 กรัม
41%
74%
10 กรัม
62%
81%
0 กรัม (ยาหลอก)
10%
20%

ชลอผิวแก่
จากการศึกษาในหนูพบว่าคอลลาเจนเปปไทด์จากปลานอกจากคุณสมบัติในการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนแล้วยังมีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระภายในร่างกายทำให้ประสิทธิภาพการต้านอนุมูลอิสระดีขึ้นชลอความเสื่อมของผิวเนื่องจากภาวะชราภาพได้(Pei, et al., 2008) นอกจากนี้ยังได้มีการศึกษาในหลอดทดลองถึงความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของคอลลาเจนโอลิโกเปปไทด์ที่มีมวลโมเลกุลส่วนใหญ่น้อยกว่า 1000 ดาลตันพบว่า มีความสามารถในการจับอนุมูลอิสระ DPPH (2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl radical) เทียบเท่าร้อยละ 53.8%  ของกลูต้าไธโอน(รูปรีดิวซ์)ที่ความเข้มข้นเดียวกัน(Jia, et al., 2010)

โดยปรกติเมื่อเข้าสู่วัยชราภาพภาวะธำรงดุล(homeostasis) หรือดุลยภาพของผิวจะเสียสมดุลย์ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของผิวจากการศึกษาในหนูทดลองให้รับประทานอาหารที่มีคอลลาเจนไฮโดรไลเซทจากปลาในปริมาณ 2.25 และ 4.5 % เป็นเวลา 24 เดือน พบว่า การสลายของคอลลาเจนลดลง การแสดงออกของยีนในการสังเคราะห์คอลลาเจนเพิ่มขึ้น และประสิทธิภาพการต้านอนุมูลอิสระของร่างกายเพิ่มขึ้น ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะช่วยปกป้องผิวเสื่อมเนื่องจากภาวะชราภาพได้ (liang, et al., 2010)

ปกป้องความเสื่อมของผิวจากแสงแดด

รังสียูวีบีในแสงแดดสามารถทำลายผิวได้โดยทำให้คอลลาเจนเสียสภาพ มีความสามารถในการอุ้มน้ำลดลง และเป็นสาเหตุแห่ง
ริ้วรอย จึงได้มีการศึกษาในหนูทดลองพบว่าการได้รับคอลลาเจนไฮโดรไลเซทสามารถลดการทำลายผิวเนื่องจากแสงยูวีบีได้โดยสามารถป้องกันการสูญเสียน้ำ เพิ่มความยืดหยุ่นของผิว และเพิ่ม HA ในชั้นผิว(Oba, et al., 2013) ทั้งนื้อาจเนื่องจากความสามารถในการต้านออกซิเดชั่นของไดเปปไตด์ที่ได้จากการย่อยคอลลาเจนไฮโดรไลเซท (Tanaka, et al., 2009) นอกจากนี้การได้รับคอลลาเจนเปปไทด์ยังมีคุณสมบัติอื่นๆที่ช่วยป้องกันการทำลายของผิวจากรังสียูวีได้ ซึ่งได้แก่ เพิ่มประสิทธิภาพของภูมิต้านทาน ลดการสูญเสียน้ำในผิว รักษาระดับคอลลาเจน และซ่อมแซมเส้นใยคอลลาเจน (Hou, et al., 2012)
(ภาพทางขวาแสดงภาพเนื้อเยื้อผิวหนังของหนูกลุ่มต่างๆ โดยที่ S คือ ต่อมไขมัน(sebaceous gland), ที่มาของภาพ Tanaka, et al., 2009)







ลดปัญหาผิวหน้า
Sato และ Shigemura (2012) ได้กล่าวถึงงานวิจัยของ Matsumoto และคณะ ในปี 2006 ที่ทำการศึกษาผลของคอลลาเจนต่อปัญหาต่างๆที่มักเกิดกับผิว โดยให้อาสาสมัครกินคอลลาเจนเปปไทด์เป็นเวลา 6 สัปดาห์ แล้วสอบถามถึงการเปลี่ยนแปลงของผิวพบว่าปัญหาที่เกิดกับผิวลดลงตามข้อมูลด้านล่าง
ปัญหาผิวหน้า
จำนวนของผู้ที่
เคยมีอาการทั้งหมด
ร้อยละของ
ผู้ที่รู้สึกว่าดีขึ้น
หน้าแห้ง
25 คน
92
แต่งหน้ายาก*
22 คน
95
ผื่นจากการแต่งหน้า
5 คน
100
อาการแดงที่หน้า
13 คน
77
สิว
15 คน
87
ริ้วรอย
25 คน
60
จุดด่างดำ
25 คน
72
ผิวคล้ำรอบดวงตา
20 คน
95
บวมน้ำ
15 คน
67

