เมล็ดแฟลกซ์ยอดอาหารของผู้หญิง
แฟลกซ์
เป็นพืชที่มีการเพาะปลูกเพื่อนำไปสกัดน้ำมัน หรือ เยื้อใย(ทำผ้าลินิน)
แคนาดาเป็นประเทศที่มีการปลูกแฟลกซ์มากที่สุด
สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพเมล็ดแฟลกซ์จะเป็นที่รู้จักในการเป็นแหล่งของกรดไขมันโอเมก้า
3 ที่ชื่อว่ากรดอัลฟาไลโนเลนิก (Alpha Linolenic Acid, ALA) และพฤษเคมีที่ชื่อว่า
ลิกแนน (Lignan) ซึ่งคุณสมบัติเป็นไฟโตเอสโตรเจน
ลิกแนนที่พบมากในเมล็ดแฟลกซ์คือ
ซีโคไอโซลาริซิเรซินอล ไดไกลโคไซด์ (Secoisolariciresinol diglycoside,
SDG) ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็น เอนเทอโรไดออล (Enterodiol) และ เอนเทอโรแลกโตน (Enterolactone) โดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ของมนุษย์ ซึ่งสารทั้งสองนี้มีคุณสมบัติเป็น “ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen)”
ทั้งเอนเทอโรไดออล และ
เอนเทอรโรแลกโตนจะมีฤทธิ์อ่อนๆของเอสโตรเจน และก็มีฤทธิ์อ่อนๆในการต้านการทำงานของเอสโตรเจนด้วย ซึ่งคุณสมบัติในการต้านฤทธิ์ของเอสโตรเจนนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันการเกิดมะเร็งหรือเนื้องอกที่มีสาเหตุจากฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งได้แก่
มะเร็งเต้านมในผู้หญิง และ มะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย
แฟลกซ์ลิกแนนดียังไง
ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรค
ลิกแนนที่พบในเมล็ดแฟลกซ์ รวมถึงอนุพันธ์ต่างๆ
และเมตาบอไลท์ของมันเมื่อเรารับประทานเข้าไปแล้ว
มีคุณสบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีความข้องเกี่ยวกับการลดระดับคลอเลสเตอรอลในเลือด
ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ และเบาหวาน
ป้องกัน และต้านมะเร็งมะเร็งเต้านม
สาเหตุหนึ่งของมะเร็งเต้านมจะเกิดจากการที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไป
หรือเซลล์ในเนื้อเยื้อเต้านมมีความไวต่อฮอร์โมนมากไป
ทำให้เนื้อเยื้อเต้านมที่มีความไวต่อฮอร์โมนนี้เกิดการแบ่งตัว
และเพิ่มจำนวนผิดปรกติจนกลายเป็นเนื้องอก และก่อให้เกิดมะเร็ง
ลิกแนนจากแฟลกซ์เป็นไฟโตเอสโตรเจนจึงมีคุณสมบัติทั้ง
“เสริม” และ “ต้าน” การทำงานของเอสโตรเจน หลายคนอาจจะงง?ว่าถ้ามันเสริมแล้วยิ่งไม่ไปเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งหรือ
ในเมื่อเอสโตรเจนถือว่าเป็นสาเหตุหนึ่งของมะเร็งเต้านม
และยังมีบางการศึกษาที่พบว่าไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลืองซึ่งก็เป็นไฟโตเอสโตรเจนเช่นกันสามารถแสดงคุณสมบัติในการเสริมการทำงานของเอสโตรเจนในผู้เป็นมะเร็งเต้านมได้
มีการศึกษาที่พบว่าเมล็ดแฟลก, เอนเทอโรไดออล
และเอนเทอโรแลกโตน
จะไม่แสดงคุณสมบัติของเอสโตรเจนในผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านม แต่จะแสดงคุณสมบัติในการต้านฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งจะไปลดการเพิ่มจำนวนของเซลล์เนื้องอก
และเพิ่มการตายของเซลล์มะเร็ง
โดยพบว่าผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมที่รับประทานเมล็กแฟลกซ์เสริมจะมีการโตของเนื้องอกน้อยลง
และมีการตายของเซลล์มะเร็งเพิ่มขึ้น
อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นเมล็ดแฟลกซ์มีการปลูกกันมากในประเทศแคนาดา
จึงได้มีการศึกษาในแคนาดาแล้วพบว่าการบริโภคเมล็ดแฟลกซ์สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมได้ซึ่งผลจากการศึกษานี้ทำให้เห็นแนวทางในการป้องกันอุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งเต้านม
ปรับสมดุลฮอร์โมนเพศ
ฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนที่มีประโยชน์ต่อกระบวนการสร้างกระดูก
ระบบการทำงานของหัวใจและสมอง สุขภาพผิว และมะเร็งบางชนิด เช่นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ก็ก่อให้เกิดโทษในเนื้อเยื้อเต้านม
และเยื้อบุมดลูก(endometrium)
ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม และมะเร็งเยื้อบุโพรงมดลูก
ระดับการผลิตฮอร์โมนเพศในผู้หญิงนั้นแต่ละคน
แต่ละวัยจะมีความแตกต่างกัน บ้างมาก บ้างน้อย ทำให้บางช่วงเกิดความไม่สมดุล
และส่งผลต่อทั้งสุขภาพร่างกาย และจิตใจ
ปัจจัยที่ผลต่อระดับการผลิตฮอร์โมนเพศได้แก่ อายุ ความเจ็บป่วย ความเครียด ปัจจัยแวดล้อม
และพันธุกรรม
ลิกแนนจากแฟลกซ์มีคุณสมบัติเป็นไฟโตเอสโตรเจน
ซึ่งสามารถแสดงคุณสมบัติทั้งเสริม
และต้านฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ตามสภาพความเหมะสมของร่างกาย
มีส่วนช่วยป้องกันการอ้วน
ลิกแนนจากแฟลกมีผลต่อการแสดงออกของยีนที่จะไปลดการสะสมไขมันในเนื้อเยื้อในหนูทดลองที่ให้กินอาหารที่มี
ปริมาณไขมันสูง และยังมีการศึกษาในแคนาดาที่พบว่าผู้หญิงที่มีระดับเอนเทอโรแลกโตนสูงจากการบริโภคลิกแนน จะมีดัชนีมวลร่างกาย(BMI) และมวลไขมันต่ำกว่าผู้หญิงที่มีระดับต่ำ
และยังมีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดอีกด้วย
บรรเทาอาการวัยทอง
มีการศึกษาในผู้หญิงวัยทองที่เป็นโรคเบาหวานเพื่อจะดูถึงประสิทธิภาพในการลดดัชนีมวลกาย
และระดับน้ำตาลในเลือดของการรับประทานเมล็ดแฟลกซ์
ซึ่งผลปรากฏว่านอกจากดัชนีมวลกาย และระดับน้ำตาลจะลดลงแล้ว อาการวัยทองซึ่งได้แก่ ร้อนวูบวาบ ภาวะซึมเศร้า
นอนไม่หลับ เหงื่อออกตอนกลางคืน และความรู้สึกปวดแสบปวดร้อน ก็บรรเทาลงด้วย
ดีต่อกระดูก
มีการศึกษาในหนูทดลองพบว่าลิกแนนจากแฟลกซ์สามารถป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกเนื่องจากภาวะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนได้
ลดการเกิดสิว
ถึงแม้ว่าสาเหตุในการเกิดสิวยังไม่เป็นที่สรุปชัดเจน แต่ก็พอจะกล่าวได้ว่า “สมดุลของฮอร์โมน” และ
“เชื้อแบคทีเรีย” ค่อนข้างมีความข้องเกี่ยวกับการเกิดสิว โดยฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญคือ
ฮอร์โมนเอนโดรเจน(ฮอร์โมนเพศชาย) เนื่องจากฮอร์โมนนี้จะกระตุ้นให้มีการเพิ่มการผลิตซีบั่ม(Sebum)ในชั้นผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณหน้า หน้าอก และหลัง
ไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (Dihydrotestosterone,
DHT) เป็น ฮอร์โมนเอนโดรเจนชนิดหนึ่ง
และมีความเกี่ยวข้องกับเกิดสิว การได้รับลิกแนนจากแฟลกซ์สามารถลดการผลิต
DHT จึงอาจช่วยในการลดการเกิดสิวได้
และด้วยคุณสมบัตินี้จึงเป็นประโยชน์ต่อท่านชายที่มีฮอร์โมนเพศชายมากเกินไปจนมีความเสี่ยงในการเป็นต่อมลูกหมากโต
