คอลลาเจน สารอาหารผิว
คอลลาเจนที่เป็นส่วนประกอบของผิวเรานั้นไม่ได้มีปริมาณคงที่ตลอด
ปริมาณคอลลาเจนจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสาเหตุปัจจัยต่างๆ เช่น อายุ ฮอร์โมนเพศ โรค
สภาวะร่างกาย และสิ่งแวดล้อมต่างๆ
การลดลงของคอลลาเจนในชั้นผิวเป็นสาเหตุของริ้วรอยและการเสื่อมของสภาพผิว
การรับประทานคอลลาเจนเสริมก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่อาจจะช่วยชลอการลดลงของคอลลาเจนในชั้นผิวได้
|
ผิวสุขภาพดีที่อุดมไปด้วยคอลลาเจน |
|
ผิวสุขภาพไม่ดีที่คอลลาเจนเสื่อมสภาพ |
เครดิตภาพ wisdom33.com
การศึกษาผลของการได้รับคอลลาเจนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพผิว
เพิ่มการสร้างคอลลาเจนในชั้นผิว
จากการศึกษาในหนูทดลองให้รับประทานคอลลาเจนไฮโดรไลเซท เปรียบเทียบกับกลุ่มอ้างอิงที่ให้รับประทานเคซีน(โปรตีนจากนม)
เป็นเวลา 4 สัปดาห์ และทำการตรวจสอบปริมาณคอลลาเจนชนิดที่ 1 และชนิดที่ 4
กับการทำงานของเอนไซม์MMP2 ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่สลายคอลลาเจน พบว่ากลุ่มที่ได้รับคอลเจนไฮโดรไลเซทมีปริมาณคอลลาเจนชนิดที่
1 และ 4 เพิ่มขึ้น และมีการทำงานของเอนไซม์ MMP 2 ลดลง(Zague,
et al., 2011)
กระตุ้นการเพิ่มจำนวน
และการเคลื่อนที่ของเซลล์ไฟโบรบลาสต์
ไฟโบรบาลสต์(fibroblast) เป็นเซลล์ที่มีหน้าที่ในการสังเคราะห์คอลลาเจน
และบทบาทในการสมานแผล จากการศึกษาโดยนำไดเปปไทด์ Pro-Hyp
ที่พบในกระแสเลือดของมนุษย์ภายหลังจากการย่อยคอลลาเจนเปปไทด์มาใส่ในเซลล์ไฟโบรบาลสต์ของผิวหนังหนูทดลองพบว่า
Pro-Hyp สามารถกระตุ้นการเพิ่มจำนวนของไฟโบรบลาสต์
และเหนี่ยวนำให้ไฟโบรบลาสต์เคลื่อนที่เข้ามาหาเพื่อทำการสังเคราะห์คอลลาเจน(shigemura,
et al., 2009)
เพิ่มความแข็งแรงของผิวโดยเพิ่มขนาดและความแน่นของใยคอลลาเจน(collagen
fiber)
และเซลล์ไฟโบรบลาสต์
จากการศึกษาในหมูให้รับประทานคอลลาเจนเปปไทด์ปริมาณ 0.2
กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กก. เป็นเวลา 62 วัน
เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับอาหารหมูปรกติ(15%โปรตีนจากธัญพืช) และกลุ่มอ้างอิงที่ได้รับแลกตัลบลูมิน
0.23 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1
กก.(เป็นปริมาณที่คำนวณแล้วมีปริมาณไนโตรเจนเท่ากับกลุ่มที่ได้รับคอลลาเจนเปปไทด์)
พบว่ากลุ่มหมูที่ได้รับคอลลาเจนเปปไทด์จะมีขนาด และความแน่นของเส้นใยคอลลาเจน และ
เซลล์ไฟโบรบลาสต์มากกว่ากลุ่มควบคุม และกลุ่มอ้างอิง
ซึ่งจากการศึกษานี้ได้แนะนำว่าการรับประทานคอลลาเจนเปปไทด์อาจจะช่วยเพิ่มความแข็งแรง