* เป็นปัญหาของผู้ที่มีผิวแห้งกร้านจะทำให้เครื่องสำอางค์ไม่ค่อยติดหน้า


ที่มาของข้อมูล
  1. Zague, V., de Freitas, V., Rosa, M. D. C., de Castro, G. Á., Jaeger, R. G., & Machado-Santelli, G. M. (2011). Collagen hydrolysate intake increases skin collagen expression and suppresses matrix metalloproteinase 2 activity.Journal of Medicinal Food, 14(6), 618-624.
  2. Shigemura, Y., Iwai, K., Morimatsu, F., Iwamoto, T., Mori, T., Oda, C., ... & Sato, K. (2009). Effect of prolyl-hydroxyproline (Pro-Hyp), a food-derived collagen peptide in human blood, on growth of fibroblasts from mouse skin.Journal of agricultural and food chemistry, 57(2), 444-449.
  3. Matsuda, N., Koyama, Y. I., Hosaka, Y., Ueda, H., Watanabe, T., Araya, T., ... & Takehana, K. (2006). Effects of ingestion of collagen peptide on collagen fibrils and glycosaminoglycans in the dermis. Journal of nutritional science and vitaminology, 52(3), 211-215.
  4. Zhang, Z., Zhao, M., Wang, J., Ding, Y., Dai, X., & Li, Y. (2011). Oral administration of skin gelatin isolated from Chum salmon (Oncorhynchus keta) enhances wound healing in diabetic rats. Marine drugs, 9(5), 696-711.
  5. Ohara, H., Ichikawa, S., Matsumoto, H., Akiyama, M., Fujimoto, N., Kobayashi, T., & Tajima, S. (2010). Collagenderived dipeptide, prolinehydroxyproline, stimulates cell proliferation and hyaluronic acid synthesis in cultured human dermal fibroblasts. The Journal of dermatology, 37(4), 330-338.
  6. Okawa, T., Yamaguchi, Y., Takada, S., Sakai, Y., Numata, N., Nakamura, F., ... & Aihara, M. (2012). Oral administration of collagen tripeptide improves dryness and pruritus in the acetone-induced dry skin model. Journal of Dermatological Science, 66(2), 136-143.
  7. Hou, H., Li, B., Zhang, Z., Xue, C., Yu, G., Wang, J., ... & Su, S. (2012). Moisture absorption and retention properties, and activity in alleviating skin photodamage of collagen polypeptide from marine fish skin. Food chemistry,135(3), 1432-1439.
  8. Koyama, Y. O. I. C. H. I., Sakashita, A. R. I. S. A., Kuwaba, K. U. M. I. K. O., & Kusubata, M. A. S. A. S. H. I. (2006). Effects of oral ingestion of collagen peptide on the skin. J Fragr, 6, 82-85.
  9. Ohara, H., Ito, K., Iida, H., & Matsumoto, H. (2009). Improvement in the moisture content of the stratum corneum following 4 weeks of collagen hydrolysate ingestion. Nippon Shokuhin Kagaku Kogaku Kaishi= Journal of the Japanese Society for Food Science and Technology, 56(3), 137-145.
  10. HAYAMIZU, K., TERAYAMA, T., & KAJIWARA, N. (2000). Effect of the Collagen Peptide Drinks on the Elastic Properties of Facial Skin in Normal Volunteers. Journal of New Remedies & Clinics, 49(9), 867-873.
  11. Choi, S. Y., Ko, E. J., Lee, Y. H., Kim, B. G., Shin, H. J., Seo, D. B., ... & Kim, M. N. (2013). Effects of collagen tripeptide supplement on skin properties: A prospective, randomized, controlled study. Journal of Cosmetic and Laser Therapy, (0), 1-14.
  12. Proksch, E., Segger, D., Degwert, J., Schunck, M., Zague, V., & Oesser, S. (2013). Oral Supplementation of Specific Collagen Peptides Has Beneficial Effects on Human Skin Physiology: A Double-Blind, Placebo-Controlled Study.Skin pharmacology and physiology, 27(1), 47-55.
  13. Koyama Y. (2009). Effects of collagen peptide ingestion on the skin. Shokuhin-To-Kaihatsu, 44, 10-12. Available from: http://humanclinicals.org/Collagen.html
  14. Pei, X. R., Yang, R. Y., Zhang, Z. F., Xu, Y. J., Han, X. L., Wang, J. B., & Li, Y. (2008). Effects of marine collagen peptide on delaying the skin aging].Zhonghua yu fang yi xue za zhi [Chinese journal of preventive medicine], 42(4), 235.
  15. Liang, J., Pei, X., Zhang, Z., Wang, N., Wang, J., & Li, Y. (2010). The Protective Effects of LongTerm Oral Administration of Marine Collagen Hydrolysate from Chum Salmon on Collagen Matrix Homeostasis in the Chronological Aged Skin of SpragueDawley Male Rats. Journal of food science, 75(8), H230-H238.
  16. Jia, J., Zhou, Y., Lu, J., Chen, A., Li, Y., & Zheng, G. (2010). Enzymatic hydrolysis of Alaska pollack (Theragra chalcogramma) skin and antioxidant activity of the resulting hydrolysate. Journal of the Science of Food and Agriculture, 90(4), 635-640.
  17. Oba, C., Ohara, H., Morifuji, M., Ito, K., Ichikawa, S., Kawahata, K., & Koga, J. (2013). Collagen hydrolysate intake improves the loss of epidermal barrier function and skin elasticity induced by UVB irradiation in hairless mice.Photodermatology, photoimmunology & photomedicine, 29(4), 204-211.
  18. Tanaka, M., Koyama, Y. I., & Nomura, Y. (2009). Effects of collagen peptide ingestion on UV-B-induced skin damage. Bioscience, biotechnology, and biochemistry, 73(4), 930-932.
  19. Hou, H., Li, B., Zhang, Z., Xue, C., Yu, G., Wang, J., ... & Su, S. (2012). Moisture absorption and retention properties, and activity in alleviating skin photodamage of collagen polypeptide from marine fish skin. Food chemistry,135(3), 1432-1439.
  20. Sato, K., & Shigemura, Y. (2012). 10 Effect of Marine Collagen Peptide on Skin Condition. Marine Comesceuticals: Trends and Prospects, 125.
  21. Matsumoto, H., Ohara, H. I. R. O. K. I., Ito, K. Y. O. K. O., Nakamura, Y. U. K. O., & Takahashi, S. H. U. S. H. I. C. H. I. (2006). Clinical effects of fish type I collagen hydrolysate on skin properties. ITE Lett, 7(4), 386-390.