วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ชาเขียว กับ การกำจัดสารพิษ


ชาเป็นเครื่องดื่มที่มีการบริโภคมากเป็นอันดับสองรองจากน้ำเปล่า  ชาเชียวคือชาที่ไม่ผ่านกระบวนการหมักทำให้ใบชายังคงมีสีเขียวอยู่ และยังคงมีปริมาณคาทิชินชนิดอีจีซีจี (EGCG) อยู่สูงซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติในการต้านออกซิเดชั่น  ชาวจีนโบราณได้ทราบถึงประโยชน์ของการรับประทานชาเขียวและได้มีการนำชาเขียวมาใช้ในการแพทย์แผนโบราณสำหรับอาการปวด ระบบย่อยอาหาร อาการซึมเศร้า การขจัดสารพิษ ฟื้นฟูกำลัง และดูแลสุขภาพทั่วไปเพื่ออายุที่ยืนยาว(1)

ปัจจุบันคุณประโยชน์ของชาเขียว หรือสารสกัดของชาเขียวได้เป็นที่สนใจมากขึ้นเนื่องจากมีการศึกษาวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง และโรคหัวใจ รวมทั้งคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ, ต้านอักเสบ, ต้านแบคทีเรีย, ต้านไวรัส, ปกป้องสมอง, เพิ่มการเผาผลาญพลังงาน และอื่นๆ(2)

คุณสมบัติเด่นของชาเขียวคือการต้านออกซิเดชั่น และอนุมูลอิสระ ซึ่งคุณสมบัตินี้สามารถช่วยร่างกายกำจัดสิ่งที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และยังช่วยปกป้องให้การทำงานต่างๆของร่างกายให้เป็นไปอย่างปรกติ  การกำจัดสารพิษก็เป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่ถูกออกแบบมาเพื่อกำจัดอันตรายต่อร่างกายซึ่งแน่นอนว่าด้วยคุณสมบัติของชาเขียวนั้นสามารถทำให้มันมีส่วนช่วยในระบบกำจัดสารพิษของเราได้
Photo CR: http://www.myhealthtips.in/2013/06/
amazing-health-benefits-of-green-tea.html

ชาเขียวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดสารพิษของตับ

เพิ่มประสิทธิภาพของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการต้านอนุมูลอิสระ(เช่น กลูต้าไธโอนเปอร์ออกซิเดส) และการกำจัดพิษขั้นที่ 2 (เช่น กูลต้าไธโอน เอส ทรานเฟอเรส)ได้(3,4)  นอกจากนี้เคยมีการศึกษาในอาสาสมัครสุขภาพดีที่ให้รับประทานคาทิชินจากชาเขียวเทียบเท่ากับปริมาณการดื่มชาเขียว 8-16 ถ้วยเป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าหลังจากการได้รับสารสกัดแล้วอาสาสมัครมีปริมาณเอนไซม์กูลต้าไธโอนเอสทรานเฟอเรส หรือ GST สูงกว่าก่อนได้รับสารสกัด รวมถึงกิจกรรมการทำงานของเอนไซม์ที่เพิ่มขึ้นด้วย(5)