และความทนทานของผิวหนังได้(Matsuda, et al., 2006)
(ภาพทางขวามือ บริเวณลูกศรชี้คือเซลล์ไฟโบรบลาสต์ในชั้นผิวหนังโดยพบว่ากลุ่มที่ได้รับคอลลาเจนเปปไทด์ไฟโบรบลาสต์จะมีความหนาแน่นมากที่สุด, ที่มาของภาพ Matsuda, et al., 2006)
ช่วยในการสมานแผล
จากการศึกษาในหนูที่เป็นโรคเบาหวานซึ่งมีปัญหาเรื่องแผลหายช้าพบว่าหนูที่ได้รับประทานเจลาตินจะมีประสิทธิภาพในการสมานแผลดีขึ้นกว่ากลุ่มหนูที่ไม่ได้รับ
ซึ่งจากการศึกษานี้จึงได้เสนอว่าการรับประทานคอลลาเจนอาจมีประโยชน์ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาเรื่องแผลหายช้า(Zhang,
et al., 2011)
|
ภาพแสดงผลของการได้รับเจลาตินในการสมานแผลของหนูที่เป็นเบาหวาน(Zhang, et al., 2011) |
เพิ่มการแบ่งตัวของเซลล์ผิว
และกระตุ้นการสังเคราะห์ไฮยาลูโรนาน หรือ กรดไฮยาลูโรนิก(Hyaluronan, Hyaluronic acid, HA)
จากการศึกษาในเซลล์ไฟโบรบลาสต์ของผิวหนังมนุษย์พบว่า ไดเปปไทด์ Pro-Hyp
สามารถเพิ่มการแบ่งตัวของเซลล์ผิวได้
1.5 เท่า และ เพิ่มการสังเคราะห์ HA ได้ 3.8 เท่า โดยไปกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์
HAS2 ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่สังเคราะห์ HA (Ohara, et al., 2010) นอกจากไดเปปไทด์แล้วไตรเปปไทด์ก็สามารถเพิ่มการสังเคราะห์
HA ได้ทั้งการศึกษาในหลอดทดลอง และในหนูทดลอง (Okawa, et al.,
2012)
ลดการสูญเสียน้ำของผิว และลดอาการคันผิวเนื่องจากผิวแห้ง
จากการศึกษาในหนูทดลองที่ถูกทำให้ผิวแห้งโดยใช้สารอะซีโตน
พบว่าหนูทดลองที่ได้รับคอลลาเจนไตรเปปไทด์จะมีการสูญเสียน้ำของผิวลดลง
มีอาการคันที่ผิวลดลง โดยจากการศึกษานี้เชื่อว่าคอลลาเจนเปปไทด์อาจนำมาใช้ในการรักษาอาการคันเนื่องจากผิวหนังแห้งได้(Okawa,
et al., 2012)
เพิ่มความสามารถในการดูดซึมน้ำของผิวหนังกำพร้าชั้นนอก(stratum corneum)
จากการศึกษาในผู้หญิงญี่ปุ่นสุขภาพดีจำนวน 20 คน
โดยให้รับประทานคอลลาเจนเปปไทด์วันละ 10 กรัม เป็นเวลา 60 วันพบว่าความสามารถในการดูดซึมน้ำของผิวหนังกำพร้าชั้นนอกเพิ่มขึ้น(Koyama,
et al., 2006) และจากการศึกษาขนาดใหญ่โดยในผู้หญิงจำนวน 214 คน
ที่มีอายุเฉลี่ย 34.1 ± 5.9 ปี
โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม โดย 3 กลุ่มแรกให้รับประทานคอลลาเจนจากเกล็ดปลาที่ปริมาณ
2.5, 5, และ 10 กรัม กลุ่มที่ 4 เป็นคอลลาเจนจากหนังหมู 10 กรัม และกลุ่มที่ 5
คือกลุ่มหลอก(placebo) เมื่อให้รับประทานครบ 4
สัปดาห์แล้วมาวิเคราะห์ปริมาณน้ำในเนื้อเยื้อผิวหนังกำพร้าชั้นนอกพบว่า
