การเสริมโปรตีนจากเวย์
Photo CR: rollingout.com
โดยปรกติโปรตีนในนมวัวจะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ เคซีน(ประมาณ 80%) และเวย์(ประมาณ 20%)
โปรตีนจากเวย์ เป็นโปรตีนที่มีคุณภาพ เนื่องจากมีกรดอะมิโนที่เหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อร่างกายที่ต่างไปจากเคซีนเนื่องจาก
- มีปริมาณกรดอะมิโนที่มีสารประกอบซัลเฟอร์(ซิสเตอีน และ เมไธโอนีน) อยู่สูงกว่าโปรตีนจากแหล่งอื่นซึ่งกรดอะมิโนเหล่านี้มีส่วนสำคัญในการสร้างสารกลูต้าไธโอนซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญที่ร่างกายขาดไม่ได้
- มีกลุ่มกรดอะมิโนชนิดสายกิ่ง(Branch Chain Amino Acid:BCAA) ได้แก่ ลิวซีน ไอโซลิวซีน และวาลีน ในปริมาณสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งลิวซีนซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่สำคัญในกระบวนการสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื้อ
- กรดอะมิโนทริปโตเฟนในเวย์เป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนเซอโรโทนิน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการปรับสมดุลอารมณ์ทำให้รู้สึกผ่อนคลายไม่เครียด
- โปรตีนที่เป็นส่วนประกอบในเวย์มีคุณสมบัติเป็นภูมิคุ้มกันเช่น อิมมูโนโกลบูลิน(Immunoglobulins) และ แลกโตเฟอริน(Lactoferin) เป็นต้น
การรับประทานเวย์โปรตีนแล้วดีอย่างไร
เพิ่มระดับกลูต้าไธโอนในร่างกาย
กลูต้าไธโอนคือเปปไตด์ที่ประกอบไปด้วยกรดอะมิโน 3 ตัว คือ กลูตามีน ซีสเตอีน และไกลซีน ที่มีความสำคัญต่อร่างกายซึ่งมีหน้าที่คอยปกป้องเซลล์ และไมโตคอนเดรียจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น
ร่างกายสามารถสร้างกลูต้าไธโอนเองได้จากอาหารประเภทโปรตีนที่มีกรดอะมิโนซิสเตอีนเป็นส่วนประกอบ
ร่างกายสามารถสร้างกลูต้าไธโอนเองได้จากอาหารประเภทโปรตีนที่มีกรดอะมิโนซิสเตอีนเป็นส่วนประกอบ
มีการศึกษาพบว่าการรับประทานอาหารที่ประกอบไปด้วยเวย์โปรตีนสามารถเพิ่มระดับกลูต้าไธโอนในร่างกายได้ ทั้งในการศึกษาในสัตว์ทดลอง และในคน
ตัวอย่างการศึกษาในสัตว์ทดลอง ดังเช่นการศึกษาของ Bounous และคณะ(1989) ในหนูแก่พบว่าหนูแก่ที่ได้รับอาหารที่อุดมไปด้วยเวย์โปรตีนจะมีปริมาณกลูต้าไธโอนในเนื้อเยื้อตับ และหัวใจมากขึ้น และมีอายุยืนยาวกว่าหนูแก่ที่รับประทานอาหารปรกติที่มีปริมาณโปรตีนเท่ากัน
ตัวอย่างการศึกษาในสัตว์ทดลอง ดังเช่นการศึกษาของ Bounous และคณะ(1989) ในหนูแก่พบว่าหนูแก่ที่ได้รับอาหารที่อุดมไปด้วยเวย์โปรตีนจะมีปริมาณกลูต้าไธโอนในเนื้อเยื้อตับ และหัวใจมากขึ้น และมีอายุยืนยาวกว่าหนูแก่ที่รับประทานอาหารปรกติที่มีปริมาณโปรตีนเท่ากัน
ตัวอย่างการศึกษาในมนุษย์ ดังเช่น การศึกษาในผู้ป่วยโ่รคต่างๆซึ่งมักจะมีระดับกลูต้าไธโอนในร่างกายต่ำพบว่า ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี(HIV)(Micke, et al., 2001; Micke, et al., 2002), โรคซิสติกไฟโบรซิส(cystic fibrosis)((Grey, et al., 2003) และ ผู้ป่วยโรคตับอักเสบ(nonalcoholic steatohepatitis)(Chitapanarux, et al., 2009) เมื่อรับประทานเวย์โปรตีนแล้วจะมีระดับกลูต้าไธโอนในร่างกายเพิ่มขึ้น
นอกจากการศึกษาในผู้ป่วยยังมีการศึกษาในอาสาสมัครวัยรุ่นสุขภาพดี พบว่าเมื่อได้รับเวย์โปรตีนเสริมจะมีระดับกลูต้าไธโอนในเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟซัยท์สูงขึ้น(Savorsky, et al., 2007)