ชาเขียวช่วยลดความเป็นพิษของสารพิษต่างๆต่อร่างกาย

อะฟลาทอกซิน
อัลฟาทอกซินเป็นสารพิษที่ผลิตจากเชื้อรา Aspergilus flavus และ Aspergilus parasiticus ซึ่งเป็นเชื้อราที่เจริญได้ดีในภูมิอากาศร้อนชื้นอย่างเช่นประเทศเรา  และมักพบปนเปื้อนในอาหารประเภทธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง สมุนไพร และเครื่องเทศเป็นต้น  อัลฟาทอกซินถูกจัดให้เป็นสารก่อมะเร็งต่อมนุษย์ในกลุ่มที่ 1 ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดโรคมะเร็งตับ
มีการศึกษาในพื้นที่ประชากรจีนที่มีอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งตับสูงซึ่งเป็นไปได้ว่าพฤติกรรมความเป็นอยู่และอาหารการกินมีผลต่อการเกิดโรคมะเร็งตับ  โดยจุดประสงค์การศึกษาเพื่อต้องการทราบประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดมะเร็งตับของโพลีฟีอนอลจากชาเขียว (green tea polyphenol)  โดยแบ่งกลุ่มให้มีกลุ่มตัวอย่างหลอก และกลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากชาเขียวในปริมาณต่างๆกัน พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากชาเขียวจะมีปริมาณอนุพันธ์ของอะฟลาทอกซินในเลือด และปัสสาวะต่ำกว่ากลุ่มตัวอย่งหลอก  ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโพลีฟีนอลจากชาเขียวสามารถลดการเมตาบอลิซึมของสารอะฟลาทอกซินได้(6)

สารก่อมะเร็งจากการปรุงอาหาร
เฮเทอโรไซคลิกเอมีน คือสารก่อมะเร็งที่เกิดจากสารประกอบโปรตีนผ่านความร้อนสูง  มีการศึกษาหลายการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าสารโพลีฟีนอลในชาเขียวสามารถลดความเป็นพิษของสารนี้ได้ เช่นคาทิชินในชาเขียวซึงได้แก่ ECG และ EGCG สามารถยับยั้งการกลายพันธุ์ของเซลล์แบคทีเรียที่ถูกกระตุ้นด้วยสารก่อมะเร็งกลุ่ม HCA ที่มีชื่อว่า N-hydroxy-IQ  ด้วยความสามารถในการจับอนุมูลอิสระ และการยับยั้งเอนไซม์ที่เปลี่ยน N-hydroxy-IQ ให้อยู่ในรูปไวต่อปฏิกิริยาได้(7)

สารก่อมะเร็งอื่นๆ
โพลีฟีนอลในชาเขียวสามารถยับยั้งการกระตุ้นของสาร NmethylNnitrosourea ให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่  และลดการเจริญของเนื้องอกที่จะพัฒนาไปเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะที่ถูกกระตุ้นด้วยสารก่อมะเร็งกลุ่มไนโตรซามีน  N-butyl-(-4-hydroxybutyl) nitrosamine (BBN) ได้ในหนูทดลอง(8,9)
ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งจากสารเคมีที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม เช่น PCP (Pentachlorophenol)10

ยาปราบแมลง และยากำจัดศัตรูพืช
ลดความเป็นพิษต่อตับและไตจากยากำจัดแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตที่มีชื่อว่า fenitrothion ซึ่งเป็นยาที่นิยมใช้ในการกำจัดศัตรูข้าว(11)  หรือความเป็นพิษต่อตับของยากำจัดตัวอ่อนหรือหนอนของแมลง เช่น  cyromazine และ chlorpyrifos(12) ได้ในหนูทดลอง

รังสี
รังสีคือพลังงานที่ปล่อยออกมาจากแหล่งกำเนิดต่างๆ เช่น รังสียูวีจากดวงอาทิตย์, รังสีเอกซ์จากหลอดเอ็กซ์เรย์ และรังสีแกมม่าจากธาตุกัมมันตรังสีเป็นต้น  รังสีมีคุณสมบัติในการทะลุทะลวงผ่านเนื้อเยื้อต่างๆได้ดี และกระตุ้นให้เกิดการแตกตัวเป็นอิอนได้ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะทำลายเซลล์ต่างๆภายในร่างกายเราได้
มีการศึกษาพบว่าโพลีฟีนอลในชาเขียวมีคุณสมบัติในการต้านการทำลายเซลล์จากรังสีต่างๆได้ เช่นรังสียูวี(13,14), รังสีแกมม่า(15,16) และ รังสีเอ็กซื(17)  ได้