ทุกกลุ่มที่ได้รับคอลลาเจนมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นโดยกลุ่มที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มหลอกคือกลุ่มที่รับประทานคอลลาเจนที่ปริมาณ
5-10 กรัม(Ohara, et al., 2009)
เพิ่มความยืดหยุ่น และความชุ่มชื่นให้กับผิว
จากการศึกษาในผู้หญิงสุขภาพดี 48 คน ที่มีอายุในช่วง 22-58 ปี โดยให้รับประทานคอลลาเจนในปริมาณ
5 กรัม พบความยืดหยุ่น(flexibility)ของผิวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ที่ 5
สัปดาห์ภายหลังรับประทาน โดยในกลุ่มผู้ทดสอบช่วงอายุ 20-39
ปีจะเห็นการเปลี่ยนแปลงได้เร็วกว่า(Hayamizu, et al., 2000) และจากการศึกษาในอาสาสมัครสุขภาพดี
32 คนให้รับประทานคอลลาเจนเปปไทด์ 3 กรัม เป็นเวลา 12
สัปดาห์พบว่าความยืดหยุ่นแบบผิวเด้ง(elasticity) และความชุ่มชื้นของผิวดีขึ้น(Choi,
et al., 2013)
อีกการศึกษาหนึ่งในผู้หญิงอายุ 35-55 ปี
ให้รับประทานคอลลาเจนไฮโดรไลเซทปริมาณ 2.5 และ 5 กรัม เป็นเวลา 8 สัปดาห์โดยมีกลุ่มที่ได้รับยาหลอกเปรียบเทียบ
พบว่ากลุ่มที่ได้รับคอลลาเจนไฮโดรไลเซทที่ความยืดหยุ่นแบบผิวเด้งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกลับกลุ่มที่ได้รับยาหลอกโดยจะเห็นได้ชัดในกลุ่มผู้สูงอายุหลังรับประทานเป็นเวลา
4 สัปดาห์แรก ส่วนความชุ่มชื้นของผิวพบว่าดีขึ้นในส่วนหนึ่งของกลุ่มที่ได้รับคอลลาเจนไฮโดรไลเซทแต่ระดับที่ดีขึ้นไม่ถึงระดับนัยสำคัญ(Proksch,
et al., 2013)
ปรับปรุงการทำงานของผิวชั้นใน
จากการศึกษาในผู้หญิงวัยกลางคนช่วงอายุ 40-54 ปี
แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม 2 กลุ่มให้รับประทานคอลลาเจนเปปไทด์ในปริมาณ 5
และ 10 กรัม ส่วนอีกกลุ่มให้รับประทานยาหลอกที่ไม่ใช้คอลลาเจน(Placebo) ทำการทดสอบที่ระยะเวลา
3 และ 7 สัปดาห์ภายหลังรับประทานพบว่ากลุ่มที่ได้รับคอลลาเจนส่วนหนึ่งของกลุ่มรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงของผิวที่ดีขึ้นดังแสดงในตารางด้านล่าง
แต่จากการวัดคุณสมบัติของผิว และปริมาณน้ำในผิวหนังกำพร้าชั้นนอกไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มซึ่งจากการศึกษานี้จึงสรุปว่าการรับประทานคอลลาเจนจะปรับปรุงการทำงานของผิวชั้นในได้ดีกว่าผิวชั้นนอก(Koyama,
2009)
ขนาดรับประทาน
|
ร้อยละของผู้ทดสอบที่รู้สึกว่าผิวดีขึ้น
|
3 สัปดาห์
|
7 สัปดาห์
|
5
กรัม
|
41%
|
74%
|
10
กรัม
|
62%
|
81%
|
0
กรัม (ยาหลอก)
|
10%
|
20%
|
ชลอผิวแก่
จากการศึกษาในหนูพบว่าคอลลาเจนเปปไทด์จากปลานอกจากคุณสมบัติในการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนแล้วยังมีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระภายในร่างกายทำให้ประสิทธิภาพการต้านอนุมูลอิสระดีขึ้นชลอความเสื่อมของผิวเนื่องจากภาวะชราภาพได้(Pei,