หรือ มะเร็งต่อมลูกหมาก รวมถึงผมร่วงเนื่องจากภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล ซึ่งลิกแนนจากแฟลกจะสามารถปรับระดับฮอร์โมนเพศชายให้สมดุลจึงบรรเทาปัญหาเหล่านี้ได้
ที่มา
Touré, A., & Xueming,
X. (2010). Flaxseed Lignans: Source, Biosynthesis, Metabolism, Antioxidant
Activity, Bio‐Active
Components, and Health Benefits.Comprehensive reviews in food science and
food safety, 9(3),
261-269.
Wang, L. Q. (2002).
Mammalian phytoestrogens: enterodiol and enterolactone.Journal of
Chromatography B, 777(1),
289-309.
Jungeström, M. B.,
Thompson, L. U., & Dabrosin, C. (2007). Flaxseed and its lignans inhibit
estradiol-induced growth, angiogenesis, and secretion of vascular endothelial
growth factor in human breast cancer xenografts in vivo. Clinical Cancer Research, 13(3), 1061-1067.
Lowcock, E. C.,
Cotterchio, M., & Boucher, B. A. (2013). Consumption of flaxseed, a rich
source of lignans, is associated with reduced breast cancer risk. Cancer Causes & Control, 24(4), 813-816.
Gruber, C. J., Tschugguel,
W., Schneeberger, C., & Huber, J. C. (2002). Production and actions of
estrogens. New England Journal
of Medicine, 346(5),
340-352.
Fukumitsu, S., Aida, K.,
Ueno, N., Ozawa, S., Takahashi, Y., & Kobori, M. (2008). Flaxseed lignan
attenuates high-fat diet-induced fat accumulation and induces adiponectin
expression in mice. British
journal of nutrition, 100(03),
669-676.
Morisset, A. S., Lemieux,
S., Veilleux, A., Bergeron, J., John Weisnagel, S., & Tchernof, A. (2009).
Impact of a lignan-rich diet on adiposity and insulin sensitivity in
post-menopausal women. British
journal of nutrition, 102(02),
195-200.
Kapoor, S., Sachdeva, R.,
& Kochhar, A. (2011). Effect of Flaxseed Supplementation on body mass Index
and Blood Glucose Levels of Menopausal Diabetic Females. Journal of Research, 48(1and2), 77-83.
Nahla, E., Thabet, H. A.,
& Ahmed, H. (2013). The effect of supplementation with flaxseed and its
extract on bone health. Nature
& Science, 11(5).
Cappel, M., Mauger, D.,
& Thiboutot, D. (2005). Correlation between serum levels of insulin-like
growth factor 1, dehydroepiandrosterone sulfate, and dihydrotestosterone and
acne lesion counts in adult women. Archives
of dermatology, 141(3),
333-338.
Evans, B. A. J.,
Griffiths, K., & Morton, M. S. (1995). Inhibition of 5α-reductase in
genital skin fibroblasts and prostate tissue by dietary lignans and isoflavonoids. Journal of Endocrinology, 147(2), 295-302.
Bisson, J. F., Hidalgo,
S., Simons, R., & Verbruggen, M. (2014). Preventive Effects of Lignan
Extract from Flax Hulls on Experimentally Induced Benign Prostate Hyperplasia. Journal of medicinal food.