แอสต้าแซนทิน(Astaxanthin)
pic from http://drleonardcoldwell.com/ |
รงค์วัตถุสีแดงเข้มที่อยู่ในกลุ่มแซนโทฟิล(Xanthophyll) ซึ่งพบในสัตว์ทะเลที่มีรงควัตถุสีส้มแดง เช่น ปลาแซลมอน, ปู และกุ้งเป็นต้น โดยสัตว์เหล่านี้ไม่ได้ผลิตแอสต้าแซนทินเอง แต่ได้มาจากอาหารที่กินคือสาหร่าย และแพลงตอนที่ผลิตแอสต้าแซนทินได้ เช่นเดียวกับนกฟลามิงโกสีชมพูของมันคือแอสต้าแซนทินที่มาจากอาหารของมันคืออาร์ทีเมีย หรือ ไรน้ำเค็ม และสาหร่าย
Haematococcus pluvialis สาหร่ายสีเขียวซึ่งถือว่าเป็นแหล่งแอสต้าแซนทินในปริมาณมากที่สุดที่พบในธรรมชาติ โดยสาหร่ายชนิดนี้จะผลิตแอสต้าแซนทินเมื่อมีสิ่งแวดล้อมที่กดดันมากระตุ้น เช่น การขาดอาหาร, ระดับความเค็มในน้ำมากเกินไป, อุณหภูมิอากาศที่ร้อนจัด และการได้รับรังสียูวีจากแสงอาทิตย์
สาหร่ายผลิตสารแอสต้าแซนทินออกมาเพื่อต้านความกดดันต่างๆจากสิ่งแวดล้อม และทำให้มันสามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ในภาวะสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของประโยชน์ของแอสต้าแซนทินซึ่งประโยชน์ที่เด่นชัดมากคือ การต้านออกซิเดชั่น
ประโยชน์ที่เป็นจุดเด่นของแอสต้าแซนทิน
- มีความสามารถในการต้านออกซิเดชั่นสูงมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งการต้านออกซิเดชั่นที่เกิดจากรังสียูวีที่ทำให้ออกซิเจนกลายเป็นออกซิเจนอะตอมอิเล็กตรอนเดี่ยว(Singlet Oxygen) โดย แอสต้าแซนทินมีประสิทธิภาพในการต้าน singlet oxygen ทั้งในสารละลายน้ำและน้ำมันได้มากกว่าสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นๆหลายตัวได้แก่ วิตามินอี เบ้ต้าแคโรทีน แคโรทีนอยด์อื่นๆ โพลีฟีนอล วิตามินซี โคเอ็นไซม์คิวเท็น และอัลฟาไลโปอิกเป็นต้น
กำจัดอนุมูลเปอร์ออกซิล อนุมูลไฮดรอกซิล และกรดไฮโปคลอรัส(เกิดจากการกำจัดสิ่งแปลกปลอมของเม็ดเลือดขาว)ได้ดีกว่าวิตามินอี ลูทีน ไลโคปีน และเบต้าแคโรทีนและสามารถยับยั้งการออกซิเดชั่นของไขมันที่เกิดจากอนุมูลเปอร์ออกซิลได้มากกว่าวิตามินอี 100 เท่า
- มีโครงสร้างทั้งในส่วนที่ละลายน้ำและน้ำมันจึงสามารถปกป้องเซลล์ตั้งแต่เยื้อหุ้มเซลล์ชั้นนอก(น้ำ) จนไปถึงเยื้อหุ้มเซลล์ชั้นใน(ไขมัน) และยังมีส่วนช่วยให้ร่างกายดูดซึมได้ดีกว่ากลุ่มแคโรทีนซึ่งมีแต่ส่วนละลายน้ำมันอย่างเดียว เช่นเบต้าแคโรทีน และไลโคปีน
- ไม่เป็นโปรออกซิเดนท์(Pro oxidant) ซึ่งโปร-ออกซิเดนท์คือ สารที่เมื่อไปยับยั้งการเกิดออกซิเดชั่นแล้วตัวเองกลายเป็นตัวออกซิไดซ์หรืออนุมูลอิสระซะเองถ้าไม่มีสารอื่นมาทำให้กลับมาเป็นสภาพเดิมจะทำให้เกิดภาวะเครียดออกซิเดชั่นภายในร่างกาย ตัวอย่างสารต้านอนุมูลอิสระที่มีคุณสมบัติเป็นโปรออกซิเดนท์ได้แก่ วิตามินซี, วิตามินอี และเบต้าแคโรทีน เป็นต้น ซึ่งการได้รับวิตามินซี, วิตามินอี และเบต้าแคโรทีนตัวใดตัวหนึ่งในปริมาณมากๆอาจก่อให้เกิดผลเสียในร่างกายได้
- เพิ่มความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระภายในร่างกาย(Endogenous antioxidant defense)โดยกระตุ้นการแสดงออกของเอนไซม์ภายในร่างกายที่ทำหน้าที่ต้านออกซิเดชั่น
- ป้องกันโรคเนื่องจากภาวะเมตาบอลิซึม(metabolic syndrome) โรคทางเมตาบอลิซึม คือโรคที่ร่างกายเรามีกระบวนการเมตาบอลิซึมที่ผิดไป (บ้านเราอาจเรียกว่าโรคอ้วนลงพุง) ร่างกายผลิตอนุมูลอิสระมากผิดปรกติ มีการอักเสบเพิ่มมากขึ้น เกิดภาวะดื้ออินซูลินทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปรกติ และมีการสะสมของไขมันตามส่วนต่างๆ เช่นหลอดเลือด ตับ ซึ่งจะก่อให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคไขมันพอกตับ และโรคเบาหวานเป็นต้น ภาวะเครียดออกซิเดชั่นเป็นรากฐานสาเหตุของการเกิดโรคทางเมตาบอลิซึม เนื่องจากแอสต้าแซนทินเป็นสารที่มีความสามารถในการต้านออกซิเดชั่นสูงจึงอาจมีส่วนช่วยในการป้องกัน หรือบรรเทาโรคนี้ได้
- ลดริ้วรอยแห่งวัย ดูแลสุขภาพผิว และปกป้องผิวจากแสงแดด โดยได้มีการศึกษาทางคลีนิคโดยให้ผู้ทดสอบรับประทานแอสต้าแซนทินในปริมาณ 2-6 มก. ต่อวันจะทำให้สุขภาพผิวดีขึ้น และลดริ้วรอยต่างๆได้
pic from www.bioreal.se