เมื่อระดับกลูต้าไธโอนเพิ่มขึ้นแล้วดีอย่างไรนอกจากการศึกษาในผู้ป่วยยังมีการศึกษาในอาสาสมัครวัยรุ่นสุขภาพดี พบว่าเมื่อได้รับเวย์โปรตีนเสริมจะมีระดับกลูต้าไธโอนในเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟซัยท์สูงขึ้น(Savorsky, et al., 2007)
- เพิ่มประสิทธิภาพการต้านอนุมูลอิสระ การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และการกำจัดสารพิษของร่างกาย
- ป้องกันและบรรเทาโรคร้ายต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง, โรคติดเชื้อเอชไอวี, โรคซิสติกไฟโบรซิส และโรคที่เกี่ยวกับตับเป็นต้น
- ชลอกระบวนการชราภาพ และโรคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับภาวะชราภาพ เช่นโรคสมองเสื่อม
เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
เนื่องจากโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบในเวย์มีคุณสมบัติืเป็นภูมิคุ้มกันจึงมีการศึกษาที่เกี่ยวกับผลของการได้รับเวย์กับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ตัวอย่างเช่น
Photo CR: www.drjockers.com |
การศึกษาในมนุษย์พบว่า การรับประทานเวย์มีส่วนช่วยให้การทำงานของภูมิคุ้มกันภายหลังการออกกำลังกายดีขึ้นซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการรักษาสุขภาพในกลุ่มผู้ที่ต้องออกกำลังกายอย่างหนัก(Shute, 2004) เพิ่มจำนวนเซลล์ภูมิคุ้มกันชนิด CD4 Lymphocyte ในผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี(Sattler, et al., 2008)
เพิ่มการหลั่งอินซูลิน ลดระดับน้ำตาลในเลือด
เวย์โปรตีนมีคุณสมบัติในการกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน(Insulinotropic Effect) และลดระดับน้ำตาลในเลือดเนื่องจากในเวย์มีปริมาณกรดอะมิโนลิวซีนสูงซึ่งมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน และเวย์โปรตีนยังกระตุ้นการหลั่งฮอรโมนอินครีทิน(Incretin) ซึ่งช่วยในการกระตุ้นการหลั่งอินซูลินหลังรับประทานอาหารและเพิ่มความสามารถในการตอบสนองต่ออินซูลินของร่างกาย(Souza, et al., 2012)
ตัวอย่างการศึกษาในมนุษย์
ตัวอย่างการศึกษาในมนุษย์
- ผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ที่ให้รับประทานอาหารที่มีดัชนีน้ำตาล(Glycemic Index)สูงรวมกับเวย์โปรตีน ผู้ป่วยจะมีการตอบสนองต่ออินซูลิน และมีระดับน้ำตาลในเลือดภายหลังทานอาหารต่ำกว่าการรับประทานอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลสูงเพียงอย่างเดียว นั้นแสดงให้เห็นที่คุณสมบัติในการกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน และลดระดับน้ำตาลในเลือดภายหลังมื้ออาหารของเวย์โปรตีน(Frid, et al., 2005)
- คนอ้วนที่รับประทานเวย์โปรตีนจะมีการตอบสนองต่ออินซูลินเพิ่มขึ้น(Pal, et al., 2010)
- จากการการศึกษาในผู้ใหญ่สุขภาพดีที่อายุยังน้อยพบว่าการรับประทานเวย์โปรตีนก่อนมื้ออาหารจะสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดภายหลังมื้ออาหารได้ รวมทั้งยังลดปริมาณการรับประทานอาหารในมื้อนั้นๆ ด้วย (Akhawan, et al., 2010; Akhawan, et al., 2014)
ทำให้อิ่มนาน
เวย์โปรตีนมีคุณสมบัติในการควบคุมการรับประทานอาหาร และมีผลต่อการควบคุมน้ำหนักโดย- กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้ไม่อยากอาหาร และทำให้รู้สึกอิ่ม
- มีกรดอะมิโนทริปโตเฟนสูงซึ่งเป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนเซอโรโทนิน ซึ่งช่วยควบคุมความอยากอาหารได้
- กรดอะมิโนลิวซีนในเวย์ส่งผลต่อการทำงานของสมองทำให้ปริมาณการรับประทานอาหารลดลง