โลหะหนัก
เมื่อเราได้รับโลหะหนัก มันจะเข้าไปลดหรือยับยั้งการทำงานของเอนไซม์บางเอนไซม์ภายในร่างกายเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการการต้านออกซิเดชั่นดังเช่นการศึกษาในหนูทดลองที่ให้ได้รับโลหะหนักจากตะกั่วแล้วพบว่าเนื้อเยื้อตับมีการทำงานของเอนไซม์ SOD และ GST ลดลง รวมถึงการลดลงของระดับของกูลต้าไธโอน (GSH) ด้วย  ซึ่งการลดลงนี้ส่งผลให้เนื้อเยื้อตับถูกทำลายซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นพิษต่อตับของโลหะหนักตะกั่ว  และเมื่อให้สารสกัดจากชาเขียวพร้อมกับโลหะหนักตะกั่วพบว่าการสะสมของตะกั่วในเนื้อเยื้อตับลดลง, การทำงานของเอนไซม์ SOD และ GST เพิ่มขึ้นกว่าหนูที่ได้รับโลหะหนักตะกั่วเพียงอย่างเดียวทั้งเนื่องจากคุณสมบัติในการต้านออกซิเดชั่นของชาเขียว18

มลภาวะ
มลภาวะทางอากาศภายนอกบ้าน เช่น ไอเสียจากรถยนต์, โรงงานอุตสาหกรรม และการเผาไหม้ต่างๆ จัดเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์19   ด้วยคุณสมบัติในการต้านออกซิเดชั่น และป้องกันมะเร็งของชาเขียวจึงมีส่วนช่วยในการป้องกันความเป็นพิษจากมละภาวะเหล่านี้ได้

ชาเขียวช่วยปกป้องอวัยวะกำจัดสารพิษอื่นๆ

นอกจากตับ แล้วไตก็ถือเป็นอวัยที่สำคัญในการกำจัดสารพิษ  สารสกัดจากชาเชียวมีคุณสมบัติในการลดการเกิดก้อนนิ่วในไตทั้งการศึกษาในหลอดทดลอง และสัตว์ทดลอง20,21 

การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันก็ถือว่าสำคัญในการปกป้องเหล่าจากสิ่งแปลกปลอม หรือสารพิษต่างๆ  สารสกัดจากชาเขียวมีส่วนช่วยให้การทำงานของภูมิคุ้มกันในร่างกายดีขึ้น22