et al., 2008) นอกจากนี้ยังได้มีการศึกษาในหลอดทดลองถึงความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของคอลลาเจนโอลิโกเปปไทด์ที่มีมวลโมเลกุลส่วนใหญ่น้อยกว่า
1000 ดาลตันพบว่า มีความสามารถในการจับอนุมูลอิสระ DPPH (2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl
radical) เทียบเท่าร้อยละ 53.8% ของกลูต้าไธโอน(รูปรีดิวซ์)ที่ความเข้มข้นเดียวกัน(Jia,
et al., 2010)
โดยปรกติเมื่อเข้าสู่วัยชราภาพภาวะธำรงดุล(homeostasis)
หรือดุลยภาพของผิวจะเสียสมดุลย์ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของผิวจากการศึกษาในหนูทดลองให้รับประทานอาหารที่มีคอลลาเจนไฮโดรไลเซทจากปลาในปริมาณ
2.25 และ 4.5 % เป็นเวลา 24 เดือน พบว่า การสลายของคอลลาเจนลดลง
การแสดงออกของยีนในการสังเคราะห์คอลลาเจนเพิ่มขึ้น และประสิทธิภาพการต้านอนุมูลอิสระของร่างกายเพิ่มขึ้น
ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะช่วยปกป้องผิวเสื่อมเนื่องจากภาวะชราภาพได้ (liang,
et al., 2010)
ปกป้องความเสื่อมของผิวจากแสงแดด
รังสียูวีบีในแสงแดดสามารถทำลายผิวได้โดยทำให้คอลลาเจนเสียสภาพ
มีความสามารถในการอุ้มน้ำลดลง และเป็นสาเหตุแห่ง
ริ้วรอย
จึงได้มีการศึกษาในหนูทดลองพบว่าการได้รับคอลลาเจนไฮโดรไลเซทสามารถลดการทำลายผิวเนื่องจากแสงยูวีบีได้โดยสามารถป้องกันการสูญเสียน้ำ
เพิ่มความยืดหยุ่นของผิว และเพิ่ม HA
ในชั้นผิว(Oba, et al., 2013)
ทั้งนื้อาจเนื่องจากความสามารถในการต้านออกซิเดชั่นของไดเปปไตด์ที่ได้จากการย่อยคอลลาเจนไฮโดรไลเซท (Tanaka, et al., 2009)
นอกจากนี้การได้รับคอลลาเจนเปปไทด์ยังมีคุณสมบัติอื่นๆที่ช่วยป้องกันการทำลายของผิวจากรังสียูวีได้
ซึ่งได้แก่ เพิ่มประสิทธิภาพของภูมิต้านทาน ลดการสูญเสียน้ำในผิว
รักษาระดับคอลลาเจน และซ่อมแซมเส้นใยคอลลาเจน (Hou, et al., 2012)
(ภาพทางขวาแสดงภาพเนื้อเยื้อผิวหนังของหนูกลุ่มต่างๆ โดยที่ S คือ ต่อมไขมัน(sebaceous gland), ที่มาของภาพ Tanaka, et al., 2009)
ลดปัญหาผิวหน้า
Sato และ Shigemura (2012) ได้กล่าวถึงงานวิจัยของ Matsumoto
และคณะ
ในปี 2006 ที่ทำการศึกษาผลของคอลลาเจนต่อปัญหาต่างๆที่มักเกิดกับผิว
โดยให้อาสาสมัครกินคอลลาเจนเปปไทด์เป็นเวลา 6 สัปดาห์ แล้วสอบถามถึงการเปลี่ยนแปลงของผิวพบว่าปัญหาที่เกิดกับผิวลดลงตามข้อมูลด้านล่าง
ปัญหาผิวหน้า
|
จำนวนของผู้ที่
เคยมีอาการทั้งหมด
|
ร้อยละของ
ผู้ที่รู้สึกว่าดีขึ้น
|
หน้าแห้ง
|
25 คน
|
92
|
แต่งหน้ายาก*
|
22 คน
|
95
|
ผื่นจากการแต่งหน้า
|
5 คน
|
100
|