(Souza, et al.,2012; Luhovyy, et al., 2007)
ตัวอย่างการศึกษาในมนุษย์ พบว่าการรับประทานเวย์โปรตีนช่วยลดความอยากอาหารในผู้หญิงอ้วนและผู้หญิงที่มีน้ำหนักปรกติได้ และลดปริมาณการรับประทานอาหารในผู้หญิงที่มีน้ำหนักปรกติได้(Zafar, et al., 2013)
ลดระดับไขมัน
การรับประทานเวย์โปรตีนสามารถลดระดับไขมัน และคอลเลสเตอรอได้
ตัวอย่างการศึกษาในมนุษย์ พบว่าการรับประทานเวย์โปรตีนสามารถลดระดับไขมัน และคอลเลสเตอรอลในเลือดในผู้ที่มีน้ำหนักเยอะ และคนอ้วน( Pal, et al., 2010) สามารถลดไขมันที่ตับในคนอ้วน(ที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน)ได้(Bortolotti, et al., 2011) และลดระดับไขมันในเลือดภายหลังมื้ออาหารที่อุดมไปด้วยไขมันได้ในผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 (Mortensen, et al., 2009)
Photo CR: doriehanson.com |
ลดความดันโลหิต
ส่วนประกอบโปรตีนในเวย์ได้แก่ แอลฟ่าแลกตัลบูมิน(a-lactalbumin) และเบต้าแลกโตบูลิน(b-lactoglobulin) เป็นสารตั้งต้นของตัวยับยั้งเอนไซม์แองจิโอเทนซิน-คอนเวอร์ติง(Angiotensin-Converting Enzyme) ซึ่งช่วยในการลดความดันโลหิต
การรับประทานเวย์โปรตีนสามารถลดความดันโลหิตได้ในคนอ้วน(Pal and Ellis, 2009) และผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง(120-139 mm. Hg) และผู้ที่มีความดันโลหิตสูงขั้นที่ 1(140-159 mm. Hg)(Fluegel, et al., 2010)
เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ลดมวลไขมัน เร่งการเผาผลาญ สารอาหารสำหรับการออกกำลังกาย
- คนอ้วนที่รับประทานเวย์โปรตีนเสริมจะสามารถลดการสะสมไขมัน และเพิ่มการรักษามวลกล้ามเนื้อในระหว่างการลดน้ำหนัก(Frestedt, et al., 2008)
- การรับประทานเวย์โปรตีนสามารถกระตุ้นการสร้างโปรตีนกล้ามเนื้อในผู้สูงวัย(Pennings, et al., 2011)
- เพิ่มการเผาผลาญและการนำพลังงานไปใช้(Hursel, et al., 2010)
- เพิ่มการเผาผลาญพลังงานขณะออกกำลังกาย(Hackney, et al., 2010)
- การรับประทานเวย์โปรตีนช่วยฟื้นฟูสภาพกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายอย่างหนัก(Cooke, et al., 2010)
- เพิ่มการสังเคราะห์มวลกล้ามเนื้อภายหลังการออกกำลังกาย(Tipton, et al., 2004)
- เพิ่มมวลกล้้ามเนื้อ ลดมวลไขมัน และเพิ่มความทนทานในผู้ออกกำลังกาย(Cribb, et al., 2006)
“To eat is a necessity, but to eat intelligently is an art”- La Rochefoucauld
ที่มา
- Bounous, G., Gervais, F., Amer, V., Batist, G., & Gold, P. (1989). The influence of dietary whey protein on tissue glutathione and the diseases of aging. Clin Invest Med, 12(6), 343-9.
- Micke, P., Beeh, K. M., Schlaak, J. F., & Buhl, R. (2001). Oral supplementation with whey proteins increases plasma glutathione levels of HIV‐infected patients. European journal of clinical investigation, 31(2), 171-178.
- Micke, P., Beeh, K. M., & Buhl, R. (2002). Effects of long-term supplementation with whey proteins on plasma glutathione levels of HIV-infected patients.European Journal of Nutrition, 41(1), 12-18.
- Grey, V., Mohammed, S. R., Smountas, A. A., Bahlool, R., & Lands, L. C. (2003). Improved glutathione status in young adult patients with cystic fibrosis supplemented with whey protein. Journal of Cystic Fibrosis, 2(4), 195-198.