ที่มา

  1. Cabrera, C., Artacho, R., & Giménez, R. (2006). Beneficial effects of green tea—a review. Journal of the American College of Nutrition, 25(2), 79-99.
  2. Chacko, S. M., Thambi, P. T., Kuttan, R., & Nishigaki, I. (2010). Beneficial effects of green tea: a literature review. Chin med, 5(13), 1-9.
  3. Khan, S. G., Katiyar, S. K., Agarwal, R., & Mukhtar, H. (1992). Enhancement of antioxidant and phase II enzymes by oral feeding of green tea polyphenols in drinking water to SKH-1 hairless mice: possible role in cancer chemoprevention.Cancer Research, 52(14), 4050-4052.
  4. Na, H. K., & Surh, Y. J. (2008). Modulation of Nrf2-mediated antioxidant and detoxifying enzyme induction by the green tea polyphenol EGCG. Food and Chemical Toxicology, 46(4), 1271-1278.
  5. Chow, H. H. S., Hakim, I. A., Vining, D. R., Crowell, J. A., Tome, M. E., Ranger-Moore, J., ... & Alberts, D. S. (2007). Modulation of human glutathione s-transferases by polyphenon e intervention. Cancer Epidemiology Biomarkers & Prevention, 16(8), 1662-1666.
  6. Tang, L., Tang, M., Xu, L., Luo, H., Huang, T., Yu, J., ... & Wang, J. S. (2008). Modulation of aflatoxin biomarkers in human blood and urine by green tea polyphenols intervention. Carcinogenesis, 29(2), 411-417.
  7. Hernaez, J., Xu, M., & Dashwood, R. (1997). Effects of tea and chlorophyllin on the mutagenicity of N-hydroxy-IQ: studies of enzyme inhibition, molecular complex formation, and degradation/scavenging of the active metabolites.Environmental and molecular mutagenesis, 30(4), 468.
  8. Narisawa, T., & Fukaura, Y. (1993). A very low dose of green tea polyphenols in drinking water prevents NmethylNnitrosoureainduced colon carcinogenesis in F344 rats. Cancer Science, 84(10), 1007-1009.
  9. Sagara, Y., Miyata, Y., Nomata, K., Hayashi, T., & Kanetake, H. (2010). Green tea polyphenol suppresses tumor invasion and angiogenesis in N-butyl-(-4-hydroxybutyl) nitrosamine-induced bladder cancer. Cancer epidemiology, 34(3), 350-354.
  10. Umemura, T., Kai, S., Hasegawa, R., Kanki, K., Kitamura, Y., Nishikawa, A., & Hirose, M. (2003). Prevention of dual promoting effects of pentachlorophenol, an environmental pollutant, on diethylnitrosamine-induced hepato-and cholangiocarcinogenesis in mice by green tea infusion. Carcinogenesis, 24(6), 1105-1109.
  11. Elhalwagy, M. E., Darwish, N. S., & Zaher, E. M. (2008). Prophylactic effect of green tea polyphenols against liver and kidney injury induced by fenitrothion insecticide. Pesticide biochemistry and physiology, 91(2), 81-89.
  12. HEIKAL, T. M., MOSSA, A. T. H., RASOUL, M. A. A., & MAREI, G. I. K. (2013). The ameliorating effects of green tea extract against cyromazine and chlorpyrifos induced liver toxicity in male rats. changes, 5, 9.
  13. Morley, N., Clifford, T., Salter, L., Campbell, S., Gould, D., & Curnow, A. (2005). The green tea polyphenol (−)epigallocatechin gallate and green tea can protect human cellular DNA from ultraviolet and visible radiationinduced damage. Photodermatology, photoimmunology & photomedicine, 21(1), 15-22.
  14. Heinrich, U., Moore, C. E., De Spirt, S., Tronnier, H., & Stahl, W. (2011). Green tea polyphenols provide photoprotection, increase microcirculation, and modulate skin properties of women. The Journal of nutrition, 141(6), 1202-1208.
  15. Nada, A. S., Amin, N. E., Aziz, M. M., Ain-Shoka, A., & Abdel-Latif, H. A. (2012). Green Tea attenuates some biochemical disorders induced by γ-irradiation in male rats.
  16. Davari, H., Haddad, F., Moghimi, A., Rahimi, M. F., & Ghavamnasiri, M. R. (2012). Study of radioprotective effect of green tea against gamma irradiation using micronucleus assay on binucleated human lymphocytes. Iranian journal of basic medical sciences, 15(5), 1026.
  17. Zhu, W., Xu, J., Ge, Y., Cao, H., Ge, X., Luo, J., ... & Cao, J. (2014). Epigallocatechin-3-gallate (EGCG) protects skin cells from ionizing radiation via heme oxygenase-1 (HO-1) overexpression. Journal of Radiation Research, rru047.
  18. Mehana, E. E., Meki, A. R., & Fazili, K. M. (2012). Ameliorated effects of green tea extract on lead induced liver toxicity in rats. Experimental and toxicologic pathology, 64(4), 291-295.
  19. IARC: outdoor air pollution a leading environmental cause of cancer deaths. IARC, 2013: press release (17-10-2013), (PDF), 78 KB
  20. Itoh, Y., Yasui, T., Okada, A., Tozawa, K., Hayashi, Y., & Kohri, K. (2005). Preventive effects of green tea on renal stone formation and the role of oxidative stress in nephrolithiasis. The Journal of urology, 173(1), 271-275.
  21.  Jeong, B. C., Kim, B. S., Kim, J. I., & Kim, H. H. (2006). Effects of green tea on urinary stone formation: an in vivo and in vitro study. Journal of endourology,20(5), 356-361.
  22. Bukowski, J. F. (2013). Role of Green Tea Polyphenols in Strengthening the Immune System. Green Tea Polyphenols: Nutraceuticals of Modern Life, 223.