อาการแดงที่หน้า
|
13 คน
|
77
|
สิว
|
15 คน
|
87
|
ริ้วรอย
|
25 คน
|
60
|
จุดด่างดำ
|
25 คน
|
72
|
ผิวคล้ำรอบดวงตา
|
20 คน
|
95
|
บวมน้ำ
|
15 คน
|
67
|
* เป็นปัญหาของผู้ที่มีผิวแห้งกร้านจะทำให้เครื่องสำอางค์ไม่ค่อยติดหน้า
ที่มาของข้อมูล
- Zague, V., de Freitas, V.,
Rosa, M. D. C., de Castro, G. Á., Jaeger, R. G., & Machado-Santelli, G. M.
(2011). Collagen hydrolysate intake increases skin collagen expression and
suppresses matrix metalloproteinase 2 activity.Journal of Medicinal Food, 14(6), 618-624.
- Shigemura, Y., Iwai, K.,
Morimatsu, F., Iwamoto, T., Mori, T., Oda, C., ... & Sato, K. (2009).
Effect of prolyl-hydroxyproline (Pro-Hyp), a food-derived collagen peptide in
human blood, on growth of fibroblasts from mouse skin.Journal of
agricultural and food chemistry, 57(2),
444-449.
- Matsuda, N., Koyama, Y.
I., Hosaka, Y., Ueda, H., Watanabe, T., Araya, T., ... & Takehana, K.
(2006). Effects of ingestion of collagen peptide on collagen fibrils and
glycosaminoglycans in the dermis. Journal
of nutritional science and vitaminology, 52(3),
211-215.
- Zhang, Z., Zhao, M., Wang,
J., Ding, Y., Dai, X., & Li, Y. (2011). Oral administration of skin gelatin
isolated from Chum salmon (Oncorhynchus keta) enhances wound healing in
diabetic rats. Marine drugs, 9(5), 696-711.
- Ohara, H., Ichikawa, S.,
Matsumoto, H., Akiyama, M., Fujimoto, N., Kobayashi, T., & Tajima, S.
(2010). Collagen‐derived dipeptide, proline‐hydroxyproline, stimulates cell proliferation and hyaluronic acid
synthesis in cultured human dermal fibroblasts. The Journal of dermatology, 37(4), 330-338.
- Okawa, T., Yamaguchi, Y.,
Takada, S., Sakai, Y., Numata, N., Nakamura, F., ... & Aihara, M. (2012).
Oral administration of collagen tripeptide improves dryness and pruritus in the
acetone-induced dry skin model. Journal
of Dermatological Science, 66(2),
136-143.
- Hou, H., Li, B., Zhang,
Z., Xue, C., Yu, G., Wang, J., ... & Su, S. (2012). Moisture absorption and
retention properties, and activity in alleviating skin photodamage of collagen
polypeptide from marine fish skin. Food
chemistry,135(3), 1432-1439.
- Koyama, Y. O. I. C. H. I.,
Sakashita, A. R. I. S. A., Kuwaba, K. U. M. I. K. O., & Kusubata, M. A. S.