- Zavorsky, G. S., Kubow, S., Grey, V., Riverin, V., & Lands, L. C. (2007). An open-label dose-response study of lymphocyte glutathione levels in healthy men and women receiving pressurized whey protein isolate supplements.International journal of food sciences and nutrition, 58(6), 429.
- Chitapanarux, T., Tienboon, P., Pojchamarnwiputh, S., & Leelarungrayub, D. (2009). Open‐labeled pilot study of cysteine‐rich whey protein isolate supplementation for nonalcoholic steatohepatitis patients. Journal of Gastroenterology and Hepatology, 24(6), 1045-1050.
- Townsend, D. M., Tew, K. D., & Tapiero, H. (2003). The importance of glutathione in human disease. Biomedicine & Pharmacotherapy, 57(3), 145-155.
- Madureira, A. R., Pereira, C. I., Gomes, A. M., Pintado, M. E., & Xavier Malcata, F. (2007). Bovine whey proteins–overview on their main biological properties. Food Research International, 40(10), 1197-1211.
- Balbis, E., Patriarca, S., Furfaro, A. L., Millanta, S., Sukkar, S. G., Marinari, U. M., ... & Traverso, N. (2009). Whey proteins influence hepatic glutathione after CCl4 intoxication. Toxicology and industrial health, 25(4-5), 325.
- Bounous, G. (2000). Whey protein concentrate (WPC) and glutathione modulation in cancer treatment. Anticancer Research, 20(6), 4785-4792.
- Wu, G., Fang, Y. Z., Yang, S., Lupton, J. R., & Turner, N. D. (2004). Glutathione metabolism and its implications for health. The Journal of nutrition,134(3), 489-492.
- Bounous, G., Batist, G., & Gold, P. (1989). Immunoenhancing property of dietary whey protein in mice: role of glutathione. Clin Invest Med, 12(3), 154-61.
- Wong, C. W., & Watson, D. L. (1995). Immunomodulatory effects of dietary whey proteins in mice. Journal of dairy research, 62(02), 359-368.
- Low, P. P. L., Rutherfurd, K. J., Gill, H. S., & Cross, M. L. (2003). Effect of dietary whey protein concentrate on primary and secondary antibody responses in immunized BALB/c mice. International immunopharmacology, 3(3), 393-401.
- Ford, J. T., Wong, C. W., & Colditz, I. G. (2001). Effects of dietary protein types on immune responses and levels of infection with Eimeria vermiformis in mice.Immunology and cell biology, 79(1), 23-28.
- Shin, K., Wakabayashi, H., Yamauchi, K., Teraguchi, S., Tamura, Y., Kurokawa, M., & Shiraki, K. (2005). Effects of orally administered bovine lactoferrin and lactoperoxidase on influenza virus infection in mice. Journal of medical microbiology, 54(8), 717-723.
- Wolber, F. M., Broomfield, A. M., Fray, L., Cross, M. L., & Dey, D. (2005). Supplemental dietary whey protein concentrate reduces rotavirus-induced disease symptoms in suckling mice. The Journal of nutrition, 135(6), 1470-1474.
- Dial, E. J., Hall, L. R., Serna, H., Romero, J. J., Fox, J. G., & Lichtenberg, L. M. (1998). Antibiotic properties of bovine lactoferrin in the host infected with Helicobacter pylori. Digestive Diseases Science, 43, 2750–2756.
- Saint-Sauveur, D., Gauthier, S. F., Boutin, Y., Montoni, A., & Fliss, I. (2009). Effect of feeding whey peptide fractions on the immune response in healthy and Escherichia coli infected mice. International Dairy Journal, 19(9), 537-544.
- Shute, M. (2004). Effect of Whey Protein Isolate on Oxidative Stress, Exercise Performance, and Immunity (Doctoral dissertation, Virginia Polytechnic).
- Sattler, F. R., Rajicic, N., Mulligan, K., Yarasheski, K. E., Koletar, S. L., Zolopa, A., ... & Bistrian, B. (2008). Evaluation of high-protein supplementation in weight-stable HIV-positive subjects with a history of weight loss: a randomized, double-blind, multicenter trial. The American journal of clinical nutrition, 88(5), 1313-1321.
- Souza, G. T., Lira, F. S., & Rosa Neto, J. C. (2012). Dietary whey protein lessens several risk factors for metabolic diseases: a review. Lipids Health Dis,11(1), 67.
- Frid, A. H., Nilsson, M., Holst, J. J., & Björck, I. M. (2005). Effect of whey on blood glucose and insulin responses to composite breakfast and lunch meals in type 2 diabetic subjects. The American journal of clinical nutrition, 82(1), 69-75.
