คลอโรฟิลล์
คลอโรฟิลล์ คือ รงค์วัตถุสีเขียวที่สังเคราะห์โดยพืชเท่านั้น
โดยจะพบในสาหร่าย พืชใบเขียวชนิดต่างๆ และ น้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้น(1)
คลอโรฟิลลิ์ที่พบในธรรมชาติจะอยู่ในรูป คลอโรฟิลล์เอ บี ซี และดี
โดยรูปเอ และบีจะพบมากที่สุด
โครงสร้างของคลอโรฟิลล์จะคล้ายโครงสร้างของฮีม(heme)ในเม็ดเลือดแดง
โดยที่ใจกลางของคลอโรฟิลล์จะเป็นธาตุแมกนีเซียม(Mg)
แต่ใจกลางของฮีมในเม็ดเลือดแดงจะเป็นธาตุเหล็ก(Fe)
รูปแสดงโครงสร้างคลอโรฟิลล์ คลอโรฟิลล์เอ และบี แตกต่างกันตรงหมู่ที่มาต่อที่ตำแหน่ง R1 และ R2 ส่วนคลอโรฟิลล์ซี และดีต่างกันตรงที่หมู่ที่มาต่อตรงตำแหน่ง R3(1) |
รูปแสดงโครงสร้างฮีมในเม็ดเลือดแดง |
เคยสงสัยไหมว่าทำไมเวลานำผักใบเขียวเมื่อนำไปผัดหรือต้มแล้วสีผักต้องเปลี่ยนจากเขียวสดเป็น
เขียวอมเหลือง หรือเหลืองน้ำตาลถ้าโดนความร้อนนานๆ ทั้งนี้เนื่องจากความร้อนทำให้กรดในเซลล์ของผักหลุดออกมาทำให้มีสภาพเป็นกรด
ส่งผลให้แมกนีเซียมอะตอมหลุดออกจากโครงสร้างคลอโรฟิลล์กลายเป็นฟีโอไฟติน(Phaeophytin) และ
ฟีโอฟอร์ไบรด์(Phaeophorbride)ในที่สุด ซึ่งทั้งฟีโอไฟตินจะมีสีเขียวอมเหลืองคล้ายผลมะกอก
และ ฟีโอฟอร์ไบรด์เป็นรงควัตถุที่มีสีเหลืองน้ำตาล
การเปลี่ยนแปลงของสีนี้ทำให้ผักมีสีดูไม่น่ารับประทาน
แต่ถ้าใครเคยทำกับข้าวอาจพอจะทราบเคล็ดลับอยู่บ้างว่าให้ลวกผักด้วยน้ำที่ใส่เกลือก่อนนำไปประกอบอาหารจะทำให้ผักสีเขียวสดดูน่ารับประทาน
ทั้งนี้เนื่องจากโซเดียมจากเกลือจะเข้าไปแทนที่ธาตุแมกนีเซียมที่หลุดออกไปทำให้คลอโรฟิลล์กลายเป็นคลอโรฟิลลิน(Chlorophyllin)ซึ่งทำให้ผักมีสีเขียวสดใสกว่าผักที่ยังไม่ได้ลวกเสียอีก
ภาพแสดงการเปลี่ยนสีของคลอโรฟิลล์ที่สภาวะต่างๆ |
โดยปรกติคลอโรฟิลล์เป็นรงควัตถุที่ละลายในน้ำมัน
และสลายตัวได้ง่ายเนื่องจากความเป็นกรด ความร้อน แสง และออกซิเจน (2) จึงได้มีการปรับปรุงคลอโรฟิลล์โดยไปทำปฏิกิริยากับเกลือจนได้คลอโรฟิลลินซึ่งมีคุณสมบัติที่ละลายในน้ำได้
และมีความคงตัวมากกว่าคลอโรฟิลล์
ประโยชน์ของคลอโรฟิลล์
รวมถึงอนุพันธ์ของคลอโรฟิลล์ต่อร่างกาย
ต้านอนุมูลอิสระ
- จับอนุมูลอิสระไฮดรอกซิลได้ดีมาก(3)จึงสามารถปกป้องไมโตคอนเดรียจากอนุมูลอิสระได้เนื่องจากโดยปรกติในกระบวนการเมตาบอลิซึมไมโตคอนเดรียจะผลิตอนุมูลอิสระซุปเปอร์ออกไซด์อิออนลบ(superoxide anion radical (O2*-)) ซึ่งจะกลายเป็นอนุมูลอิสระไฮดรอกซิลในที่สุด
- จับออกซิเจนอะตอมเดี่ยว(Singlet Oxygen)(3) ซึ่งเป็นอนุมูลอิสระที่เกิดจากแสง และรังสี เช่นรังสียูวี
- จับอิออนเหล็ก(Fe2+)(4) ซึ่งเป็นอิออนอิสระที่เป็นสาเหตุของการเกิดออกซิเดชั่นไขมันในร่างกาย
- ป้องกันไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์(H2O2)ทำลายดีเอ็นเอ(4) ซึ่งไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เป็นผลพลอยได้ที่เกิดจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกาย
ต้านมะเร็ง
- จับสารก่อมะเร็งที่ร่างกายได้รับจากอาหาร หรือ มลพิษต่างๆ ให้เป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่ร่างกายดูดซึมได้ยากจึงไม่เกิดการสะสมของสารก่อมะเร็งในร่างกาย ตัวอย่างสารก่อมะเร็งที่คอลโรฟิลล์สามารถเข้าจับได้ดี(1)เช่น
- อัลฟาท๊อกซิน(Aflatoxin-B1)จากเชื้อรา ซึ่งมักพบในเครื่องเทศ และอาหารแห้งต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเขตร้อนชื้นจะมีโอกาสปนเปื้อนในอาหารมาก โดยมีการศึกษาพบว่าคลอโรฟิลล์ และ คลอโรฟิลลินสามารถลดการดูมซึมสารอัลฟาท๊อกซินในร่างกายได้(5)
- เฮเทอโรไซคลิกเอมีน(HCA)(6)จากเนื้อสัตว์ปรุงสุกด้วยความร้อนสูง
- โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน(PAH)(7-8) จากมลภาวะ เขม่า ควัน โดยเฉพาะ ควันบุหรี่
- ยับยั้งการเจริญ และกระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็ง เช่นมะเร็งเต้านม(9)
- ลดความเสียงในการเป็นมะเร็งตับ(10) และมะเร็งลำใส้ใหญ่(11) เนื่องจากความสามารถในการจับกับสารก่อมะเร็งต่างๆ
กำจัดสารพิษ
- จับสารพิษต่างๆที่ร่างกายได้รับทำให้ร่างกายดูดซึมได้น้อยลง(1) และขับออก เช่น
- สารก่อมะเร็ง(ดังที่กล่าวในข้างต้น)
- โลหะหนัก เนื่องจากคลอโรฟิลล์มีวงแหวนพอร์ไฟริน(Porphyrin) ซึ่งมีความสามารถในการจับกับโลหะที่มีประจุได้ เช่น ปรอท(12), แคดเมียม, ตะกั่ว และสารหนู(13)
- ไดออกซิน(14) ซึ่งเกิดจากขั้นตอนในกระบวนการทางอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่มีการใช้คลอรีน เช่น การเผาขยะ โรงงานเคมี และย่าฆ่าแมลง การฟอกขาว โรงงานผลิตพลาสติกเป็นต้น
- กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ NAD(P)H: quinone oxidoreductase 1(NQO1)ซึ่งเกี่ยวข้องกับการกำจัดสารพิษในขั้นที่2 ของร่างกาย (Phase II detoxify enzyme)(15)
- ช่วยตับกำจัดสารพิษโดยเข้าไปเป็นผู้ช่วยจับสารพิษ ลดภาระของเอนไซม์ glutathione transferase ในการกำจัดสารพิษขั้นที่ 2 ของร่างกาย(16)
โลหิตจาง
เนื่องจากคลอโรฟิลล์มีโครงสร้างหลักที่เหมือนฮีมในเม็ดเล็ดแดงจึงมีส่วนช่วยในการสร้างเลือดใหม่บรรเทาภาวะเลือดจางได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ารับประทานร่วมกับธาตุเหล็ก(17)
ลดความเสี่ยงการเกิดนิ่วในไต
ยับยั้งการโตของแคลเซียมออกซาเลต(Calcium oxalate)
ซึ่งเป็นสาเหตุของนิ่วในไต(Kidney stone)(1)
ประโยชน์อื่นๆ(1)
- กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
- ต้านอักเสบ
- สมานแผล
- ระงับกลิ่นปาก ลมหายใจที่มีกลิ่น และกลิ่นตัว
- รักษาระดับความดันเลือดให้ปรกติ
- กำจัดเชื้อราในร่างกาย
ที่มาของข้อมูล
- A.L. Inanç, “Chlorophyll: Structural properties, health benefits and its occurrence in virgin olive oils,” Akademik Gıda (Academic Food Journal), vol. 9, pp. 26–32, 2011.