- ดูแลสุขภาพตา โดยจากการศึกษาพบว่าการรับประทานแอสต้าแซนทิน4-6 มก. ต่อวันสามารถป้องกันอาการล้าของตา (โรค Asthenopia) อาการล้าของตาจะมีอาการปวดรอบดวงตา ปวดศรีษะ มองเห็นภาพซ้อน ซึ่งอาการนี้มักเกิดจากการใช้สายตาจากการอ่านหนังสือ หรือใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน โดยแอสต้าแซนทินจะช่วยให้ตาเราปรับโฟกัส(accommodation) ในการรับภาพได้ดีขึ้นจึงช่วยลดอาการล้าของตา และยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่มาเลี้ยงดวงตา และลดอาการอักเสบที่เกิดขึ้นที่ดวงตาได้
http://herbalalchemyst.wordpress.com/tag/linus-pauling-institute-micronutrient-research-for-optimum-health/ |
- ปกป้องสมอง โดยต้าน และกำจัดอนุมูลอิสระที่จะมาทำลายสมองจึงมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับสมองเสื่อม เช่นโรคความจำเสื่อม(dementia) และอัลไซเมอร์
http://www.worldhealth.net/news/astaxanthin-helps-promote-brain-health/ |
ที่มา
Wikipedia.(2013). Astaxanthin(online). Available : http://en.wikipedia.org/wiki/Astaxanthin[October 28, 2013]
Shimidzu N, Goto M, and Miki W. Carotenoids as singlet oxygen quenchers in marine organisms. Fisheries Science. 1996; 62:134-7.
Bagchi, D. (2001). Oxygen free radical scavenging abilities of vitamins c, e, β-carotene, pycnogenol, grape seed proanthocyanidin extract and astaxanthins in vitro. Pharmacy Sciences Creighton University School of Health Sciences.
Yang, Y., Kim, B., & Lee, J. Y. (2013). Astaxanthin Structure, Metabolism, and Health Benefits.
Guerin, M., Huntley, M. E., & Olaizola, M. (2003). < i> Haematococcus</i> astaxanthin: applications for human health and nutrition. TRENDS in Biotechnology, 21(5), 210-216.
Yamashita, E. Astaxanthin as a Medical Food. Functional Foods in Health and Disease 2013; 3(7):254-258
Yamashita, E., (2002), Cosmetic benefit of the supplement health food combined astaxanthin and tocotrienol on human skin. Food Style 21 6(6):112-117.
Yamashita, E., (2006), The Effects of a Dietary Supplement Containing Astaxanthin on Skin Condition. Carotenoid Science, 10:91-95.
Nagaki Y., et al., (2002). Effects of astaxanthin on accommodation, critical flicker fusions, and pattern evoked potential in visual display terminal workers. J. Trad. Med., 19(5):170-173.
Sawaki, K. et al. (2002) Sports performance benefits from taking natural astaxanthin characterized by visual activity and muscle fatigue improvements in humans. J. Clin. Ther. Med., 18(9):73-88.
Nakamura et al. (2004). Changes in Visual Function Following Peroral Astaxanthin. Japan J. Clin. Opthal., 58(6):1051-1054.
Nitta et al. (2005). Effects of astaxanthin on accommodation and asthenopia – Dose finding study in healthy volunteers. J. Clin. Therap. Med., 21(6):637-650.
Shiratori et al. (2005). Effect of astaxanthin on accommodation and asthenopia – Efficacy identification study in healthy volunteers. J. Clin. Therap. Med., 21(5):543-556.
Nagaki et al., (2006). The supplementation effect of astaxanthin on accommodation and asthenopia. J. Clin. Therap. Med., 22(1):41-54.
Iwasaki & Tawara, (2006). Effects of Astaxanthin on Eyestrain Induced by Accommodative Dysfunction. Journal of Eye (Atarashii Ganka) (6):829-834.
Nakagawa, K., Kiko, T., Miyazawa, T., Carpentero Burdeos, G., Kimura, F., Satoh, A., & Miyazawa, T. (2011). Antioxidant effect of astaxanthin on phospholipid peroxidation in human erythrocytes. British Journal of Nutrition,105(11), 1563-1571.
Capelli, R., & Cysewski, G. R. (2011). The Neuroprotective Effect of Astaxanthin.