- Pal, S., Ellis, V., & Dhaliwal, S. (2010). Effects of whey protein isolate on body composition, lipids, insulin and glucose in overweight and obese individuals.British Journal of Nutrition, 104(05), 716-723.
- Akhavan, T., Luhovyy, B. L., Brown, P. H., Cho, C. E., & Anderson, G. H. (2010). Effect of premeal consumption of whey protein and its hydrolysate on food intake and postmeal glycemia and insulin responses in young adults. The American journal of clinical nutrition, 91(4), 966-975.
- Akhavan, T., Luhovyy, B. L., Panahi, S., Kubant, R., Brown, P. H., & Anderson, G. H. (2014). Mechanism of action of pre-meal consumption of whey protein on glycemic control in young adults. The Journal of nutritional biochemistry, 25(1), 36-43.
- Luhovyy, B. L., Akhavan, T., & Anderson, G. H. (2007). Whey proteins in the regulation of food intake and satiety. Journal of the American College of Nutrition, 26(6), 704S-712S.
- Zafar, T. A., Waslien, C., AlRaefaei, A., Alrashidi, N., & AlMahmoud, E. (2013). Whey protein sweetened beverages reduce glycemic and appetite responses and food intake in young females. Nutrition Research.
- Bortolotti, M., Maiolo, E., Corazza, M., Van Dijke, E., Schneiter, P., Boss, A., ... & Tappy, L. (2011). Effects of a whey protein supplementation on intrahepatocellular lipids in obese female patients. Clinical Nutrition, 30(4), 494-498.
- Mortensen, L. S., Hartvigsen, M. L., Brader, L. J., Astrup, A., Schrezenmeir, J., Holst, J. J., ... & Hermansen, K. (2009). Differential effects of protein quality on postprandial lipemia in response to a fat-rich meal in type 2 diabetes: comparison of whey, casein, gluten, and cod protein. The American journal of clinical nutrition, 90(1), 41-48.
- Pal, S., & Ellis, V. (2009). The chronic effects of whey proteins on blood pressure, vascular function, and inflammatory markers in overweight individuals.Obesity, 18(7), 1354-1359.
- Fluegel, S. M., Shultz, T. D., Powers, J. R., Clark, S., Barbosa-Leiker, C., Wright, B. R., ... & Di Filippo, M. M. (2010). Whey beverages decrease blood pressure in prehypertensive and hypertensive young men and women.International Dairy Journal, 20(11), 753-760.
- Frestedt, J. L., Zenk, J. L., Kuskowski, M. A., Ward, L. S., & Bastian, E. D. (2008). A whey-protein supplement increases fat loss and spares lean muscle in obese subjects: a randomized human clinical study. Nutr Metab (Lond), 5(8), 8.
- Pennings, B., Boirie, Y., Senden, J. M., Gijsen, A. P., Kuipers, H., & van Loon, L. J. (2011). Whey protein stimulates postprandial muscle protein accretion more effectively than do casein and casein hydrolysate in older men. The American journal of clinical nutrition, 93(5), 997-1005.
- Hursel, R., van der Zee, L., Westerterp-Plantenga, M.S. (2010). Effects of a breakfast yoghurt, with additional total whey protein or caseinomacropeptide-depleted alpha-lactalbumin-enriched whey protein, on diet-induced thermogenesis and appetite suppression. Br. J. Nutr., 103, 775–780
- Hackney, K. J., Bruenger, A. J., & Lemmer, J. T. (2010). Timing protein intake increases energy expenditure 24 h after resistance training. Med Sci Sports Exerc, 42(5), 998-1003.
- Cooke, M. B., Rybalka, E., Stathis, C. G., Cribb, P. J., & Hayes, A. (2010). Whey protein isolate attenuates strength decline after eccentrically-induced muscle damage in healthy individuals. Journal of the International Society of Sports Nutrition, 7(1), 30.
- Tipton, K. D., Elliott, T. A., Cree, M. G., Wolf, S. E., Sanford, A. P., & Wolfe, R. R. (2004). Ingestion of casein and whey proteins result in muscle anabolism after resistance exercise. Medicine and Science in Sports and Exercise, 36, 2073-2081.
- Cribb, P. J., Williams, A. D., Carey, M. F., & Hayes, A. (2006). The effect of whey isolate and resistance training on strength, body composition, and plasma glutamine. International journal of sport nutrition and exercise metabolism,16(5), 494.