A. S. H. I. (2006). Effects of oral ingestion of collagen peptide on the skin. J Fragr, 6, 82-85.
- Ohara, H., Ito, K., Iida,
H., & Matsumoto, H. (2009). Improvement in the moisture content of the
stratum corneum following 4 weeks of collagen hydrolysate ingestion. Nippon Shokuhin Kagaku Kogaku
Kaishi= Journal of the Japanese Society for Food Science and Technology, 56(3), 137-145.
- HAYAMIZU, K., TERAYAMA,
T., & KAJIWARA, N. (2000). Effect of the Collagen Peptide Drinks on the
Elastic Properties of Facial Skin in Normal Volunteers. Journal of New Remedies &
Clinics, 49(9), 867-873.
- Choi, S. Y., Ko, E. J.,
Lee, Y. H., Kim, B. G., Shin, H. J., Seo, D. B., ... & Kim, M. N. (2013).
Effects of collagen tripeptide supplement on skin properties: A prospective,
randomized, controlled study. Journal
of Cosmetic and Laser Therapy, (0), 1-14.
- Proksch, E., Segger, D.,
Degwert, J., Schunck, M., Zague, V., & Oesser, S. (2013). Oral
Supplementation of Specific Collagen Peptides Has Beneficial Effects on Human
Skin Physiology: A Double-Blind, Placebo-Controlled Study.Skin pharmacology
and physiology, 27(1),
47-55.
- Koyama Y. (2009). Effects of collagen peptide ingestion on the
skin. Shokuhin-To-Kaihatsu, 44, 10-12. Available from: http://humanclinicals.org/Collagen.html
- Pei, X. R., Yang, R. Y.,
Zhang, Z. F., Xu, Y. J., Han, X. L., Wang, J. B., & Li, Y. (2008). Effects
of marine collagen peptide on delaying the skin aging].Zhonghua yu fang yi
xue za zhi [Chinese journal of preventive medicine], 42(4), 235.
- Liang, J., Pei, X., Zhang,
Z., Wang, N., Wang, J., & Li, Y. (2010). The Protective Effects of Long‐Term Oral Administration of Marine Collagen
Hydrolysate from Chum Salmon on Collagen Matrix Homeostasis in the
Chronological Aged Skin of Sprague‐Dawley Male Rats. Journal
of food science, 75(8),
H230-H238.
- Jia, J., Zhou, Y., Lu, J.,
Chen, A., Li, Y., & Zheng, G. (2010). Enzymatic hydrolysis of Alaska
pollack (Theragra chalcogramma) skin and antioxidant activity of the resulting
hydrolysate. Journal of the
Science of Food and Agriculture, 90(4),
635-640.
- Oba, C., Ohara, H.,
Morifuji, M., Ito, K., Ichikawa, S., Kawahata, K., & Koga, J. (2013).
Collagen hydrolysate intake improves the loss of epidermal barrier function and
skin elasticity induced by UVB irradiation in hairless mice.Photodermatology,
photoimmunology & photomedicine, 29(4),
204-211.
- Tanaka, M., Koyama, Y. I.,
& Nomura, Y. (2009). Effects of collagen peptide ingestion on UV-B-induced
skin damage. Bioscience,
biotechnology, and biochemistry, 73(4),
930-932.
- Hou, H., Li, B., Zhang,
Z., Xue, C., Yu, G., Wang, J., ... & Su, S. (2012). Moisture absorption and
retention properties, and activity in alleviating skin photodamage of collagen
polypeptide from marine fish skin. Food
chemistry,135(3), 1432-1439.
- Sato, K., & Shigemura,
Y. (2012). 10 Effect of Marine Collagen Peptide on Skin Condition. Marine
Comesceuticals: Trends and Prospects,
125.
- Matsumoto, H., Ohara, H.
I. R. O. K. I., Ito, K. Y. O. K. O., Nakamura, Y. U. K. O., & Takahashi, S.
H. U. S. H. I. C. H. I. (2006). Clinical effects of fish type I collagen
hydrolysate on skin properties. ITE
Lett, 7(4), 386-390.