- Erge, H.S. and Karadeniz, F., Koca, N., Soyer, Y. 2008. Effect of heat treatment on chlorophyll degradation and color loss in green peas. Gıda Dergisi, 5: 225-233
- Kamat, J. P., Boloor, K. K., & Devasagayam, T. (2000). Chlorophyllin as an effective antioxidant against membrane damage in vitro and ex vivo. Biochimica et Biophysica Acta (BBA)-Molecular and Cell Biology of Lipids, 1487(2), 113-127.
- Hsu, C. Y., Chao, P. Y., Hu, S. P., & Yang, C. M. (2013). The Antioxidant and Free Radical Scavenging Activities of Chlorophylls and Pheophytins. Food and Nutrition, 4, 1-8.
- Jubert, C., Mata, J., Bench, G., Dashwood, R., Pereira, C., Tracewell, W., ... & Bailey, G. (2009). Effects of chlorophyll and chlorophyllin on low-dose aflatoxin B1 pharmacokinetics in human volunteers. Cancer prevention research, 2(12), 1015-1022.
- Mauthe, R. J., Snyderwine, E. G., Ghoshal, A., Freeman, S. P., & Turteltaub, K. W. (1998). Distribution and metabolism of 2-amino-1-methyl-6-phenylimidazo [4, 5-b] pyridine (PhIP) in female rats and their pups at dietary doses.Carcinogenesis, 19(5), 919-924.
- Pratt, M. M., Reddy, A. P., Hendricks, J. D., Pereira, C., Kensler, T. W., & Bailey, G. S. (2006). The importance of carcinogen dose in chemoprevention studies: quantitative interrelationships between, dibenzo [a, l] pyrene dose, chlorophyllin dose, target organ DNA adduct biomarkers and final tumor outcome. Carcinogenesis, 28(3), 611-624.
- Castro, D. J., Löhr, C. V., Fischer, K. A., Waters, K. M., Webb-Robertson, B. J. M., Dashwood, R. H., ... & Williams, D. E. (2009). Identifying efficacious approaches to chemoprevention with chlorophyllin, purified chlorophylls and freeze-dried spinach in a mouse model of transplacental carcinogenesis.Carcinogenesis, 30(2), 315-320.
- Chiu, L. C., Kong, C. K., & Ooi, V. E. (2005). The chlorophyllin-induced cell cycle arrest and apoptosis in human breast cancer MCF-7 cells is associated with ERK deactivation and Cyclin D1 depletion. International journal of molecular medicine, 16(4), 735.
- Egner, P. A., Wang, J. B., Zhu, Y. R., Zhang, B. C., Wu, Y., Zhang, Q. N., ... & Kensler, T. W. (2001). Chlorophyllin intervention reduces aflatoxin–DNA adducts in individuals at high risk for liver cancer. Proceedings of the National Academy of Sciences, 98(25), 14601-14606.
- Guo, D., Schut, H. A., Davis, C. D., Snyderwine, E. G., Bailey, G. S., & Dashwood, R. H. (1995). Protection by chlorophyllin and indole-3-carbinol against 2-amino-1-methyl-6-phenylimidazo [4, 5-b] pyridine (PhIP)-induced DNA adducts and colonic aberrant crypts in the F344 rat. Carcinogenesis, 16(12), 2931-2937.
- Han-Joon Hwang, H. J. H., & Soon-Mi Shim, S. M. S. (2008). Impact of sodium copper chlorophyllin on mercury absorption using an in vitro digestion with human intestinal cell model. Food Science and Biotechnology, 17(3), 564-568.
- Shim, S. M. (2012). Chelating effect of leek (Allium tuberosum Rottler ex Sprengel) containing chlorophyll on Cd, Pb, and As. Journal of the Korean Society for Applied Biological Chemistry, 55(2), 311-315.
- Morita, K., Ogata, M., & Hasegawa, T. (2001). Chlorophyll derived from Chlorella inhibits dioxin absorption from the gastrointestinal tract and accelerates dioxin excretion in rats. Environmental Health Perspectives, 109(3), 289.
- Fahey, J. W., Stephenson, K. K., Dinkova-Kostova, A. T., Egner, P. A., Kensler, T. W., & Talalay, P. (2005). Chlorophyll, chlorophyllin and related tetrapyrroles are significant inducers of mammalian phase 2 cytoprotective genes. Carcinogenesis, 26(7), 1247-1255.
- Singh, N., Verma, P., & Pandey, B. R. (2012). Therapeutic Potential of Organic Triticum aestivum Linn.(Wheat Grass) in Prevention and Treatment of Chronic Diseases: An Overview. International Journal of Pharmaceutical Sciences and Drug Research, 4(1), 10-14.
- PATEK Jr, A. J. (1936). Chlorophyll and regeneration of the blood: Effect of administration of chlorophyll derivatives to patients with chronic hypochromic anemia. Archives of Internal Medicine, 57(1), 73.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น